ASTVผู้จัดการรายวัน - บลจ. ไทยพาณิชย์ กองบอนด์ 4 กองทุน อายุ 1 เดือน 3 ดือน 6 เดือน และ 1 ปี ลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทยผสมเงินฝากด้าน บลจ. บัวหลวง ออกกองทุนบอนด์ “บัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 41/11” อายุ 6 เดือน ชูผลตอบแทน 3% เริ่มไอพีโอแล้ว ถึง 27 ธ.ค. นี้
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยาการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเสนอกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นพร้อมกัน 4 กองทุน อายุ 1 เดือน 3 ดือน 6 เดือน และ 1 ปี โดยมีนโยบายการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ผสมเงินฝาก และตราสารหนี้ในต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับวามน่าเชื่อถือโดย Fitch Rating และ Moody’s มูลค่ารวม 26,500 ล้านบาท คาดให้ผลตอบแทน 2.90-3.70% ต่อปี พร้อมปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) เรียบร้อยแล้ว โดยจะเปิดขายไปถึงวันที่ 26 ธัวาคม 2554 ด้วยมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท
ทั้งนี้ รายละเอีดของกองทุนที่ออกปรกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรับาล 1M4 (SCB Government Bond 1M4 Open End Fund) อายุ 1 เดือน คาดผลตอบแทนประมาณ 2.90% ต่อปี มีโยบายการลงทุนในตั๋วเงินคลังสัดส่วน 99% ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารไทยพาณิชย์
โดยกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ 3M30 (SCB Fixed Income Fund 3M30) อายุ 3 เดือน คาดผลตอบแทนประมาณ 3.20% ต่อปี มีนโยบายการลงทุนในพันบัตรรัฐบาลไทยสัดส่วน 55.50% เงินฝากธนาคารออมสินสัดส่วน 24.50% มีอันดับความน่าเชื่อถือ F1 และเงินฝากธนาคาร First Gulf (UAE) สัดส่วน 20% อันดับความน่าเชื่อถือ F1 ขณะที่กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ 6M47 (SCB Fixed Income Fund 6M47 ) อายุ 6 เดือน คาดผลตอบแทนประมาณ 3.50% ต่อปี มีนโยบายลงทุนในพันธัตรรัฐบาลไทยสัดส่ว 31% เงินฝากธนาคารออมินสัดส่วน20% Euro Medium Term Note (EMTN) ธนาคาร Shinhan สัดส่วน 24.50% มีอันดับความน่าเชื่อถือ F1และเงินฝากธนาคาร First Gulf (UAE) สัดส่วน 24.50% อันดับความน่าเชื่อถือ F1
นอกจากนี้ยังมี กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ต่างประเทศ 1Y17 (SCB Foreign Fixed Income Fund1Y17 ) อายุ 1 ปี คาดผลตอบแทนประมาณ 3.70% ต่อปี มีนโยบายลงทุนใน Euro Medium Term Note (EMTN) ที่ออกโดย 2 ธนาคาร ที่ได้รับการจัดอันดับโดย Fitch Rating คือ ธนาคาร Shinhan สัดส่วน 24.25% อันดับความน่าเชื่อถือ F1 ธนาคาร Woori สัดส่วน 24.25% อันดับความน่าเชื่อถือ F2 รวมถึงเงินฝากธนาคารต่างประเทศ 3 แห่ง คือ ธนาคาร First Gulf (UAE) สัดส่วน 24.50% อันดับความน่าเชื่อถือ F1 เงินฝากธนาคารBank of China (BOC) อันดับความน่าเชื่อถือ F1 เงินฝากธนาคาร Winglung สัดส่วน 4% อันดับความน่าเชื่อถือ P-1(Moody’s) ส่วนที่เหลือลงทุนในพนธบัตรรัฐบาลไทยสัดส่วน 7%
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังเปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 41/11 หรือ BUALUANG FIXED INCOME - TERM FUND 41/11 (B-FIXTERM41/11) ซึ่งมีอายุประมาณ 6 เดือน ให้ผล ตอบแทนประมาณการที่ 3% ต่อปี โดยเริ่มไอพีโอแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 27 ธันวาคม 2554
ทั้งนี้กองทุน B-FIXTERM41/11 จะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐประมาณ 31% เงินฝาก และตราสารสารสถาบันการเงินในประเทศอีก 20% เงินฝาก และตราสารหนี้สารหนี้ที่เป็นการลงทุนในต่างประเทศ 24% ตราสารหนี้ภาคเอกชน 24% และเงินฝากอีก 1%
