แม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้จะเป็นการซื้อขายของกลุ่มนักลงทุนสถาบัน แต่นักลงทุนรายย่อยได้เริ่มเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์อย่างต่อเนื่องของภาครัฐเพื่อจำหน่ายแก่นักลงทุนรายย่อย รวมถึงการออกหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนหลายแห่งเพื่อเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป ประกอบกับนักลงทุนรายย่อยเริ่มมีความรู้และความสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น ทำให้มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อยในตลาดรองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2554 แสดงให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยมียอดถือครองตราสารหนี้กว่า 1.17 ล้านบาท คิดเป็น 17% ของมูลค่าคงค้างรวมของตราสารหนี้ในตลาด ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วยพันธบัตรภาครัฐมูลค่ารวม 617,300 ล้านบาท (53%) และหุ้นกู้เอกชน 556,200 ล้านบาท (47%) โดยในส่วนของพันธบัตรภาครัฐ พบว่ากว่าร้อยละ 95 เป็นการถือครองพันธบัตรประเภทออมทรัพย์ (Saving Bond) ทั้งที่ออกโดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่พันธบัตรออมทรัพย์เป็นที่นิยมจากนักลงทุนรายย่อยก็เนื่องมาจากอัตราผลตอบแทนที่จูงใจกว่าการฝากเงิน โดยเมื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon) ของพันธบัตรออมทรัพย์กับอัตราดอกเบี้ยจากการฝากเงินในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมาแล้ว จะเห็นว่าพันธบัตรออมทรัพย์ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินถึง 2.9% เลยทีเดียว โดยดอกเบี้ยเฉลี่ยของเงินฝากธนาคารพาณิชย์ (แบบออมทรัพย์) อยู่ที่ประมาณ 0.8% ในขณะที่ดอกเบี้ยเฉลี่ยของพันธบัตรออมทรัพย์ที่ออกขายในปี 2554 (ซึ่งมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3 ปี) อยู่ที่ 3.7%
แต่ถึงแม้ว่านักลงทุนรายย่อยจะมีปริมาณการถือครองพันธบัตรภาครัฐ (ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี) รวมกันกว่า 6.17 แสนล้านบาท แต่ในด้านของตลาดรองแล้ว พบว่าการซื้อขาย (Trading) ของนักลงทุนรายย่อยกว่า 80% เป็นการซื้อขายตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี (และเกือบครึ่งหนึ่ง ยังเป็นตราสารที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือนอีกด้วย) ทั้งนี้ขนาดของธุรกรรม (Value per Transaction) ที่นักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไปเข้ามาซื้อขายนั้น ส่วนใหญ่มีมูลค่าไม่ถึง 1 ล้านบาท ยกเว้นในกรณีของนักลงทุนรายย่อยที่ถือเป็นกลุ่ม “High Net Worth” จะมีขนาดของการซื้อขายต่อรายการค่อนข้างสูง คือมากกว่า 10 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการซื้อขายตราสารหนี้ที่เกือบทั้งหมดจะกระทำกันในรูปแบบ Over the Counter (OTC) หรือรูปแบบของการเจรจาต่อรอง จึงทำให้การซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยนั้นมักจะได้ราคาที่แตกต่างจากนักลงทุนกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันที่มีมูลค่าการซื้อขายคราวละมากๆ เนื่องจากหลักพื้นฐานของการต่อรองแบบ OTC คือ รายการซื้อขายที่มีขนาดเล็กจะต้องซื้อในราคาที่สูงกว่า (ถูกบวกราคา) หรือขายในราคาที่ต่ำ (ถูกกดราคา) กว่ารายการซื้อขายขนาดใหญ่ โดยประเภทของตราสารหนี้ที่แตกต่างกันก็จะมีระดับของการถูกบวกราคา/กดราคาที่แตกต่างกันตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา การซื้อขายตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน (หุ้นกู้) นักลงทุนรายย่อยมักจะถูกกดราคารับซื้อ/บวกราคาขายในระดับที่มากกว่า เมื่อเทียบกับการซื้อขายตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ (พันธบัตร) แต่ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขเชิงสถิติของราคาซื้อขายที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งราคาซื้อขายจริงในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตอาจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือสภาวะตลาดที่แตกต่างกันไปในขณะนั้นๆ ด้วย
