ปัจจุบันตลาดทุนโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด และมีความสำคัญมาก สำหรับการแข่งขันในภาคธุรกิจของผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่อง เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ที่ได้เริ่มต้นขึ้นนั้น อาจมีความต้องการระดมทุนแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งธุรกิจที่ต้องการระดมทุนเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการอาจไม่สะดวกหรือพร้อมที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็สามารถเข้าถึงเงินทุนด้วยการหาพันธมิตรทางธุรกิจ คือ กองทุน Private Equity (PE) ที่ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างออกกฎระเบียบ
PE คือธุรกิจที่เกิดจากการนำเงินของผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนที่มีฐานะการเงินดี ไปลงทุนในกิจการเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง และต้องการเงินทุนมาเพื่อใช้ในการปรับปรุงโครงสร้าง การขยายกิจการหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยหากไปลงทุนในกิจการที่ตั้งใหม่ หรือกิจการที่ยังไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะเรียก PE นั้นว่า Venture Capital (VC)
วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มองงว่า ก.ล.ต.มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดกองทุนกิจการร่วมลงทุน (PE) เพื่อให้เป็นแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME)ในการขยายกิจการ และพัฒนาธุรกิจ โดยจากการนำเงินของผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนที่มีฐานะดีไปลงทุนในกิจการเป้าหมายในระยะยาว หรือมีระยะเวลาการลงทุนที่แน่นอนเพื่อทำกำไร โดยหวังผลตอบแทนสูงจึงเน้นลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตเร็ว โดยให้นักบริหารเงินมืออาชีพเป็นผู้ดูแลผลตอบแทนจากการลงทุน และเมื่อได้ผลตอบแทนตามเป้าที่ตั้งไว้ PE ก็จะขายหุ้นออกให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือขายในตลาดเมื่อมีการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ก.ล.ต. สนับสนุนให้ SMEs สามารถใช้ประโยชน์จาก PE ใน 5 ด้านได้แก่
1. เปิดกว้างให้แก่ผู้ที่ต้องการบริหารจัดการกิจการเงินร่วมลงทุน โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ผู้จัดการกิจการเงินร่วมลงทุนไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
2. กำหนดให้กิจการเงินร่วมลงทุนสามารถตั้งในรูปแบบของบริษัท หรือ ทรัสต์ ก็ได้ เพื่อความคล่องตัว
3. ประสานงานกับกรมสรรพากร เพื่อขอยกเว้นภาษี capital gain และภาษีเงินปันผล ให้แก่ผู้ลงทุนที่ลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน และกิจการเงินร่วมลงทุนนั้นลงทุนในธุรกิจที่รัฐให้การส่งเสริม โดยธุรกิจดังกล่าวจะต้องเข้าเงื่อนไข ได้แก่ ต้องเป็นธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เป็นธุรกิจที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็นธุรกิจที่ทำให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของประเทศ และเป็นธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
4. ประสานงานกับกรมสรรพากรเพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กิจการเงินร่วมลงทุน โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่กิจการเงินร่วมลงทุนต้องลงทุนในธุรกิจเป้าหมาย
5. หารือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อสนับสนุนให้กิจการเงินร่วมลงทุนเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบหลักของธุรกิจ
อุตตม สาวนายน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพรอสเพอริตี้ แอ็ดไวซอรี่ จำกัด ผู้บริหารกิจการร่วมลงทุน (PE) บอกว่า โจทย์พื้นฐานสำคัญ ขณะนี้คือว่าจำทำอย่างไรให้ภาคธุรกิจมีการเติบโตและสามารถทำดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว นั่นคือต้องมุ่งไปที่ตลาดทุน ในเรื่องของการระดมทุน ซึ่งธุรกิจที่ไม่พร้อมที่จะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็สามารถระดมทุนผ่านทาง PE ได้โดยรูปแบบนั้น ก็จะมีการตั้งคณะระดมทุนเพื่อออกไปหาเงินทุน ผ่านทางสถาบัน หรือ นักลทุนรายใหญ่ที่มีฐานะ และไม่ใช่นักลงทุนรายย่อยเป็นการลงทุนในระยะปานกลางถึงระยะยาว และมุ่งสร้างผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าบริษัทรวมถึงเงินปันผลหรือจากรูปแบบอื่น
ขณะที่บทบาทของ PE ในฐานะผู้ถือหุ้นขอบริษัทนั้น จะเป็นไปโดย ร่วมมือและช่วยสร้างมูลค่ากิจการ จากการขยายธุรกิจให้เติบโต ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานต่างๆ เช่น ระบบการเงิน ระบบตรวจสอบภายใน ระบบธรรมาภิบาลของบริษัท รวมถึง การถอนการลงทุน จากบริษัทเมื่อสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนตามเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงกับเจ้าของกิจการไว้ ซึ่ง**ปัจจัยสำคัญที่ต้องมองในการจะเข้าไปลงทุนนั้น ผู้ลงทุนต้องมองถึง ความสามารถของตัวผู้บริหาร นิสัยใจคอ รวมถึงการไปที่ตัวธุรกิจที่เข้าไปลงทุนนั้นมีความสามารถ หรือ "กึ๋น" ในการเติบโตได้ชัดเจนแค่ไหนในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า และต้องมีการติดตามการดำเนินงานได้ว่า หากธุรกิจดำเนินไปไม่ดีจะมีแผนรองรับอย่างไรได้บ้าง**
ในเรื่อง Private Equity นั้น จะเห็นได้ว่าในประเทศไทย ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง เพราะพอร์ตกาลงทุนจะเน้นไปที่สถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ และมีการเติบโตที่ช้า โดยที่ลักษณะของการลงทุนส่วนใหญ่ เป็นการลงทุนในรูปแบบ Minority คือเป็นพนธมิตรมากกว่าเป็นการครอบงำกิจการ
เมื่อมองไปข้างห้าแล้วจะเห็นว่า ศักยภาพของธุรกิจไทย ยังมีความสามารถในการเติบโตได้ โดยที่การเติบโตของ เอเชีย และ AEC จะเป็นการสร้างโอกาสและความท้าายใหม่ๆแก่ผู้ประกอบกาในไทย แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต้องมีการปรับตัว สร้างความพร้อมยกขีดความสามารถที่จะแข่งขันและเติบโตด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการมากกว่าต้นทุนและแรงงานถูก จำเป็นต้องลงทุนให้เพียงพอในเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างนวัตกรรม ความได้เปรียบของสินค้าและบริการที่แท้จริงนอกจากนี้ ประเทศไทยต้องพัฒนาเครื่องมือระดมทุนที่ครบวงจรมากกว่าปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เป็นอีกเรื่องของการลงทุนที่น่าสนใจและส่งผลต่อภาคการลงทุนของประเทศ ในช่วงที่การเปิดเสรีทางการเงินกำลังจะมาถึง เชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับภาคธุรกิจและผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการและโอกาสทางการเงิน ที่จะเข้าไปสู่การลงทุนในรูปแบบ Private Equity