โดยกองทุนดังกล่าวเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศและตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเลือกการลงทุนในตราสารหนี้ของกิจการที่มีความมั่นคงและมีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ตามเงินลงทุนที่จะนำมาลงทุนกองทันนี้ควรเป็นเงินส่วนที่สามารถได้ตามอายุกองทุน
สำหรับกองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 41/11 จะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ และต่างประเทศ โดยส่วนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศ กองทุนจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลัง กองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก ผู้รับรอง เป็นต้น
ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศ ตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน รวมถึงภาคเอกชน ที่เสนอขายในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการจัดอันดับ ณ วันที่ลงทุน ในระดับ INVESTMENT GRADE
นอกจากนี้แล้วกองทุนจะวัดผลการดำเนินงานโดยเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรทีทมีอายุคงที่ ZERO RATE RETURN หรือ ZRR อายุ 6 เดือน ณ วันที่ลงทุน ในสัดส่วน30% รวมถึงผลตอบแทนของพันธบัตรที่มีอายุคงที่ ZRR อายุ 6 เดือน ณ วันที่ลงทุน บวกด้วยส่วนต่างของตราสารหนี้ภาคเอกชนเทียบ กับพันธบัตรอันดับเครดิต BBB ในสัดส่วนประมาณ 45% และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารสำหรับระยะเวลา 1 ปี สกุลเงินสหรัฐฯ ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน บวกด้วยค่าเฉลี่ยของ CREDIT SPREAD ของตราสารที่มีการจัดอันดับเครดิตในระดับ A อายุ 1 ปี ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณผลตอบแทน ณ วันที่ลงทุน ในสัดส่วนประมาณ 25%
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยาการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเสนอกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นพร้อมกัน 4 กองทุน อายุ 1 เดือน 3 ดือน 6 เดือน และ 1 ปี โดยมีนโยบายการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ผสมเงินฝาก และตราสารหนี้ในต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับวามน่าเชื่อถือโดย Fitch Rating และ Moody’s มูลค่ารวม 26,500 ล้านบาท คาดให้ผลตอบแทน 2.90-3.70% ต่อปี พร้อมปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) เรียบร้อยแล้ว โดยจะเปิดขายไปถึงวันที่ 26 ธัวาคม 2554 ด้วยมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท
ทั้งนี้ รายละเอีดของกองทุนที่ออกปรกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรับาล 1M4 (SCB Government Bond 1M4 Open End Fund) อายุ 1 เดือน คาดผลตอบแทนประมาณ 2.90% ต่อปี มีโยบายการลงทุนในตั๋วเงินคลังสัดส่วน 99% ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารไทยพาณิชย์
โดยกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ 3M30 (SCB Fixed Income Fund 3M30) อายุ 3 เดือน คาดผลตอบแทนประมาณ 3.20% ต่อปี มีนโยบายการลงทุนในพันบัตรรัฐบาลไทยสัดส่วน 55.50% เงินฝากธนาคารออมสินสัดส่วน 24.50% มีอันดับความน่าเชื่อถือ F1 และเงินฝากธนาคาร First Gulf (UAE) สัดส่วน 20% อันดับความน่าเชื่อถือ F1 ขณะที่กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ 6M47 (SCB Fixed Income Fund 6M47 ) อายุ 6 เดือน คาดผลตอบแทนประมาณ 3.50% ต่อปี มีนโยบายลงทุนในพันธัตรรัฐบาลไทยสัดส่ว 31% เงินฝากธนาคารออมินสัดส่วน20% Euro Medium Term Note (EMTN) ธนาคาร Shinhan สัดส่วน 24.50% มีอันดับความน่าเชื่อถือ F1และเงินฝากธนาคาร First Gulf (UAE) สัดส่วน 24.50% อันดับความน่าเชื่อถือ F1