โดยสรุปแล้ว ถึงแม้ว่าราคาที่นักลงทุนรายย่อยสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองจะมีความแตกต่างจากราคาเฉลี่ยของตลาดอยู่บ้าง แต่การซื้อขายตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อยกลับมีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจจากวันละไม่ถึง 100 ล้านบาทมาเป็นวันละ 430 ล้านบาทในปี 2554 และจากลักษณะการซื้อขายตราสารหนี้ที่เป็นแบบ “ซื้อแล้วถือเก็บ” เสียเป็นส่วนใหญ่ มาเป็น “ซื้อ-ขายทำกำไร” แสดงให้เห็นว่าการเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อยมีศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างเป็นลำดับ ซึ่งในอนาคตหากภาครัฐมีมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยลดข้อแตกต่างและอุปสรรคอีกหลากหลายประการในการซื้อขายตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อย ก็น่าจะทำให้เราได้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนกลุ่มนี้ในตลาดตราสารหนี้ไทย
สุชาติ ธนฐิติพันธ์
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาด
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
www.thaibma.or.th
research@thaibma.or.th, 0-2252-3336 Ext 113
แต่ถึงแม้ว่านักลงทุนรายย่อยจะมีปริมาณการถือครองพันธบัตรภาครัฐ (ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี) รวมกันกว่า 6.17 แสนล้านบาท แต่ในด้านของตลาดรองแล้ว พบว่าการซื้อขาย (Trading) ของนักลงทุนรายย่อยกว่า 80% เป็นการซื้อขายตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี (และเกือบครึ่งหนึ่ง ยังเป็นตราสารที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือนอีกด้วย) ทั้งนี้ขนาดของธุรกรรม (Value per Transaction) ที่นักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไปเข้ามาซื้อขายนั้น ส่วนใหญ่มีมูลค่าไม่ถึง 1 ล้านบาท ยกเว้นในกรณีของนักลงทุนรายย่อยที่ถือเป็นกลุ่ม “High Net Worth” จะมีขนาดของการซื้อขายต่อรายการค่อนข้างสูง คือมากกว่า 10 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการซื้อขายตราสารหนี้ที่เกือบทั้งหมดจะกระทำกันในรูปแบบ Over the Counter (OTC) หรือรูปแบบของการเจรจาต่อรอง จึงทำให้การซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยนั้นมักจะได้ราคาที่แตกต่างจากนักลงทุนกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันที่มีมูลค่าการซื้อขายคราวละมากๆ เนื่องจากหลักพื้นฐานของการต่อรองแบบ OTC คือ รายการซื้อขายที่มีขนาดเล็กจะต้องซื้อในราคาที่สูงกว่า (ถูกบวกราคา) หรือขายในราคาที่ต่ำ (ถูกกดราคา) กว่ารายการซื้อขายขนาดใหญ่ โดยประเภทของตราสารหนี้ที่แตกต่างกันก็จะมีระดับของการถูกบวกราคา/กดราคาที่แตกต่างกันตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา การซื้อขายตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน (หุ้นกู้) นักลงทุนรายย่อยมักจะถูกกดราคารับซื้อ/บวกราคาขายในระดับที่มากกว่า เมื่อเทียบกับการซื้อขายตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ (พันธบัตร) แต่ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขเชิงสถิติของราคาซื้อขายที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งราคาซื้อขายจริงในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตอาจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือสภาวะตลาดที่แตกต่างกันไปในขณะนั้นๆ ด้วย
โดยสรุปแล้ว ถึงแม้ว่าราคาที่นักลงทุนรายย่อยสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองจะมีความแตกต่างจากราคาเฉลี่ยของตลาดอยู่บ้าง แต่การซื้อขายตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อยกลับมีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจจากวันละไม่ถึง 100 ล้านบาทมาเป็นวันละ 430 ล้านบาทในปี 2554 และจากลักษณะการซื้อขายตราสารหนี้ที่เป็นแบบ “ซื้อแล้วถือเก็บ” เสียเป็นส่วนใหญ่ มาเป็น “ซื้อ-ขายทำกำไร” แสดงให้เห็นว่าการเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อยมีศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างเป็นลำดับ ซึ่งในอนาคตหากภาครัฐมีมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยลดข้อแตกต่างและอุปสรรคอีกหลากหลายประการในการซื้อขายตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อย ก็น่าจะทำให้เราได้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนกลุ่มนี้ในตลาดตราสารหนี้ไทย
สุชาติ ธนฐิติพันธ์
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาด
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
www.thaibma.or.th
research@thaibma.or.th, 0-2252-3336 Ext 113