ในปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) ได้กลายมาเป็นตัวเลขที่ประชากรแทบทุกระดับชั้นมีความคุ้นเคย และต้องเข้าไปมีความเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เนื่องจากเงินเฟ้อ มีผลกระทบต่อเนื่องถึงสิ่งต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้ยืมและเงินฝาก ราคาสินค้าและอาหาร ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือแม้กระทั่งผลตอบแทนจากการลงทุน การที่เงินเฟ้อมีค่าเปลี่ยนแปลงไป จึงอาจมีผลทำให้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้นการเข้าใจถึงความหมาย และพยายามหาช่องทางการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบันค่ะ
ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึงการที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น อัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 4% จะหมายถึงการที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม 4%
หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ เงินจำนวนเท่าเดิมที่เคยมีอยู่จะมีค่าลดลง (ซื้อของได้น้อยลง) 4% นั่นเองค่ะ ภาวะเช่นนี้จึงมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายของประชาชนในแต่ละเดือนเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่เงินออมที่เคยสะสมเอาไว้กลับมีมูลค่าลดต่ำลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่นิยมฝากเงินเอาไว้กับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากเราจะพบว่าสถิติที่เคยเกิดขึ้นในอดีต อัตราเงินเฟ้อมักจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเสมอ คำถามที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่มีเงินออม หรือผู้ที่กำลังมองหาช่องทางการลงทุนในยุคปัจจุบันก็คือ เราควรจะทำการลงทุนหรือหาวิธีในการรักษาเงินออมของตนเองอย่างไร เพื่อไม่ให้ถูกเงินเฟ้อกัดกร่อนจนเหลือมูลค่าที่น้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งสุดท้ายแล้วคำตอบจะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับความชอบ และระดับของการยอมรับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และกำลังมองหาช่องทางที่จะลงทุนในตลาดตราสารหนี้ “พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation-Linked Bond: ILB)” อาจจะเป็นอีกทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจค่ะ
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ มีทั้งส่วนที่คล้ายและส่วนที่แตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาลทั่วไป โดยกระทรวงการคลังจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยจ่าย (Coupon) ที่แน่นอนสำหรับ ILB แต่ละรุ่น แต่มูลค่าของเงินต้น
หรือมูลค่าหน้าตั๋ว (Par Value) ของ ILB จะเปลี่ยนแปลงไปโดยขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อในขณะนั้นๆ (อ้างอิงกับดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป: Headline Inflation) นั่นจึงหมายความว่าหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้ Par Value เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งสุดท้ายแล้วจะมีผลทำให้ดอกเบี้ยในรูปของมูลค่าเงินที่นักลงทุนได้รับ (เมื่อคิดจาก Par Value) มีมูลค่าที่สูงขึ้นด้วยค่ะ นอกจากนี้แล้วการที่ ILB อ้างอิงกับดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป ที่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน และราคาอาหารสด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว จึงทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนใน ILB สามารถรักษาอำนาจซื้อของเงินลงทุนไว้ได้ค่อนข้างสมบูรณ์
โดยในปีที่ผ่านมา (2554) กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุน โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนที่อยู่ในวัยใกล้เกษียณหรือเกษียณอายุไปแล้ว เนื่องจาก ILB สามารถช่วยคุ้มครองครองเงินต้นจากผลกระทบของเงินเฟ้อ โดยจะให้ผลตอบแทนรวมที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้แล้ว ILB ยังเป็นตราสารที่จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน อีกทั้งยังเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการลงทุนและการออมเงินในระยะยาว และเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้พันธบัตร ILB ให้สามารถหมุนเวียนเปลี่ยนมือในตลาดได้มากขึ้น กระทรวงการคลังจึงมีแผนที่จะออก ILB อย่างต่อเนื่องทุกๆปี โดยในปี 2555 นี้ คาดว่าจะมี ILB ออกสู่ตลาดอีกประมาณ 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้แล้ว การออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อยังเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเพิ่มวินัยทางการคลังของรัฐบาลไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว หรือก่อหนี้เพื่อโครงการประชานิยมต่างๆ มากเกินไป จนเป็นตัวเร่งให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งก็เท่ากับว่ารัฐบาลต้องมีรายจ่ายในการชดเชยเงินเฟ้อก็สูงตามไปด้วยค่ะ
และถึงแม้ว่าการลงทุนในพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ จะสามารถขจัดความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อไปได้ก็จริง แต่ทั้งนี้ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องก็เป็นอีกประเด็นที่ทำให้พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยมากนัก เพราะหากนักลงทุนที่ถือครอง ILB มีความต้องการใช้เงินก่อนที่พันธบัตรจะครบกำหนด อาจจะต้องยอมขายพันธบัตรไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด เนื่องจากพันธบัตรออมทรัพย์ไม่ค่อยมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันมากนัก ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนรวมจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจเอาไว้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในทุกๆครั้งก็คือ นักลงทุนต้องวางแผนการลงทุนให้มีความเหมาะสมกับความต้องการใช้เงินในอนาคตด้วยค่ะ
พอพิศ ยอดแสง
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาด
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
www.thaibma.or.th
porpit@thaibma.or.th, 02-252-3336 Ext.213
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้ยืมและเงินฝาก ราคาสินค้าและอาหาร ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือแม้กระทั่งผลตอบแทนจากการลงทุน การที่เงินเฟ้อมีค่าเปลี่ยนแปลงไป จึงอาจมีผลทำให้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้นการเข้าใจถึงความหมาย และพยายามหาช่องทางการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบันค่ะ
ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึงการที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น อัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 4% จะหมายถึงการที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม 4%
หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ เงินจำนวนเท่าเดิมที่เคยมีอยู่จะมีค่าลดลง (ซื้อของได้น้อยลง) 4% นั่นเองค่ะ ภาวะเช่นนี้จึงมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายของประชาชนในแต่ละเดือนเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่เงินออมที่เคยสะสมเอาไว้กลับมีมูลค่าลดต่ำลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่นิยมฝากเงินเอาไว้กับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากเราจะพบว่าสถิติที่เคยเกิดขึ้นในอดีต อัตราเงินเฟ้อมักจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเสมอ คำถามที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่มีเงินออม หรือผู้ที่กำลังมองหาช่องทางการลงทุนในยุคปัจจุบันก็คือ เราควรจะทำการลงทุนหรือหาวิธีในการรักษาเงินออมของตนเองอย่างไร เพื่อไม่ให้ถูกเงินเฟ้อกัดกร่อนจนเหลือมูลค่าที่น้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งสุดท้ายแล้วคำตอบจะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับความชอบ และระดับของการยอมรับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และกำลังมองหาช่องทางที่จะลงทุนในตลาดตราสารหนี้ “พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation-Linked Bond: ILB)” อาจจะเป็นอีกทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจค่ะ
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ มีทั้งส่วนที่คล้ายและส่วนที่แตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาลทั่วไป โดยกระทรวงการคลังจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยจ่าย (Coupon) ที่แน่นอนสำหรับ ILB แต่ละรุ่น แต่มูลค่าของเงินต้น
หรือมูลค่าหน้าตั๋ว (Par Value) ของ ILB จะเปลี่ยนแปลงไปโดยขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อในขณะนั้นๆ (อ้างอิงกับดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป: Headline Inflation) นั่นจึงหมายความว่าหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้ Par Value เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งสุดท้ายแล้วจะมีผลทำให้ดอกเบี้ยในรูปของมูลค่าเงินที่นักลงทุนได้รับ (เมื่อคิดจาก Par Value) มีมูลค่าที่สูงขึ้นด้วยค่ะ นอกจากนี้แล้วการที่ ILB อ้างอิงกับดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป ที่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน และราคาอาหารสด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว จึงทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนใน ILB สามารถรักษาอำนาจซื้อของเงินลงทุนไว้ได้ค่อนข้างสมบูรณ์
โดยในปีที่ผ่านมา (2554) กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุน โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนที่อยู่ในวัยใกล้เกษียณหรือเกษียณอายุไปแล้ว เนื่องจาก ILB สามารถช่วยคุ้มครองครองเงินต้นจากผลกระทบของเงินเฟ้อ โดยจะให้ผลตอบแทนรวมที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้แล้ว ILB ยังเป็นตราสารที่จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน อีกทั้งยังเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการลงทุนและการออมเงินในระยะยาว และเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้พันธบัตร ILB ให้สามารถหมุนเวียนเปลี่ยนมือในตลาดได้มากขึ้น กระทรวงการคลังจึงมีแผนที่จะออก ILB อย่างต่อเนื่องทุกๆปี โดยในปี 2555 นี้ คาดว่าจะมี ILB ออกสู่ตลาดอีกประมาณ 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้แล้ว การออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อยังเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเพิ่มวินัยทางการคลังของรัฐบาลไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว หรือก่อหนี้เพื่อโครงการประชานิยมต่างๆ มากเกินไป จนเป็นตัวเร่งให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งก็เท่ากับว่ารัฐบาลต้องมีรายจ่ายในการชดเชยเงินเฟ้อก็สูงตามไปด้วยค่ะ
และถึงแม้ว่าการลงทุนในพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ จะสามารถขจัดความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อไปได้ก็จริง แต่ทั้งนี้ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องก็เป็นอีกประเด็นที่ทำให้พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยมากนัก เพราะหากนักลงทุนที่ถือครอง ILB มีความต้องการใช้เงินก่อนที่พันธบัตรจะครบกำหนด อาจจะต้องยอมขายพันธบัตรไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด เนื่องจากพันธบัตรออมทรัพย์ไม่ค่อยมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันมากนัก ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนรวมจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจเอาไว้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในทุกๆครั้งก็คือ นักลงทุนต้องวางแผนการลงทุนให้มีความเหมาะสมกับความต้องการใช้เงินในอนาคตด้วยค่ะ
พอพิศ ยอดแสง
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาด
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
www.thaibma.or.th
porpit@thaibma.or.th, 02-252-3336 Ext.213