นอกจากนี้ยังมี กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ต่างประเทศ 1Y17 (SCB Foreign Fixed Income Fund1Y17 ) อายุ 1 ปี คาดผลตอบแทนประมาณ 3.70% ต่อปี มีนโยบายลงทุนใน Euro Medium Term Note (EMTN) ที่ออกโดย 2 ธนาคาร ที่ได้รับการจัดอันดับโดย Fitch Rating คือ ธนาคาร Shinhan สัดส่วน 24.25% อันดับความน่าเชื่อถือ F1 ธนาคาร Woori สัดส่วน 24.25% อันดับความน่าเชื่อถือ F2 รวมถึงเงินฝากธนาคารต่างประเทศ 3 แห่ง คือ ธนาคาร First Gulf (UAE) สัดส่วน 24.50% อันดับความน่าเชื่อถือ F1 เงินฝากธนาคารBank of China (BOC) อันดับความน่าเชื่อถือ F1 เงินฝากธนาคาร Winglung สัดส่วน 4% อันดับความน่าเชื่อถือ P-1(Moody’s) ส่วนที่เหลือลงทุนในพนธบัตรรัฐบาลไทยสัดส่วน 7%
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังเปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 41/11 หรือ BUALUANG FIXED INCOME - TERM FUND 41/11 (B-FIXTERM41/11) ซึ่งมีอายุประมาณ 6 เดือน ให้ผล ตอบแทนประมาณการที่ 3% ต่อปี โดยเริ่มไอพีโอแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 27 ธันวาคม 2554
ทั้งนี้กองทุน B-FIXTERM41/11 จะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐประมาณ 31% เงินฝาก และตราสารสารสถาบันการเงินในประเทศอีก 20% เงินฝาก และตราสารหนี้สารหนี้ที่เป็นการลงทุนในต่างประเทศ 24% ตราสารหนี้ภาคเอกชน 24% และเงินฝากอีก 1%
โดยกองทุนดังกล่าวเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศและตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเลือกการลงทุนในตราสารหนี้ของกิจการที่มีความมั่นคงและมีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ตามเงินลงทุนที่จะนำมาลงทุนกองทันนี้ควรเป็นเงินส่วนที่สามารถได้ตามอายุกองทุน
สำหรับกองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 41/11 จะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ และต่างประเทศ โดยส่วนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศ กองทุนจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลัง กองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก ผู้รับรอง เป็นต้น
ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศ ตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน รวมถึงภาคเอกชน ที่เสนอขายในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการจัดอันดับ ณ วันที่ลงทุน ในระดับ INVESTMENT GRADE
นอกจากนี้แล้วกองทุนจะวัดผลการดำเนินงานโดยเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรทีทมีอายุคงที่ ZERO RATE RETURN หรือ ZRR อายุ 6 เดือน ณ วันที่ลงทุน ในสัดส่วน30% รวมถึงผลตอบแทนของพันธบัตรที่มีอายุคงที่ ZRR อายุ 6 เดือน ณ วันที่ลงทุน บวกด้วยส่วนต่างของตราสารหนี้ภาคเอกชนเทียบ กับพันธบัตรอันดับเครดิต BBB ในสัดส่วนประมาณ 45% และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารสำหรับระยะเวลา 1 ปี สกุลเงินสหรัฐฯ ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน บวกด้วยค่าเฉลี่ยของ CREDIT SPREAD ของตราสารที่มีการจัดอันดับเครดิตในระดับ A อายุ 1 ปี ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณผลตอบแทน ณ วันที่ลงทุน ในสัดส่วนประมาณ 25%