คอลัมน์thaibma
โดย สุชาติ ธนฐิติพันธ์
ฝ่ายวิจัยและพัฒนา สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
suchart@thaibma.or.th
02-252-3336 Ext.113
www.thaibma.or.th
ในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนที่อยู่ในตลาดการเงินของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดตราสารทุน (ตลาดหุ้น) ต่างก็น่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่น่าพอใจ อาจจะมากหรือน้อยบ้างขึ้นอยู่กับตัวหลักทรัพย์ที่นักลงทุนทำการซื้อลงทุนเอาไว้ ซึ่งถ้าพิจารณาจากภาพของตลาดโดยรวมแล้ว ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 160 จุด หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 15.3 % (นับตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค. 2555 จนถึงวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา)
แต่ในทางกลับกัน หากพิจารณาในส่วนของตลาดตราสารหนี้ (พันธบัตร, หุ้นกู้) กลับพบว่าดัชนีปรับตัวลดลงเล็กน้อย หรือประมาณ -1.6% ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ผิดปกติแต่อย่างใดครับ เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อภายในประเทศ (Inflation) เริ่มเข้ามามีผลกดดันตลาดมากขึ้น นักวิเคราะห์รวมถึงนักลงทุนบางส่วนเริ่มคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งในที่สุดแล้ว แรงกดดันเหล่านี้ส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร (Yield) ขยับตัวเพิ่มขึ้น หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ มีผลทำให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลงนั่นเอง
แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ตลาดตราสารหนี้จะไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนครับ ในทางตรงกันข้าม นักลงทุนทั่วไปและโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ กลับใช้จังหวะที่ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลง เพื่อเข้ามาซื้อตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาทั้งในส่วนของตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ มองเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านอัตราแลกเปลี่ยน หรือค่าเงินบาทตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา
โดยในช่วงนั้นค่าเงินบาทไทยอยู่ที่ 31.88 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ และเริ่มมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จนมาอยู่ที่ระดับ 30.81 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการแข็งค่าขึ้น 3.4% ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 3 เดือนครับ
นอกจากนี้แล้ว เรายังพบว่ายอดการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติทั้งในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสะสม (Accumulate Net Buy) ในตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สูงถึง 82,800 ล้านบาท
ในขณะที่ยอดซื้อสะสมในตลาดตราสารหนี้นับตั้งแต่ต้นปี พุ่งสูงถึง 300,000 ล้านบาทเลยทีเดียวครับ (แบ่งเป็นการซื้อสุทธิในตราสารระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี กว่า 247,700 ล้านบาท ในขณะที่ยอดการซื้อสุทธิสำหรับตราสารที่มีอายุมากกว่า 1 ปี อยู่ที่ 52,300 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม การไหลเข้าอย่างรวดเร็วของเงินทุนต่างชาติในรอบนี้ ดูเหมือนว่าจะมีความร้อนแรง และรวดเร็วผิดไปจากในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งนักลงทุนควรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง
หากจะตัดสินใจ “เก็งกำไร” ในตลาดการเงินของไทย ในช่วงระยะเวลานับจากนี้เป็นต้นไป แต่ถ้าหากเป็นการตัดสินใจเพื่อจะ “ลงทุนในระยะยาว” แล้ว พื้นฐานของสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ยังคงถือได้ว่ามีความน่าสนใจ ไม่แพ้ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันครับ
ส่วนทางด้านของสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองไทย และเหตุการณ์รุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ดูเหมือนว่าจะยังไม่มีผลกระทบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมากเท่าไรนัก ซึ่งแน่นอนครับว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้หลักของไทยทางหนึ่งอาจจะมีปัญหาไปบ้างในช่วงที่มีความวุ่นวาย แต่อุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกของไทย ที่เป็นแหล่งรายได้หลักของไทยเช่นกัน ยังคงสามารถเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการฟื้นตัวของประเทศอื่นๆ ที่เป็นประเทศคู้ค้าของไทย
ดังนั้นแล้ว ด้วยกระแสการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ที่น่าจะสะท้อนได้ว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ต่างๆในประเทศไทย ประกอบกับสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย ที่แนวโน้มว่าจะฟื้นตัวได้ไม่น้อยหน้าไปกว่าประเทศอื่นๆแล้ว ช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน น่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการเข้ามาแสวงหาผลตอบแทนในระยะยาวของนักลงทุนไทย แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ลืมพิจารณาถึงความเสี่ยง หลายๆด้านที่อาจจะเกิดขึ้นควบคู่กันไปด้วยครับ
