กองทุนมองดอกเบี้ยขาลง หลังธนาคารกลางหลายประเทศ ส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจ "ธนชาต" ขายกองทุนสั้น 6 เดือน ให้ผลตอบแทน 3.4% ต่อปี ด้าน "ยูโอบี" ส่ง 2 กองทุนร่วมแจม
นายวิศิษฐ์ ชื่นรัตนกุล ผู้จัดการกองทุนอาวุโส กองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ขยายตัวที่ประมาณ 4.5% แต่ภาวะเศรษฐกิจในครึ่งแรก ปี 2555 ยังคงอ่อนแออยู่ เนื่องจากผลกระทบจากภาวะอุทกภัยในปีที่ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่ยังไม่มีทิศทางเป็นบวก ขณะที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ในยุโรปยังมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินและเพิ่มทุนอีกจำนวนเกือบ 2 ล้านล้านยุโรปในปีนี้ ท่ามกลางแนวโน้มการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง ทั้งนี้ ปัจจัยความเสี่ยงอีกประการ คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าบรรยากาศการลงทุนในต่างประเทศน่าจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปี เมื่อการแก้ปัญหาในยุโรปเริ่มมีความคืบหน้า ทั้งในส่วนของนโยบายรัฐบาลและการสนับสนุนจากธนาคารกลางยุโรป และวงจรการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกใกล้จบลง
"การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสำคัญของโลกจึงยังไม่เพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่ธนาคารกลางหลายประเทศจะผ่อนคลายนโยบายการเงินและเพิ่มสภาพคล่องเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ"นายวิศิษฐ์ กล่าว
สำหรับประเทศไทยอัตรา เงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงในเดือน ธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.53 และเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2555 ที่คาดว่ายังไม่ฟื้นตัวมากนัก ภาคการผลิตยังไม่สามารถผลิตได้เต็มที่จากความเสียหาย โดยเฉพาะ อิเลคทรอนิคส์ รถยนต์ เป็นต้น ทำให้คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก 0.25% มาอยู่ที่ 3.0%
นายวิศิษฐ์กล่าวว่า บลจ.ธนชาต เห็นโอกาสที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวลดลง จึงเสนอขายกองทุนเปิดธนชาต Fixed Income 6 (TFixedIncome6) ระยะเวลาลงทุนประมาณ 6 เดือน ผลตอบแทนประมาณ 3.4% ต่อปี ตั้งเป้าลงทุนในเงินฝากสกุลเงิน Arab Emirates Dirham ธนาคาร Union National Bank / ธนาคาร First Gulf Bank ประมาณ 20.90% ลงทุนในเงินฝากสกุลเงิน USD ธนาคาร Bank of China ประมาณ 24% ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น สกุลเงิน USD ธนาคาร ICBC (Asia) / ธนาคาร Shinhan Bank ประมาณ 24% ลงทุนในตั๋วแลกเงินภาคเอกชน ประมาณ 31% และลงทุนในเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ประมาณ 0.10% ผลตอบแทนรวมของตราสารประมาณ 3.5462% ต่อปี โดยมีประมาณการค่าใช้จ่ายกองทุนประมาณ 0.1462% ต่อปี เสนอขายครั้งเดียววันที่ 12-16 มกราคม 2555
ด้านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด เปิดขายกองทุนตราสารหนี้ 2 กองทุน ได้แแก่ กองทุนเปิด ยูโอบี เอสที 3 เอ็ม 1 (UOBST 3M1)ลงทุนในตราสารภาครัฐบาล ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง, พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย, ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือหุ้นกู้ภาคเอกชน ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment Grade ขึ้นไป ส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในเงินฝาก ลงทุนระยะสั้น เพียง 3 เดือนมูลค่าขั้นต่ำในการสั่งซื้อ 10,000 บาท ประมาณการผลตอบแทนอยู่ที่ 2.95%
ขณะที่กองทุนเปิด ยูโอบี เอฟไอ พลัส พลัส 6/29 (UOB FI Plus Plus 6/29 Fund : UOBFIPP 6/29)มูลค่ากองทุน 2,000 ล้านบาท ( Green Shoe 15% )กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน อันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) ตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ และตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนทั่วไป ลงทุนระยะสั้น เพียง 6 เดือน มูลค่าขั้นต่ำในการสั่งซื้อ 10,000 บาท ประมาณการผลตอบแทนอยู่ที่ 3.30% ทั้ง 2 กองทุน เปิดขายตั้งแต่วันที่ 10 - 16 มกราคม 2555
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของราคาอาหารสดหลังภาวะน้ำท่วมกลับสู่ภาวะปกติ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ร้อยละ 0.5-3.0 ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้งหนึ่งในการประชุมวันที่ 25 มกราคม 2555 นี้
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับลดลงร้อยละ 0.02-0.03 อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 2-10 ปี ปรับลดลงร้อยละ 0.02 - 0.07 และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุมากกว่า 10 ปี ปรับลดลงร้อยละ 0.02-0.05 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-10 ปี ปรับลดลงจากร้อยละ 0.24 เป็น 0.21
บลจ.ยูโอบี มองว่า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงจากแรงซื้อของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสะสมพอร์ตการลงทุนในช่วงต้นปี นอกจากนี้ตลาดยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาต่ำกว่าคาด แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงปรับตัวลดลงจากแรงซื้อของนักลงทุนอยู่ กอปรกับสัปดาห์นี้มีวงเงินประมูลพันธบัตรรัฐบาลไม่มากนัก และน่าจะมีความต้องการจากนักลงทุนค่อนข้างมาก
