ASTVผู้จัดการรายวัน-สมาคมตลาดตราสารหนี้ ประเมินภาพรวมปี 55 บริษัทเอกชนหันมาระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้มากขึ้น หลังต้นทุนกู้เงินผ่านสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นพร้อมประเมินเม็ดเงินต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในตลาดมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาหลังเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปยังอ่อนแอ
นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานคณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในปี 2555 นี้เราประเมินว่าาการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ของไทยจะเคลื่อนไหวมากขึ้นโดยภาคเอกชนจะหันมาใช้ตลาดตราสารหนี้เป็นแหล่งระดมทุนมากขึ้น โดยมาจาก 4 ปัจจัยหลักได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ภาคเอกชนต้องการเงินมาลงทุน การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และต้นทุนการกู้เงินผ่านธนาคารที่จะเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า จากแผนการออกพันธบัตรประจำปีงบประมาณ 2555 คาดว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ จะมีพันธบัตรรัฐบาลออกประมูลใหม่อีกจำนวน 508,000 ล้านบาท ตามเเผนเดิม ส่วนการคาดการณ์เกี่ยวกับแผนการกู้เงินตามพระราชกำหนดเงินกู้ทั้ง 3 ฉบับที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปแล้วนั้น คาดว่าจะออกมาในรูปของการกู้ยืมผ่านพันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) หรือผ่านการกู้ยืมโดยตรง (ตั๋ว P/N) มากกว่าที่จะออกมาเป็นพันธบัตรประเภท LB ซึ่งมีโอกาสออกเป็น LB ค่อนข้างน้อยมาก
ในส่วนของตราสารหนี้ภาคเอกชนคาดว่าภาคเอกชนจะมีการออกหุ้นกู้มากขึ้นกว่าปี 2554 โดยปีที่ผ่านมามีหุ้นกู้ออกใหม่รวม 212,000 ล้านบาทและคาดว่าในปี 2555 จะมีหุ้นกู้ออกใหม่ประมาณ 250,000-300,000 ล้านบาทโดยสาเหตุของการออกหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากผลกระทบน้ำท่วมทำให้บริษัทในกลุ่ม Property,Constuction,Electronic Component ต้องการระดมทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันมีเอกชนหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้แผนการลงทุนต้องล่าช้าออกไปจากปี 2554 จึงต้องไปทำการออกหุ้นกู้ในปี 2555 แทน และที่สำคัญการที่ดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จะมีผลทำให้ต้นทุนของการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ (ดอกเบี้ยจ่าย) ลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นการจูงใจให้ภาคเอกชนหันมาออกหุ้นกู้ในช่วงปี 2555 มากขึ้น
อย่างไรก็ตามในส่วนของแนวโน้มของตลาดรองในปีนี้นั้นเราประเมินว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวและเงินเฟ้อที่เริ่มลดความร้อนแรงลง ซึ่งการเคลื่อนไหวของเส้น Yield Curve มีแนวโน้มลดลงตามการลดลงของดอกเบี้ยในประเทศ และตามแรงซื้อจากเม็ดเงินต่าวชาติ ทั้งนี้มูลค่าการซื้อขายโดยรวมจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
"การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติจะเพิ่มขึ้นตามทิศทางของเศรษฐกิจในฝั่งยุโรปและอเมริกาที่ยังอ่อนแอ ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งนักลงทุนเริ่มมองหาช่องทางเลือกใหม่ๆมากขึ้นแทนที่จะลงทุนในหุ้นสามัญที่ค่อนข้างผันผวนเป็นอย่างมาก โดยช่วงอายุของตราสารหนี้ที่นิยมลงทุนคือ อายุประมาณ 1 เดือน-7 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงอายุที่ค่อนข้างปลอดภัยหากอัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลง"นายนิวัฒน์ กล่าว
**ต่างชาติซื้อสุทธิกว่า7แสนล้าน**
นายนิวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับปีที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ในตลาดแรกนั้นประมาณการออกตราสารหนี้ใหม่มีปริมาณลดลงมีเพียงการออกตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย และในส่วนของบริษัทเอกชน และการออกหุ้นกู้ต่างประเทศเท่านั้นที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตราสารระยะสั้นเหล่านี้มีผลทำให้มูลค่าการออกตราสารหนี้โดยรวมของปี 2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10%
ทั้งนี้การออกตราสารหนี้เอกชนระยะยาวในปีที่ผ่านมามีปริมาณการออกที่ลดลงจากปี 2553 ประมาณ 18% ซึ่งสาเหตุมาจากทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในประเทศปี 2554 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับสถานการณ์อุทกภัยช่วงปลายปีมีผลทำให้ภาคเอกชนหลายรายเลื่อนแผนการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ออกไปก่อน โดยกลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าหุ้นกู้ออกใหม่สูงสุดในปี 2554 ได้แก่กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาได้แก่กลุ่มพลังงาน ในขณะที่ตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนมีมูลค่าการออกเพิ่มค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนมีการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ระยะสั้นค่อนข้างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่ากว่า 