xs
xsm
sm
md
lg

สถิติผู้สูงอายุไทย-เอเชียพุ่ง เตือนปฏิรูประบบบำนาญ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิตชี้ เอเชีย-ไทยยังเผชิญปัญหาอายุ และจำนวนประชากร แนะไทยเร่งปฏิรูปโครงสร้างบำนาญทั้งระบบ ระบุคนไทยมีอัตรส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น แต่ระบบที่วางยังไม่สามารถรองรับได้เต็มที่

บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลวิจัยของบริษัทว่า แม้ภูมิภาคเอเชียจะผ่านพ้นวิกฤตทางการเงินมาได้โดยไม่ได้รับความเสียหาย แต่ก็ยังมีความท้าทายที่กำลังก่อตัวขึ้นในซีกโลกตะวันออก นั่นคือจำนวนประชากรในประเทศเอเชีย

ภาวะการสูงอายุของประชากรไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลกระทบสำคัญในระบบบำเหน็จบำนาญของชาติเอเชีย การเป็นประเทศอุตสาหกรรมและการเป็นชุมชนเมืองมากขึ้นก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน

สำหรับประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง และอุทกภัยที่ผ่านมา ประเทศไทยยังมีภารกิจที่จะต้องสานต่อเพื่อขยายระบบบำเหน็จบำนาญออกไป และให้แน่ใจว่าระบบจะมีความยั่งยืนกว่า 15 ปีที่ผ่านมา ไทยได้มีการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญอย่างเบ็ดเสร็จ โดยในบรรดาชาติเอเชียที่มีเศรษฐกิจเกิดใหม่ มีเพียงไทยประเทศเดียวที่มีเสาหลักระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่เต็มรูปแบบและเติบโตเต็มที่ อย่างน้อยก็ในภาคเอกชน

อย่างไรก็ตาม เหมือนกับประเทศเอเชียชาติอื่นๆ ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะความเปลี่ยนแปลงที่กำลังพบว่าประชากรเริ่มเข้าสู่วัยชราอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็นภัยต่อระบบบำเหน็จบำนาญ

ทั้งนี้ จากดัชนี Allianz Global Investors Pension Sustainability Index (PSI) ซึ่งรายงานความยั่งยืนของระบบบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 41 ในปี 2554 (ตกลงจากอันดับที่ 34 ในปี 2552) โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ควรมีการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญโดยเร็ว สืบเนื่องจากอัตราส่วนพึ่งพิงวัยชราที่เพิ่มขึ้นสูงขึ้น และการปรับอายุเกษียณให้ต่ำลงอยู่ที่ 55 ปี ในขณะที่อายุไขเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 74.4 ปี

โดยนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 แม้จะเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 และลุกลามไปทั่วโลกจนเกิดเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่ประเทศไทยกลับมีก้าวย่างที่น่าประทับใจในการจัดตั้งและขยายระบบบำเหน็จบำนาญสมัยใหม่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เคยตั้งข้อสังเกตในปี 2552 ว่า “ประเทศไทยมีระบบการป้องกันที่ดีในการพัฒนาสังคม

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามอย่างมาก แต่ระบบบำเหน็จบำนาญก็ยังไม่ครอบคลุมจำนวนประชากรอยู่ดี

ทั้งนี้ สิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีการปรับปรุงคือ โครงสร้างที่เปราะบางและกรอบกฎหมายและกฎระเบียบที่อ่อนแอทำให้เกิดปัญหา ส่งผลให้ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนบำเหน็จบำนาญได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ ระบบที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ไม่ได้ถูกนำมาบังคับใช้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุที่ยากจนในต่างจังหวัดกลับกลายเป็นตัวปัญหาหนึ่ง โครงการของรัฐบาลที่กำหนดเป้าหมายจากเงินบำนาญสังคม “ฉุกเฉิน” ที่มีอยู่สำหรับผู้สูงอายุดังกล่าว แต่มีการจ่ายผลประโยชน์เพียง 300,000 รายเท่านั้น คิดเป็น 6% ของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เงินบำนาญเองก็จ่ายได้เพียงเดือนละ 300 บาทเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานเลย

นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคม ในขณะที่กองทุนในปัจจุบันยังคงเกินดุลอยู่เพราะยังไม่ได้เริ่มต้นการชำระคืน ซึ่งย้อนกลับไปในปี 2543 ธนาคารโลกคำนวณว่าอัตราการจ่ายเงินสมทบควรจะอยู่ที่ 13% จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของเงินบำนาญ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 7% เท่านั้น


กำลังโหลดความคิดเห็น