ASTVผู้จัดการรายวัน - บลจ. ซีไอเอ็มบี - พรินซิเพิล เผยปรับเปลี่ยนโครงสร้างกลยุทธการขาย- การลงทุน เพื่อเพิ่มฐานนักลงทุน เล็งปรับฐานการขายเพิ่มอีก 15% ขณะเดียวกันเตรียมรุกกองทุนสำรองฯ หลัง บลจ.บุกหนัก
นายเจิดพันธุ์ นิธยายน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของการทำงานใหม่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้แยกฝ่ายการตลาดเพื่อดูแลลูกค้าสถาบันและตัวแทนขายอย่างชัดเจน เพื่อที่จะได้ทำงานในด้านการตลาดเชิงรุกเพื่อเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ขณะเดียวกันฝ่ายการลงทุนก็ได้แยกออกมาดูแลเพียงอย่างเดีย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาทางการขายของบริษัทส่วนใหญ่ประมาณ 95% จะมาจากสาขาของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยเป็นหลัก ส่วนช่องทางการขายอื่นมีสัดส่วนเพียง 5% เท่านั้น แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างที่ชัดเจนขึ้นก็คาดว่าในปีนี้ สัดส่วนการขายผ่านช่องทางอื่นน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 15% ได้ โดยในแง่ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทเองถือว่ามีค่อนข้างครบถ้วนเพียงแต่ที่ผ่านมาไม่ได้ทำการตลาดให้นักลงทุนรับรู้เท่านั้น หลังจากนี้ไปบริษัทคงจะโฟกัสในเรื่องของการตลาดที่สม่ำเสมอมากขึ้นเพื่อให้บริษัทอยู่ในกระแสการรับรู้ของประชาชนในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง
"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทจะมี 2 รูปแบบ คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เหมือนๆ กันกับบลจ.อื่น เช่น กองทุนตราสารหนี้แบบมีอายุ ตลอดจนกองทุนพื้นฐานอื่นๆ ในจุดนี้ก็คงจะอาศัยบริการที่ดีและความสะดวกสบายในการเข้าถึงเครือข่ายสาขามาเพื่อใช้ในการแข่งขัน และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนวัตกรรมแปลกใหม่ฉีกแนวไปจากตลาด ซึ่งบริษัทมีผลิตภัณฑ์ดีๆ ของบริษัทแม่ในต่างประเทศอยู่มากมายที่จะคัดสรรมานำเสนอกับนักลงทุนไทยได้ เหล่านี้น่าจะทำให้กองทุนของบริษัทได้รับการตอบรับจากนักลงทุนในวงกว้างได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้จะมีการนำนวัตกรรมในการจัดหน่วยลงทุนให้มีหลายประเภท เพื่อให้กองทุนเดียว สามารถตอบโจทย์นักลงทุนในวงกว้างได้ดียิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นลูกค้าบุคคลหรือลูกค้าสถาบัน ซึ่งอาจจะมีความต้องการในการลงทุนที่แตกต่างกันไปก็สามารถที่จะมาลงทุนด้วยกันได้ภายในกองทุนเดียว" นายเจิดพันธุ์ กล่าว
นายเจิดพันธุ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผลตอบแทนของกองทุนบริษัทคงไม่ได้มุ่งเน้นว่าจะต้องเป็นที่หนี่งแต่จะเน้นการสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาวให้กับนักลงทุนมากกว่า ดังนั้นทีมการลงทุนเองก็คงจะมีการสร้างผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมของบริษัทให้ขยับขึ้นมาติดในกลุ่มควอไทล์ที่หนึ่งหรือต้นควอไทล์ที่สอง เกาะกลุ่มในระยะยาวในจุดนี้เอาไว้ให้ได้
นายเจิดพันธุ์ นิธยายน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของการทำงานใหม่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้แยกฝ่ายการตลาดเพื่อดูแลลูกค้าสถาบันและตัวแทนขายอย่างชัดเจน เพื่อที่จะได้ทำงานในด้านการตลาดเชิงรุกเพื่อเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ขณะเดียวกันฝ่ายการลงทุนก็ได้แยกออกมาดูแลเพียงอย่างเดีย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาทางการขายของบริษัทส่วนใหญ่ประมาณ 95% จะมาจากสาขาของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยเป็นหลัก ส่วนช่องทางการขายอื่นมีสัดส่วนเพียง 5% เท่านั้น แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างที่ชัดเจนขึ้นก็คาดว่าในปีนี้ สัดส่วนการขายผ่านช่องทางอื่นน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 15% ได้ โดยในแง่ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทเองถือว่ามีค่อนข้างครบถ้วนเพียงแต่ที่ผ่านมาไม่ได้ทำการตลาดให้นักลงทุนรับรู้เท่านั้น หลังจากนี้ไปบริษัทคงจะโฟกัสในเรื่องของการตลาดที่สม่ำเสมอมากขึ้นเพื่อให้บริษัทอยู่ในกระแสการรับรู้ของประชาชนในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง
"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทจะมี 2 รูปแบบ คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เหมือนๆ กันกับบลจ.อื่น เช่น กองทุนตราสารหนี้แบบมีอายุ ตลอดจนกองทุนพื้นฐานอื่นๆ ในจุดนี้ก็คงจะอาศัยบริการที่ดีและความสะดวกสบายในการเข้าถึงเครือข่ายสาขามาเพื่อใช้ในการแข่งขัน และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนวัตกรรมแปลกใหม่ฉีกแนวไปจากตลาด ซึ่งบริษัทมีผลิตภัณฑ์ดีๆ ของบริษัทแม่ในต่างประเทศอยู่มากมายที่จะคัดสรรมานำเสนอกับนักลงทุนไทยได้ เหล่านี้น่าจะทำให้กองทุนของบริษัทได้รับการตอบรับจากนักลงทุนในวงกว้างได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้จะมีการนำนวัตกรรมในการจัดหน่วยลงทุนให้มีหลายประเภท เพื่อให้กองทุนเดียว สามารถตอบโจทย์นักลงทุนในวงกว้างได้ดียิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นลูกค้าบุคคลหรือลูกค้าสถาบัน ซึ่งอาจจะมีความต้องการในการลงทุนที่แตกต่างกันไปก็สามารถที่จะมาลงทุนด้วยกันได้ภายในกองทุนเดียว" นายเจิดพันธุ์ กล่าว
นายเจิดพันธุ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผลตอบแทนของกองทุนบริษัทคงไม่ได้มุ่งเน้นว่าจะต้องเป็นที่หนี่งแต่จะเน้นการสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาวให้กับนักลงทุนมากกว่า ดังนั้นทีมการลงทุนเองก็คงจะมีการสร้างผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมของบริษัทให้ขยับขึ้นมาติดในกลุ่มควอไทล์ที่หนึ่งหรือต้นควอไทล์ที่สอง เกาะกลุ่มในระยะยาวในจุดนี้เอาไว้ให้ได้