คอลัมน์ Design
โดย โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มาเรียนรู้วิธีสร้างความมั่งคั่งด้วยวิธีนี้ได้ ด้วยการประดิษฐ์ “พอร์ตลงทุน” ของตัวเอง โดยใช้กองทุนรวมแต่ละประเภทเป็นเครื่องมือหรือสินทรัพย์ลงทุนกันไป**แล้วซึ่งในสัปดาห์นี้ เรามาเรียนรู้ 2 ขั้นตอนสุดท้าย ที่จะพาคุณไปสู่ความสำเร็จในการจัดสรรพอร์ตลงทุน กันเลยนะครับ
ขั้นที่ 3สร้างพอร์ตการลงทุน
เมื่อเลือกวัตถุประสงค์และทราบปัจจัยแวดล้อมภายนอกแล้ว ต่อมาก็สามารถลงมือสร้างพอร์ตการลงทุนด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
3.1.การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation)เป็นการแบ่งสัดส่วนน้ำหนักของเงินลงทุนทั้งหมดที่มี ไปยังกองทุนรวมประเภทต่างๆ ที่ต้องการลงทุน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากจะส่งผลต่อผลตอบแทนของการลงทุนโดยตรง คือฟันธงไปเลยว่าพอร์ตการลงทุนของคุณ มีนโยบายแบบไหน จะแบ่งเงินไว้ในกองทุนประเภทละเท่าใดบ้าง บางทีอาจทำให้ทราบถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับว่าควรเป็นเท่าใดอีกด้วย และจากผลการวิจัยพบว่า การจัดสรรสินทรัพย์ มีผลต่อผลลัพธ์ของการลงทุน มากกว่า 95% เลยทีเดียว
3.2.การเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ (Sector Selection) เป็นการพิจารณาเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ต้องการลงทุน เพราะในแต่ละธุรกิจ จะมีวัฎจักรหรือรอบของวงจรธุรกิจ ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ เช่นบางช่วงเวลาธุรกิจพลังงาน มีผลการดำเนินงานดี บางช่วงเวลาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีการดำเนินงานดี เป็นต้น เราสามารถพิจารณาได้จากนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมหุ้น กองทุน A เน้นลงทุนในหุ้นที่มีความเติบโตสูง ขณะที่กองทุน B เน้นลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผลเป็นหลัก เราต้องพิจารณาแล้วว่า เราชอบกองทุนแบบไหน
3.3.การเลือกตัวหลักทรัพย์ (Security Selection) เป็นการคัดเลือกตัวหลักทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุน เป็นการพิจารณาในระดับที่ย่อยลงมาอีกระดับหนึ่ง คือการระบุให้ชัดเจนว่าจะลงทุนหลักทรัพย์ใดบ้าง ถือเป็นหน้าที่ของมืออาชีพหรือผู้จัดการกองทุน ในการคัดเลือกตัวหลักทรัพย์แล้ว ส่วนเราในฐานะผู้ลงทุนก็แค่คอยติดตามผลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอแล้ว
3.4.การหาจังหวะลงทุนให้เหมาะสม (Market Timing) เป็นการหาจังหวะลงทุนในตัวหลักทรัพย์ที่เลือกลงทุนให้เหมาะสม โดยส่วนมากผู้คนมักจะให้ความใส่ใจกับประเด็นการหาจังหวะลงทุนเป็นอย่างมาก แต่จากผลการวิจัยพบว่า การหาจังหวะลงทุนมีผลต่อผลลัพธ์ของการลงทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ จะทำหน้าที่ติดตามจังหวะการลงทุนที่เหมาะสมให้กับนักลงทุนอยู่แล้ว
ขั้นที่ 4 ติดตามและปรับปรุงพอร์ตการลงทุน
เพื่อให้การบริหารพอร์ตการลงทุน บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้ลงทุนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ลงทุนควรวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมและการปรับปรุงพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมอยู่เสมอ
โดยปกติการสร้างและบริหารพอร์ตการลงทุน มีขั้นตอนที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจมากพอสมควร หากผู้ลงทุนเลือกใช้กองทุนรวม เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนสามารถลดความยุ่งยากไปได้มากเลยทีเดียว เพราะมีมืออาชีพคอยบริหารจัดการ และติดตามการลงทุนให้แทน หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า แล้วควรจะเลือกลงทุนกับบริษัทจัดการใดจึงจะดี กองทุนไหนที่มีผลการดำเนินงานดี มีข้อสังเกตง่ายๆ ว่าบริษัทจัดการที่ดี ต้องมีใบอนุญาตในการประกอบกิจการ มีผู้จัดการกองทุนที่ขึ้นทะเบียนกับ ก.ล.ต. ไม่เคยถูกฟ้องร้องหรือมีคดีความ มีนโยบายการลงทุนที่ตรงกับความต้องการของเราเอง รวมถึงการได้รับรางวัลจากสถาบันผู้จัดอันดับกองทุนที่มีชื่อเสียง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ลงทุนอย่างเราอุ่นใจได้อีกอย่างหนึ่งด้วย
หวังว่าทุกท่านคงมีความสุขในการทำให้พอร์ตการลงทุนของคุณให้งอกเงยนะครับ
เชิญร่วมงาน Invest Thailand Fair ครั้งที่ 2 :: มหกรรมจัดทัพลงทุน หุ้น ฟิวเจอร์ ทองคำ” ในวันเสาร์ที่ 18 - อาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 ( 2 วัน ) เวลา 09.30 - 17.30 น. ณ Hall A ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
โดย โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มาเรียนรู้วิธีสร้างความมั่งคั่งด้วยวิธีนี้ได้ ด้วยการประดิษฐ์ “พอร์ตลงทุน” ของตัวเอง โดยใช้กองทุนรวมแต่ละประเภทเป็นเครื่องมือหรือสินทรัพย์ลงทุนกันไป**แล้วซึ่งในสัปดาห์นี้ เรามาเรียนรู้ 2 ขั้นตอนสุดท้าย ที่จะพาคุณไปสู่ความสำเร็จในการจัดสรรพอร์ตลงทุน กันเลยนะครับ
ขั้นที่ 3สร้างพอร์ตการลงทุน
เมื่อเลือกวัตถุประสงค์และทราบปัจจัยแวดล้อมภายนอกแล้ว ต่อมาก็สามารถลงมือสร้างพอร์ตการลงทุนด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
3.1.การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation)เป็นการแบ่งสัดส่วนน้ำหนักของเงินลงทุนทั้งหมดที่มี ไปยังกองทุนรวมประเภทต่างๆ ที่ต้องการลงทุน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากจะส่งผลต่อผลตอบแทนของการลงทุนโดยตรง คือฟันธงไปเลยว่าพอร์ตการลงทุนของคุณ มีนโยบายแบบไหน จะแบ่งเงินไว้ในกองทุนประเภทละเท่าใดบ้าง บางทีอาจทำให้ทราบถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับว่าควรเป็นเท่าใดอีกด้วย และจากผลการวิจัยพบว่า การจัดสรรสินทรัพย์ มีผลต่อผลลัพธ์ของการลงทุน มากกว่า 95% เลยทีเดียว
3.2.การเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ (Sector Selection) เป็นการพิจารณาเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ต้องการลงทุน เพราะในแต่ละธุรกิจ จะมีวัฎจักรหรือรอบของวงจรธุรกิจ ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ เช่นบางช่วงเวลาธุรกิจพลังงาน มีผลการดำเนินงานดี บางช่วงเวลาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีการดำเนินงานดี เป็นต้น เราสามารถพิจารณาได้จากนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมหุ้น กองทุน A เน้นลงทุนในหุ้นที่มีความเติบโตสูง ขณะที่กองทุน B เน้นลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผลเป็นหลัก เราต้องพิจารณาแล้วว่า เราชอบกองทุนแบบไหน
3.3.การเลือกตัวหลักทรัพย์ (Security Selection) เป็นการคัดเลือกตัวหลักทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุน เป็นการพิจารณาในระดับที่ย่อยลงมาอีกระดับหนึ่ง คือการระบุให้ชัดเจนว่าจะลงทุนหลักทรัพย์ใดบ้าง ถือเป็นหน้าที่ของมืออาชีพหรือผู้จัดการกองทุน ในการคัดเลือกตัวหลักทรัพย์แล้ว ส่วนเราในฐานะผู้ลงทุนก็แค่คอยติดตามผลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอแล้ว
3.4.การหาจังหวะลงทุนให้เหมาะสม (Market Timing) เป็นการหาจังหวะลงทุนในตัวหลักทรัพย์ที่เลือกลงทุนให้เหมาะสม โดยส่วนมากผู้คนมักจะให้ความใส่ใจกับประเด็นการหาจังหวะลงทุนเป็นอย่างมาก แต่จากผลการวิจัยพบว่า การหาจังหวะลงทุนมีผลต่อผลลัพธ์ของการลงทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ จะทำหน้าที่ติดตามจังหวะการลงทุนที่เหมาะสมให้กับนักลงทุนอยู่แล้ว
ขั้นที่ 4 ติดตามและปรับปรุงพอร์ตการลงทุน
เพื่อให้การบริหารพอร์ตการลงทุน บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้ลงทุนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ลงทุนควรวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมและการปรับปรุงพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมอยู่เสมอ
โดยปกติการสร้างและบริหารพอร์ตการลงทุน มีขั้นตอนที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจมากพอสมควร หากผู้ลงทุนเลือกใช้กองทุนรวม เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนสามารถลดความยุ่งยากไปได้มากเลยทีเดียว เพราะมีมืออาชีพคอยบริหารจัดการ และติดตามการลงทุนให้แทน หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า แล้วควรจะเลือกลงทุนกับบริษัทจัดการใดจึงจะดี กองทุนไหนที่มีผลการดำเนินงานดี มีข้อสังเกตง่ายๆ ว่าบริษัทจัดการที่ดี ต้องมีใบอนุญาตในการประกอบกิจการ มีผู้จัดการกองทุนที่ขึ้นทะเบียนกับ ก.ล.ต. ไม่เคยถูกฟ้องร้องหรือมีคดีความ มีนโยบายการลงทุนที่ตรงกับความต้องการของเราเอง รวมถึงการได้รับรางวัลจากสถาบันผู้จัดอันดับกองทุนที่มีชื่อเสียง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ลงทุนอย่างเราอุ่นใจได้อีกอย่างหนึ่งด้วย
หวังว่าทุกท่านคงมีความสุขในการทำให้พอร์ตการลงทุนของคุณให้งอกเงยนะครับ
เชิญร่วมงาน Invest Thailand Fair ครั้งที่ 2 :: มหกรรมจัดทัพลงทุน หุ้น ฟิวเจอร์ ทองคำ” ในวันเสาร์ที่ 18 - อาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 ( 2 วัน ) เวลา 09.30 - 17.30 น. ณ Hall A ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์