นายวิศิษฐ์ ชื่นรัตนกุล ผู้จัดการกองทุนอาวุโส กองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ขยายตัวที่ประมาณ 4.5% แต่ภาวะเศรษฐกิจในครึ่งแรก ปี 2555 ยังคงอ่อนแออยู่ เนื่องจากผลกระทบจากภาวะอุทกภัยในปีที่ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่ยังไม่มีทิศทางเป็นบวก ขณะที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ในยุโรปยังมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินและเพิ่มทุนอีกจำนวนเกือบ 2 ล้านล้านยุโรปในปีนี้ ท่ามกลางแนวโน้มการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง ทั้งนี้ ปัจจัยความเสี่ยงอีกประการ คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าบรรยากาศการลงทุนในต่างประเทศน่าจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปี เมื่อการแก้ปัญหาในยุโรปเริ่มมีความคืบหน้า ทั้งในส่วนของนโยบายรัฐบาลและการสนับสนุนจากธนาคารกลางยุโรป และวงจรการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกใกล้จบลง
"การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสำคัญของโลกจึงยังไม่เพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่ธนาคารกลางหลายประเทศจะผ่อนคลายนโยบายการเงินและเพิ่มสภาพคล่องเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ"นายวิศิษฐ์ กล่าว
สำหรับประเทศไทยอัตรา เงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงในเดือน ธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.53 และเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2555 ที่คาดว่ายังไม่ฟื้นตัวมากนัก ภาคการผลิตยังไม่สามารถผลิตได้เต็มที่จากความเสียหาย โดยเฉพาะ อิเลคทรอนิคส์ รถยนต์ เป็นต้น ทำให้คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก 0.25% มาอยู่ที่ 3.0%
นายวิศิษฐ์กล่าวว่า บลจ.ธนชาต เห็นโอกาสที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวลดลง จึงเสนอขายกองทุนเปิดธนชาต Fixed Income 6 (TFixedIncome6) ระยะเวลาลงทุนประมาณ 6 เดือน ผลตอบแทนประมาณ 3.4% ต่อปี ตั้งเป้าลงทุนในเงินฝากสกุลเงิน Arab Emirates Dirham ธนาคาร Union National Bank / ธนาคาร First Gulf Bank ประมาณ 20.90% ลงทุนในเงินฝากสกุลเงิน USD ธนาคาร Bank of China ประมาณ 24% ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น สกุลเงิน USD ธนาคาร ICBC (Asia) / ธนาคาร Shinhan Bank ประมาณ 24% ลงทุนในตั๋วแลกเงินภาคเอกชน ประมาณ 31% และลงทุนในเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ประมาณ 0.10% ผลตอบแทนรวมของตราสารประมาณ 3.5462% ต่อปี โดยมีประมาณการค่าใช้จ่ายกองทุนประมาณ 0.1462% ต่อปี เสนอขายครั้งเดียววันที่ 12-16 มกราคม 2555
ด้านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด เปิดขายกองทุนตราสารหนี้ 2 กองทุน ได้แแก่ กองทุนเปิด ยูโอบี เอสที 3 เอ็ม 1 (UOBST 3M1)ลงทุนในตราสารภาครัฐบาล ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง, พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย, ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือหุ้นกู้ภาคเอกชน ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment Grade ขึ้นไป ส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในเงินฝาก ลงทุนระยะสั้น เพียง 3 เดือนมูลค่าขั้นต่ำในการสั่งซื้อ 10,000 บาท ประมาณการผลตอบแทนอยู่ที่ 2.95%
ขณะที่กองทุนเปิด ยูโอบี เอฟไอ พลัส พลัส 6/29 (UOB FI Plus Plus 6/29 Fund : UOBFIPP 6/29)มูลค่ากองทุน 2,000 ล้านบาท ( Green Shoe 15% )กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน อันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) ตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ และตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนทั่วไป ลงทุนระยะสั้น เพียง 6 เดือน มูลค่าขั้นต่ำในการสั่งซื้อ 10,000 บาท ประมาณการผลตอบแทนอยู่ที่ 3.30% ทั้ง 2 กองทุน เปิดขายตั้งแต่วันที่ 10 - 16 มกราคม 2555
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของราคาอาหารสดหลังภาวะน้ำท่วมกลับสู่ภาวะปกติ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ร้อยละ 0.5-3.0 ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้งหนึ่งในการประชุมวันที่ 25 มกราคม 2555 นี้
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับลดลงร้อยละ 0.02-0.03 อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 2-10 ปี ปรับลดลงร้อยละ 0.02 - 0.07 และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุมากกว่า 10 ปี ปรับลดลงร้อยละ 0.02-0.05 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-10 ปี ปรับลดลงจากร้อยละ 0.24 เป็น 0.21
บลจ.ยูโอบี มองว่า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงจากแรงซื้อของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสะสมพอร์ตการลงทุนในช่วงต้นปี นอกจากนี้ตลาดยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาต่ำกว่าคาด แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงปรับตัวลดลงจากแรงซื้อของนักลงทุนอยู่ กอปรกับสัปดาห์นี้มีวงเงินประมูลพันธบัตรรัฐบาลไม่มากนัก และน่าจะมีความต้องการจากนักลงทุนค่อนข้างมาก