944,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% จากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มของธนาคารพาณิชย์ที่มีสัดส่วนของการออกตราสารหนี้ระยะสั้นสูงถึง 60% ของตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนทั้งหมดที่ออกปี 2554 เนื่องจากสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งจึงออกตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อขายให้กับลูกค้าของตัวเองเพื่อรักษาฐานลูกค้าเงินฝากของธนาคารเอาไว้ในช่วงที่มีการแข่งขัน และแย่งฐานลูกค้าเงินฝากอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน นอกจากนี้แล้วยังพบว่าบริษัทเอกชนหลายแห่งได้หันมาระดมทุนด้วยการออกตราสารหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกู้เงินผ่านธนาคารมีต้นทุนที่สูงกว่า
นอกจากนี้ ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นที่สนใจจากนักลงทุนต่างชาติโดยในปีที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศมีสถานะซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิตลอดทั้งปีกว่า 709,000 ล้านบาท แต่หากพิจารณาเฉพาะการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศในตราสารหนี้อายุมากกว่า 1 ปีพบว่านักลงทุนต่างประเทศมีสถานะซื้อสุทธิกว่า 167,000 ล้านบาทาส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างประเทศสิ้นปี 2554 อยู่ที่ประมาณ 420,700 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 50% จากสิ้นปี 2553
นายนิวัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยในปีนี้นั้นทาง ThaiBMA ได้ร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานก.ล.ต. จัดทำร่างแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ภายใต้แนวทางพัฒนารวมกันที่เป็นประโยชน์กับตลาดโดยรวมซึ่งแนวทางในการพัฒนาจะเน้นให้ความสำคัญในการเพิ่มช่องทางการลงทุนและสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ สนับสนุนให้ภาคเอกชนระดมทุนผ่านหุ้นกู้เพิ่มขึ้น และส่งเสริมความรู้ด้านการลงทุนในตราสารหนี้แก่นักลงทุนรายย่อยควบคู่ไปกับการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูล การซื้อขายของนักลงทุนรายย่อย
ขณะเดียวกันแนวทางการส่งเสริมการลงทุนตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อยนั้น ThaiBMA จะพัฒนาหน้าแสดงข้อมูลราคาซื้อขายตราสารหนี้สำหรับนักลงทุนรายย่อย Bond Mart เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนรายย่อยที่สนใจซื้อขายตราสารหนี้สามารถตรวจสอบราคา และติดต่อทำการซื้อขายตราสารหนี้กับผู้ค้าตราสารหนี้หรือ Dealer ที่เสนอราคาซื้อหรือขายเข้ามาในหน้า Bond Mart โดยปัจจุบันเราได้รับความร่วมมือจากสถาบันทางการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์กว่า 12 รายร่วมกันเสนอราคาซื้อขายตราสารหนี้ผ้านหน้า Bond Mart อีกด้วย
นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานคณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในปี 2555 นี้เราประเมินว่าาการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ของไทยจะเคลื่อนไหวมากขึ้นโดยภาคเอกชนจะหันมาใช้ตลาดตราสารหนี้เป็นแหล่งระดมทุนมากขึ้น โดยมาจาก 4 ปัจจัยหลักได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ภาคเอกชนต้องการเงินมาลงทุน การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และต้นทุนการกู้เงินผ่านธนาคารที่จะเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า จากแผนการออกพันธบัตรประจำปีงบประมาณ 2555 คาดว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ จะมีพันธบัตรรัฐบาลออกประมูลใหม่อีกจำนวน 508,000 ล้านบาท ตามเเผนเดิม ส่วนการคาดการณ์เกี่ยวกับแผนการกู้เงินตามพระราชกำหนดเงินกู้ทั้ง 3 ฉบับที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปแล้วนั้น คาดว่าจะออกมาในรูปของการกู้ยืมผ่านพันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) หรือผ่านการกู้ยืมโดยตรง (ตั๋ว P/N) มากกว่าที่จะออกมาเป็นพันธบัตรประเภท LB ซึ่งมีโอกาสออกเป็น LB ค่อนข้างน้อยมาก
ในส่วนของตราสารหนี้ภาคเอกชนคาดว่าภาคเอกชนจะมีการออกหุ้นกู้มากขึ้นกว่าปี 2554 โดยปีที่ผ่านมามีหุ้นกู้ออกใหม่รวม 212,000 ล้านบาทและคาดว่าในปี 2555 จะมีหุ้นกู้ออกใหม่ประมาณ 250,000-300,000 ล้านบาทโดยสาเหตุของการออกหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากผลกระทบน้ำท่วมทำให้บริษัทในกลุ่ม Property,Constuction,Electronic Component ต้องการระดมทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันมีเอกชนหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้แผนการลงทุนต้องล่าช้าออกไปจากปี 2554 จึงต้องไปทำการออกหุ้นกู้ในปี 2555 แทน และที่สำคัญการที่ดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จะมีผลทำให้ต้นทุนของการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ (ดอกเบี้ยจ่าย) ลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นการจูงใจให้ภาคเอกชนหันมาออกหุ้นกู้ในช่วงปี 2555 มากขึ้น