โดย สุชาติ ธนฐิติพันธ์
ฝ่ายวิจัยและพัฒนา สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
suchart@thaibma.or.th
02-252-3336 Ext.113
www.thaibma.or.th
ในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนที่อยู่ในตลาดการเงินของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดตราสารทุน (ตลาดหุ้น) ต่างก็น่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่น่าพอใจ อาจจะมากหรือน้อยบ้างขึ้นอยู่กับตัวหลักทรัพย์ที่นักลงทุนทำการซื้อลงทุนเอาไว้ ซึ่งถ้าพิจารณาจากภาพของตลาดโดยรวมแล้ว ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 160 จุด หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 15.3 % (นับตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค. 2555 จนถึงวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา)
แต่ในทางกลับกัน หากพิจารณาในส่วนของตลาดตราสารหนี้ (พันธบัตร, หุ้นกู้) กลับพบว่าดัชนีปรับตัวลดลงเล็กน้อย หรือประมาณ -1.6% ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ผิดปกติแต่อย่างใดครับ เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อภายในประเทศ (Inflation) เริ่มเข้ามามีผลกดดันตลาดมากขึ้น นักวิเคราะห์รวมถึงนักลงทุนบางส่วนเริ่มคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งในที่สุดแล้ว แรงกดดันเหล่านี้ส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร (Yield) ขยับตัวเพิ่มขึ้น หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ มีผลทำให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลงนั่นเอง
แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ตลาดตราสารหนี้จะไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนครับ ในทางตรงกันข้าม นักลงทุนทั่วไปและโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ กลับใช้จังหวะที่ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลง เพื่อเข้ามาซื้อตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาทั้งในส่วนของตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ มองเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านอัตราแลกเปลี่ยน หรือค่าเงินบาทตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา
โดยในช่วงนั้นค่าเงินบาทไทยอยู่ที่ 31.88 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ และเริ่มมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จนมาอยู่ที่ระดับ 30.81 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการแข็งค่าขึ้น 3.4% ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 3 เดือนครับ
นอกจากนี้แล้ว เรายังพบว่ายอดการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติทั้งในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสะสม (Accumulate Net Buy) ในตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สูงถึง 82,800 ล้านบาท
ในขณะที่ยอดซื้อสะสมในตลาดตราสารหนี้นับตั้งแต่ต้นปี พุ่งสูงถึง 300,000 ล้านบาทเลยทีเดียวครับ (แบ่งเป็นการซื้อสุทธิในตราสารระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี กว่า 247,700 ล้านบาท ในขณะที่ยอดการซื้อสุทธิสำหรับตราสารที่มีอายุมากกว่า 1 ปี อยู่ที่ 52,300 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม การไหลเข้าอย่างรวดเร็วของเงินทุนต่างชาติในรอบนี้ ดูเหมือนว่าจะมีความร้อนแรง และรวดเร็วผิดไปจากในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งนักลงทุนควรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง
หากจะตัดสินใจ “เก็งกำไร” ในตลาดการเงินของไทย ในช่วงระยะเวลานับจากนี้เป็นต้นไป แต่ถ้าหากเป็นการตัดสินใจเพื่อจะ “ลงทุนในระยะยาว” แล้ว พื้นฐานของสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ยังคงถือได้ว่ามีความน่าสนใจ ไม่แพ้ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันครับ
ส่วนทางด้านของสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองไทย และเหตุการณ์รุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ดูเหมือนว่าจะยังไม่มีผลกระทบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมากเท่าไรนัก ซึ่งแน่นอนครับว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้หลักของไทยทางหนึ่งอาจจะมีปัญหาไปบ้างในช่วงที่มีความวุ่นวาย แต่อุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกของไทย ที่เป็นแหล่งรายได้หลักของไทยเช่นกัน ยังคงสามารถเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการฟื้นตัวของประเทศอื่นๆ ที่เป็นประเทศคู้ค้าของไทย
ดังนั้นแล้ว ด้วยกระแสการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ที่น่าจะสะท้อนได้ว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ต่างๆในประเทศไทย ประกอบกับสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย ที่แนวโน้มว่าจะฟื้นตัวได้ไม่น้อยหน้าไปกว่าประเทศอื่นๆแล้ว ช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน น่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการเข้ามาแสวงหาผลตอบแทนในระยะยาวของนักลงทุนไทย แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ลืมพิจารณาถึงความเสี่ยง หลายๆด้านที่อาจจะเกิดขึ้นควบคู่กันไปด้วยครับ