คปภ.ห่วงประชาชนหลังบริษัทส่งเสริมประกันภัยถูกถอนใบอนุญาต ล่าสุดจับมือจับมือกรมบังคับคดี กองทุนประกันวินาศภัย และกองทุนประกันชีวิต ลดขั้นตอนการยื่นขอรับชำระหนี้ประกันภัย กรณีปิดบริษัท และบริษัทล้มละลาย เผยบริษัทฟินันซ่า ประกันชีวิต จำกัด มีผู้ยื่นซองประมูลแล้ว 3 ราย
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เปิดเผยว่า ทางคปภ.ได้ทำการร่วมลงนามกับกรมบังคับคดี ,กองทุนประกันวินาศภัย และกองทุนประกันชีวิต เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการยื่นขอรับชำระหนี้ประกันภัย กรณีปิดบริษัท และบริษัทล้มละลาย
ทั้งนี้ ประชาชนที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทประกันภัย และบริษัทประกันชีวิตที่ถูกสั่งปิดกิจการมายื่นแสดงความเป็นเจ้าหนี้และมอบอำนาจให้กองทุนเป็นผู้แทนในการยื่นรับชำระหนี้แทนในกระบวนการล้มละลาย เช่นกรณี บริษัทส่งเสริมประกันภัย ที่ได้ถูกคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย อาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้
“การลงนามบันทึกความตกลงในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน และผู้เอาประกันภัย ในการลดขั้นตอนการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในกรณีบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งโดยปกติเมื่อบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีของบริษัทประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้จัดการกองทุนฯ ด้วย”
นายประเวช กล่าวต่อไปว่า หากผลการชำระบัญชีปรากฏว่าทรัพย์สินของบริษัทมีไม่เพียงพอชำระหนี้ผู้ชำระบัญชีต้องยื่นฟ้องให้บริษัทล้มละลายต่อศาลล้มละลาย ซึ่งหากศาลล้มละลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกระบวนการทางกฎหมายดังกล่าวมีหลายขั้นตอนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการยาวนาน ทำให้เกิดภาระแก่ประชาชน และผู้เอาประกันภัยในการดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้
“การเซ็นต์สัญญาครั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเป็นการลดขั้นตอนการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้เหลือเพียงครั้งเดียว ช่วยลดภาระของเจ้าหนี้ประกันภัยในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ กรณีบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด เจ้าหนี้ประกันภัยสามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน - 2 สิงหาคม 2556 ณ สำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ”
ด้านนางวิมลรัตน์ สถาวรวงศ์ ผู้จัดการกองทุนประกันชีวิต กล่าวว่า การจับมือในครั้งนี้ถือว่าเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ เตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น ทางคปภ. จะมีความเข้มงวดและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยคณะรัฐมนตรี เข้ามาตรวจสอบ เพื่อให้บริษัทที่มีปัญหานั้นเกิดความคลี่คลายลง ที่จะมีการขอเพิ่มทุน โดยมีการประมูลในเร็ว ๆ นี้
“ในส่วนของบริษัทฟินันซ่าเราก็ดูไปตามกฎหมายที่ต้องมีกระบวนการในการจัดการ ซึ่งที่ดูบริษัทฟินันซาเองยังมีสภาพคล่องสูง มีการคลี่คลายที่ดีขึ้น เพราะในส่วนของกองทุนเองมีประมาณ 100,000 ราย ซึ่งทางกองทุนประกันชีวิตเองเราได้เข้าไปดูแลตลอดเวลา อย่างไรก็ตามถ้าสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้น ถ้าเงินกองทุนยังไม่ดีอาจจะมีการจัดเก็บเพิ่มขึ้นอีกจาก 0.1% เป็น 0.25% ณ ปัจจุบันกองทุนประกันชิวิตมีเงินสำรองอยู่ที่ 1,600 ล้านบาท”
ผู้จัดการกองทุนประกันชีวิต กล่าวต่อไปว่า ในแต่ละกรณีต่างใช้เวลาในการแก้ไข เนื่องจากเรามีคณะกรรมการคอยควบคุมเข้าไปดูแล เช่นเดียวกับบริษัทฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด ที่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
ขณะที่ นายอำนาจ วงศ์พินิจวโรดม ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนาและวิเคราะห์ระบบการตรวจสอบ สำนักงาน คปภ. ในฐานะกรรมการควบคุม บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า หลังจากถูกคำสั่งให้หยุดรับประกันภัยชั่วคราวรวมถึงกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมบริษัทอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 นั้น ล่าสุด ฐานะเงินกองทุนของบริษัทปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และมีผู้แสดงความสนใจลงทุนในบริษัทอย่างต่อเนื่องประกอบกับสำนักงาน คปภ. ได้จัดหาบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่ปรึกษาด้านการเงิน ให้ช่วยดำเนินการหาผู้ลงทุนให้แก่บริษัทอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้สนใจลงทุนทุกราย
“วันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการปิดยื่นซองประมูลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีจำนวนทั้งหมด 3 รายที่เข้ามายื่นซองประมูลในครั้งนี้ ความชัดเจนน่าจะมีขึ้นตามลำดับ คาดว่าในช่วงปลายเดือนนี้อาจจะมีการหารืออีกครั้งกับคณะกรรมการเพื่อทำการพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง”
