ASTVผู้จัดการรายวัน - นักลงทุนแห่ลงทุนตลาดตราสารหนี้หลังนโยบายรัฐบาลชัดเจนกู้เงินในระบบแก้ปัญหาน้ำตาม พ.ร.ก.กู้ 3.5 แสนล้าน กระทบดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดพุ่ง “จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล” เตรียมปรับแผนก่อหนี้หวังดึงต้นทุนเงินกู้รัฐบาลลดต่ำลง เล็งขยายวงเงินพันธบัตรออมทรัพย์ทั้งปีเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์การลงทุนในตลาดตราสารหนี้มีความผิดปกติ จากอัตราผลตอบแทนอ้างอิง (Yield Curve) ของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นเป็น 3.7% จากเดิมที่เคยอยู่ในระดับ 3.2% เพราะมีการคาดการณ์กัน ว่า รัฐบาลจะออกพันธบัตรเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่เคยประกาศไว้ในในแผนก่อหนี้สาธารณะ 5.25 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินมาใช้ในการบริหารจัดกาน้ำตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท จึงมองว่า พันธบัตรที่จะออกมามากขึ้น สะท้อนความต้องการใช้เงินในตลาด ดังนั้น ดอกเบี้ยจึงควรจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกเหนือจากการปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้ออยู่แล้ว
“ขณะนี้สภาพตลาดตราสารหนี้อยู่ในภาวะที่เรียกว่าเก็งกำไร เพราะคาดกันว่า รัฐบาลจะออกพันธบัตรมากขึ้น แต่เราก็ได้ยืนยันมาตลอดเวลาว่า ในปีงบประมาณ 2555 พันธบัตรอายุ 3, 5, 7, 15, 20, 30 และ 50 ปี วงเงิน 5.25 แสนล้านบาท หรือไตรมาสละ 1 แสนกว่าล้านบาท ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านั้น ซึ่งหากตลาดยังเก็งกำไรอยู่เช่นนี้ เราก็จะลดวงเงินการออกพันธบัตรลง แล้วหันไประดมทุนในรูปแบบอื่นแทน ทั้งตั๋วเงินคลังหรือกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ เพราะเราเองก็ยืนยันมาตลอดว่า เงินกู้เพื่อการบริหารจัดการน้ำจะใช้เงินกู้จากธนาคารเป็นรายโครงการไป หรือไม่ก็อาจจะหันไปเพิ่มวงพันธบัตรออมทรัพย์เป็น 2 แสนล้านบาทจากเดิม 1 แสนล้านบาทก็ได้” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวว่า สบน.พยายามบริหารต้นทุนการระดมเงินของรัฐบาลให้ลดลงต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีต้นทุนเฉลี่ยเพียง 4.7% จากเดิมที่เคยในระดับ 5-6% เพราะในช่วง 2 ปีที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับได้บริหารต้นทุนด้วยการไปลงทุนพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้ เพื่อเป็นการล็อกต้นทุนไม่ให้เพิ่มขึ้น ตามแนวโน้มที่คาดว่าดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ซึ่งขณะนี้ เศรษฐกิจก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวเต็มที่ ขณะที่สภาพคล่องในตลาดเงินยังมีมาก ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เอง ก็ยังทำหน้าที่ดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในตลาด และหากเกิดสภาพคล่องตึงตัว ธปท.ก็สามารถปล่อยสภาพคล่องออกมาได้ เพราะมีสภาพคล่องอยู่ในมือถึง 4.5 ล้านล้านบาท จากการดูดซับสภาพคล่องในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการใช้เงินของรัฐบาลมีเพียง 4 แสนล้านบาทเท่านั้น
สำหรับการกู้เงินเพื่อการบริหารจัดการน้ำนั้นจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ยื่นเสนอโครงการเข้ามา เนื่องจากโครงการที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคม นั้นเป็นเพียงกรอบวงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท แต่ยังไม่ได้อนุมัติรายโครงการ 246 โครงการ ซึ่งต้องกลับมาทำรายละเอียดและเสนอกลับมาที่ครม.อีกครั้ง หากได้รับอนุมัติจึงจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อลงนามในสัญญาแล้วจึงจะยื่นเสนอขอเบิกเงินกู้จากกระทรวงการคลัง ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะธนาคารพาณิชย์มีวงเงินและความพร้อมที่จะให้กู้อยู่แล้ว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์การลงทุนในตลาดตราสารหนี้มีความผิดปกติ จากอัตราผลตอบแทนอ้างอิง (Yield Curve) ของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นเป็น 3.7% จากเดิมที่เคยอยู่ในระดับ 3.2% เพราะมีการคาดการณ์กัน ว่า รัฐบาลจะออกพันธบัตรเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่เคยประกาศไว้ในในแผนก่อหนี้สาธารณะ 5.25 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินมาใช้ในการบริหารจัดกาน้ำตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท จึงมองว่า พันธบัตรที่จะออกมามากขึ้น สะท้อนความต้องการใช้เงินในตลาด ดังนั้น ดอกเบี้ยจึงควรจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกเหนือจากการปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้ออยู่แล้ว
“ขณะนี้สภาพตลาดตราสารหนี้อยู่ในภาวะที่เรียกว่าเก็งกำไร เพราะคาดกันว่า รัฐบาลจะออกพันธบัตรมากขึ้น แต่เราก็ได้ยืนยันมาตลอดเวลาว่า ในปีงบประมาณ 2555 พันธบัตรอายุ 3, 5, 7, 15, 20, 30 และ 50 ปี วงเงิน 5.25 แสนล้านบาท หรือไตรมาสละ 1 แสนกว่าล้านบาท ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านั้น ซึ่งหากตลาดยังเก็งกำไรอยู่เช่นนี้ เราก็จะลดวงเงินการออกพันธบัตรลง แล้วหันไประดมทุนในรูปแบบอื่นแทน ทั้งตั๋วเงินคลังหรือกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ เพราะเราเองก็ยืนยันมาตลอดว่า เงินกู้เพื่อการบริหารจัดการน้ำจะใช้เงินกู้จากธนาคารเป็นรายโครงการไป หรือไม่ก็อาจจะหันไปเพิ่มวงพันธบัตรออมทรัพย์เป็น 2 แสนล้านบาทจากเดิม 1 แสนล้านบาทก็ได้” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวว่า สบน.พยายามบริหารต้นทุนการระดมเงินของรัฐบาลให้ลดลงต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีต้นทุนเฉลี่ยเพียง 4.7% จากเดิมที่เคยในระดับ 5-6% เพราะในช่วง 2 ปีที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับได้บริหารต้นทุนด้วยการไปลงทุนพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้ เพื่อเป็นการล็อกต้นทุนไม่ให้เพิ่มขึ้น ตามแนวโน้มที่คาดว่าดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ซึ่งขณะนี้ เศรษฐกิจก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวเต็มที่ ขณะที่สภาพคล่องในตลาดเงินยังมีมาก ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เอง ก็ยังทำหน้าที่ดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในตลาด และหากเกิดสภาพคล่องตึงตัว ธปท.ก็สามารถปล่อยสภาพคล่องออกมาได้ เพราะมีสภาพคล่องอยู่ในมือถึง 4.5 ล้านล้านบาท จากการดูดซับสภาพคล่องในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการใช้เงินของรัฐบาลมีเพียง 4 แสนล้านบาทเท่านั้น
สำหรับการกู้เงินเพื่อการบริหารจัดการน้ำนั้นจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ยื่นเสนอโครงการเข้ามา เนื่องจากโครงการที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคม นั้นเป็นเพียงกรอบวงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท แต่ยังไม่ได้อนุมัติรายโครงการ 246 โครงการ ซึ่งต้องกลับมาทำรายละเอียดและเสนอกลับมาที่ครม.อีกครั้ง หากได้รับอนุมัติจึงจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อลงนามในสัญญาแล้วจึงจะยื่นเสนอขอเบิกเงินกู้จากกระทรวงการคลัง ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะธนาคารพาณิชย์มีวงเงินและความพร้อมที่จะให้กู้อยู่แล้ว