อย่างไรก็ตามในส่วนของแนวโน้มของตลาดรองในปีนี้นั้นเราประเมินว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวและเงินเฟ้อที่เริ่มลดความร้อนแรงลง ซึ่งการเคลื่อนไหวของเส้น Yield Curve มีแนวโน้มลดลงตามการลดลงของดอกเบี้ยในประเทศ และตามแรงซื้อจากเม็ดเงินต่าวชาติ ทั้งนี้มูลค่าการซื้อขายโดยรวมจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
"การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติจะเพิ่มขึ้นตามทิศทางของเศรษฐกิจในฝั่งยุโรปและอเมริกาที่ยังอ่อนแอ ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งนักลงทุนเริ่มมองหาช่องทางเลือกใหม่ๆมากขึ้นแทนที่จะลงทุนในหุ้นสามัญที่ค่อนข้างผันผวนเป็นอย่างมาก โดยช่วงอายุของตราสารหนี้ที่นิยมลงทุนคือ อายุประมาณ 1 เดือน-7 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงอายุที่ค่อนข้างปลอดภัยหากอัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลง"นายนิวัฒน์ กล่าว
**ต่างชาติซื้อสุทธิกว่า7แสนล้าน**
นายนิวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับปีที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ในตลาดแรกนั้นประมาณการออกตราสารหนี้ใหม่มีปริมาณลดลงมีเพียงการออกตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย และในส่วนของบริษัทเอกชน และการออกหุ้นกู้ต่างประเทศเท่านั้นที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตราสารระยะสั้นเหล่านี้มีผลทำให้มูลค่าการออกตราสารหนี้โดยรวมของปี 2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10%
ทั้งนี้การออกตราสารหนี้เอกชนระยะยาวในปีที่ผ่านมามีปริมาณการออกที่ลดลงจากปี 2553 ประมาณ 18% ซึ่งสาเหตุมาจากทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในประเทศปี 2554 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับสถานการณ์อุทกภัยช่วงปลายปีมีผลทำให้ภาคเอกชนหลายรายเลื่อนแผนการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ออกไปก่อน โดยกลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าหุ้นกู้ออกใหม่สูงสุดในปี 2554 ได้แก่กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาได้แก่กลุ่มพลังงาน ในขณะที่ตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนมีมูลค่าการออกเพิ่มค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนมีการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ระยะสั้นค่อนข้างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่ากว่า 944,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% จากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มของธนาคารพาณิชย์ที่มีสัดส่วนของการออกตราสารหนี้ระยะสั้นสูงถึง 60% ของตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนทั้งหมดที่ออกปี 2554 เนื่องจากสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งจึงออกตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อขายให้กับลูกค้าของตัวเองเพื่อรักษาฐานลูกค้าเงินฝากของธนาคารเอาไว้ในช่วงที่มีการแข่งขัน และแย่งฐานลูกค้าเงินฝากอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน นอกจากนี้แล้วยังพบว่าบริษัทเอกชนหลายแห่งได้หันมาระดมทุนด้วยการออกตราสารหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกู้เงินผ่านธนาคารมีต้นทุนที่สูงกว่า
นอกจากนี้ ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นที่สนใจจากนักลงทุนต่างชาติโดยในปีที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศมีสถานะซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิตลอดทั้งปีกว่า 709,000 ล้านบาท แต่หากพิจารณาเฉพาะการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศในตราสารหนี้อายุมากกว่า 1 ปีพบว่านักลงทุนต่างประเทศมีสถานะซื้อสุทธิกว่า 167,000 ล้านบาทาส่งผลให้การถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างประเทศสิ้นปี 2554 อยู่ที่ประมาณ 420,700 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 50% จากสิ้นปี 2553
นายนิวัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยในปีนี้นั้นทาง ThaiBMA ได้ร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานก.ล.ต. จัดทำร่างแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ภายใต้แนวทางพัฒนารวมกันที่เป็นประโยชน์กับตลาดโดยรวมซึ่งแนวทางในการพัฒนาจะเน้นให้ความสำคัญในการเพิ่มช่องทางการลงทุนและสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ สนับสนุนให้ภาคเอกชนระดมทุนผ่านหุ้นกู้เพิ่มขึ้น และส่งเสริมความรู้ด้านการลงทุนในตราสารหนี้แก่นักลงทุนรายย่อยควบคู่ไปกับการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูล การซื้อขายของนักลงทุนรายย่อย
ขณะเดียวกันแนวทางการส่งเสริมการลงทุนตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อยนั้น ThaiBMA จะพัฒนาหน้าแสดงข้อมูลราคาซื้อขายตราสารหนี้สำหรับนักลงทุนรายย่อย Bond Mart เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนรายย่อยที่สนใจซื้อขายตราสารหนี้สามารถตรวจสอบราคา และติดต่อทำการซื้อขายตราสารหนี้กับผู้ค้าตราสารหนี้หรือ Dealer ที่เสนอราคาซื้อหรือขายเข้ามาในหน้า Bond Mart โดยปัจจุบันเราได้รับความร่วมมือจากสถาบันทางการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์กว่า 12 รายร่วมกันเสนอราคาซื้อขายตราสารหนี้ผ้านหน้า Bond Mart อีกด้วย