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เปิดเผยว่า ทางคปภ.ได้ทำการร่วมลงนามกับกรมบังคับคดี ,กองทุนประกันวินาศภัย และกองทุนประกันชีวิต เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการยื่นขอรับชำระหนี้ประกันภัย กรณีปิดบริษัท และบริษัทล้มละลาย
ทั้งนี้ ประชาชนที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทประกันภัย และบริษัทประกันชีวิตที่ถูกสั่งปิดกิจการมายื่นแสดงความเป็นเจ้าหนี้และมอบอำนาจให้กองทุนเป็นผู้แทนในการยื่นรับชำระหนี้แทนในกระบวนการล้มละลาย เช่นกรณี บริษัทส่งเสริมประกันภัย ที่ได้ถูกคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย อาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้
“การลงนามบันทึกความตกลงในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน และผู้เอาประกันภัย ในการลดขั้นตอนการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในกรณีบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งโดยปกติเมื่อบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีของบริษัทประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้จัดการกองทุนฯ ด้วย”
นายประเวช กล่าวต่อไปว่า หากผลการชำระบัญชีปรากฏว่าทรัพย์สินของบริษัทมีไม่เพียงพอชำระหนี้ผู้ชำระบัญชีต้องยื่นฟ้องให้บริษัทล้มละลายต่อศาลล้มละลาย ซึ่งหากศาลล้มละลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกระบวนการทางกฎหมายดังกล่าวมีหลายขั้นตอนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการยาวนาน ทำให้เกิดภาระแก่ประชาชน และผู้เอาประกันภัยในการดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้
“การเซ็นต์สัญญาครั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเป็นการลดขั้นตอนการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้เหลือเพียงครั้งเดียว ช่วยลดภาระของเจ้าหนี้ประกันภัยในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ กรณีบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด เจ้าหนี้ประกันภัยสามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน - 2 สิงหาคม 2556 ณ สำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ”
ด้านนางวิมลรัตน์ สถาวรวงศ์ ผู้จัดการกองทุนประกันชีวิต กล่าวว่า การจับมือในครั้งนี้ถือว่าเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ เตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น ทางคปภ. จะมีความเข้มงวดและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยคณะรัฐมนตรี เข้ามาตรวจสอบ เพื่อให้บริษัทที่มีปัญหานั้นเกิดความคลี่คลายลง ที่จะมีการขอเพิ่มทุน โดยมีการประมูลในเร็ว ๆ นี้
“ในส่วนของบริษัทฟินันซ่าเราก็ดูไปตามกฎหมายที่ต้องมีกระบวนการในการจัดการ ซึ่งที่ดูบริษัทฟินันซาเองยังมีสภาพคล่องสูง มีการคลี่คลายที่ดีขึ้น เพราะในส่วนของกองทุนเองมีประมาณ 100,000 ราย ซึ่งทางกองทุนประกันชีวิตเองเราได้เข้าไปดูแลตลอดเวลา อย่างไรก็ตามถ้าสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้น ถ้าเงินกองทุนยังไม่ดีอาจจะมีการจัดเก็บเพิ่มขึ้นอีกจาก 0.1% เป็น 0.25% ณ ปัจจุบันกองทุนประกันชิวิตมีเงินสำรองอยู่ที่ 1,600 ล้านบาท”
ผู้จัดการกองทุนประกันชีวิต กล่าวต่อไปว่า ในแต่ละกรณีต่างใช้เวลาในการแก้ไข เนื่องจากเรามีคณะกรรมการคอยควบคุมเข้าไปดูแล เช่นเดียวกับบริษัทฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด ที่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
ขณะที่ นายอำนาจ วงศ์พินิจวโรดม ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนาและวิเคราะห์ระบบการตรวจสอบ สำนักงาน คปภ. ในฐานะกรรมการควบคุม บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า หลังจากถูกคำสั่งให้หยุดรับประกันภัยชั่วคราวรวมถึงกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมบริษัทอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 นั้น ล่าสุด ฐานะเงินกองทุนของบริษัทปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และมีผู้แสดงความสนใจลงทุนในบริษัทอย่างต่อเนื่องประกอบกับสำนักงาน คปภ. ได้จัดหาบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่ปรึกษาด้านการเงิน ให้ช่วยดำเนินการหาผู้ลงทุนให้แก่บริษัทอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้สนใจลงทุนทุกราย
“วันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการปิดยื่นซองประมูลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีจำนวนทั้งหมด 3 รายที่เข้ามายื่นซองประมูลในครั้งนี้ ความชัดเจนน่าจะมีขึ้นตามลำดับ คาดว่าในช่วงปลายเดือนนี้อาจจะมีการหารืออีกครั้งกับคณะกรรมการเพื่อทำการพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง”