วรวิทย์ วิริยะฉัตร, ฝ่ายตราสารทุน
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด
www.manulife-asset.co.th โทร 02-354-4000
ในปัจจุบันการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ได้รับความนิยมจากนักลงทุนเป็นอย่างสูง โดยเห็นได้จากการที่ บลจ. ต่างๆ มีการออกผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่องทั้ง กองทุนน้ำมัน (Oil Fund) กองทุนทองคำ (Gold Fund) เพื่อนำเสนอให้แก่นักลงทุนที่สนใจ หรือแม้แต่ บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ (ประเทศไทย) (TFEX) ก็ได้นำเสนอนวัตกรรมออกมาอย่างต่อเนื่องดังนี้ 2 กุมภาพันธ์ 2552 (เปิดซื้อขาย 50 Baht Gold Futures), 2 สิงหาคม 2553 (เปิดซื้อขาย 10 Baht Gold Futures), 20 มิถุนายน 2554 (เปิดซื้อขาย Silver Futures) แล้วน้องใหม่รายล่าสุดของเราก็คือ Oil Futures โดยเริ่มเปิดซื้อขายวันที่ 17 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมานั่นเอง
วันนี้เราลองมาทำความรู้จักน้ำมัน (ทองคำสีดำ) กันซักหน่อยก่อนเริ่มทำการลงทุนกันดีกว่า ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าในชีวิตเรามีความเกี่ยวข้องกับน้ำมันค่อนข้างมาก โดยเราบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประเภทต่างๆ เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา และ ก๊าซหุงต้ม (LPG) อันได้มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศตะวันออกกลาง (นี่แหละเป็นสาเหตุที่เราใช้ราคาน้ำมันดิบดูไบเป็นราคาอ้างอิง) โดยในช่วงปี 2544 - 2553 ประเทศไทย นำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 700,000 - 800,000 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 250 - 290 ล้านบาร์เรลในแต่ละปี (มิน่าล่ะเราปลูกข้าวขายเท่าไรก็ไม่เห็นจะรวยซะทีเอาเงินไปซื้อน้ำมันหมดนี่เอง) ไม่เพียงเท่านั้นน้ำมันยังเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ (Polyester) ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ราคาน้ำมันดิบจึงเป็นทั้งต้นทุนโดยตรงที่คนไทยต้องจ่ายซื้อน้ำมัน และเป็นต้นทุนแฝงอยู่ในราคาสินค้าและบริการ โดยต้นทุนนี้จะผันแปรไปตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ท่านผู้อ่านที่เริ่มสนใจจะลงทุนในน้ำมันแล้ว เราลองมาดูซิว่ากองทุนในประเทศไทยเค้าทำยังไงกับกองทุนน้ำมัน (Oil Fund) กัน โดย บลจ. ต่างๆ ที่มีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ ประเภท Feeder Fund โดยลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Powershares DB Oil Fund ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สของน้ำมันดิบ (Light Sweet Crude Oil - WTI) เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี Deutsche Bank Liquid Commodity Index - Optimal Yield Oil Excess Return จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เราลองมาทำความเข้าใจกันดูซิว่าการลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนอ้างอิง (Replication) ได้อย่างไร
การใช้สัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันในการสร้างผลตอบแทนนั้น กองทุนจะต้องลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันและต้องลงทุนซื้อสัญญาใหม่ (Long Position) เมื่อสัญญาที่ถืออยู่ใกล้หมดอายุ (Roll Yield) เพราะฉะนั้นถ้าหากราคาน้ำมันมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น (Contango) จะทำให้ราคาของสัญญาที่มีอายุสัญญายาวมีราคาสูงกว่าสัญญาที่มีอายุสัญญาสั้น ยกตัวอย่างเช่น ราคาสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันส่งมอบเดือนมกราคมอยู่ที่ 90.17 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันส่งมอบเดือนเมษายนอยู่ที่ 93.19 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งหากกองทุนต้องปิดสัญญาเดือนมกราคมแล้วเปิดสัญญาเดือนเมษายนจะทำให้ต้นทุนเพิ่มจาก 90.17 เป็น 93.19 ทันที (อุปมาก็เหมือนขายของถูกเพื่อไปซื้อของแพง) และเราเรียกส่วนต่างของราคาที่เกิดขึ้นนี้ว่า Negative Roll Yield ในทางกลับกันหากตลาดช่วงนั้นมีแนวโน้มเป็นขาลง (Backwardation) ราคาของสัญญาอายุยาวจะน้อยกว่าสัญญาที่อายุสั้นจะทำให้เกิด Positive Roll Yield ทั้งนี้ Negative Roll Yield ที่เกิดขึ้นในช่วงตลาดขาขึ้นจะทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้น้อยกว่าการซื้อน้ำมันส่งมอบทันที (Spot Price) และในทางตรงข้าม Positive Roll Yield จะทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าการซื้อน้ำมันส่งมอบทันที (Spot Price) ท่านนักลงทุนหลายท่านคงรู้สึกว่าทำไมกองทุนไม่ไปซื้อน้ำมันดิบโดยตรงให้มันสิ้นเรื่องสิ้นราวเลย เหตุผลก็คือน้ำมันมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) ค่อนข้างสูงมากไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำมัน (Storage Tank) ที่ต้องมีคุณสมบัติพิเศษในการเก็บรักษาน้ำมันชนิดต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ก๊าซ ของเหลว เป็นต้น นี่ยังไม่รวมถึงเรือน้ำมัน (Oil Tanker) ซึ่งเป็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันอีก มันจึงไม่ง่ายเท่าไรนักสำหรับการลงทุนในน้ำมันโดยตรง (ใช้สัญญาฟิวเจอร์สน้ำมัน น่าจะง่ายกว่า) เพราะฉะนั้นนักลงทุนจึงควรทำความเข้าใจลักษณะการลงทุนในกองทุนน้ำมันและสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันก่อนการลงทุน
เมื่อท่านนักลงทุนทั้งหลายมีความรู้พร้อมแล้วที่จะลงทุนในน้ำมัน ก็สามารถเลือกลงทุนได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมน้ำมัน ลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมัน เป็นต้น นักลงทุนควรเลือกลงทุนในวิธีที่สะดวกกับท่าน โดยพิจารณาถึงผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของท่านด้วย
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด
www.manulife-asset.co.th โทร 02-354-4000
ในปัจจุบันการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ได้รับความนิยมจากนักลงทุนเป็นอย่างสูง โดยเห็นได้จากการที่ บลจ. ต่างๆ มีการออกผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่องทั้ง กองทุนน้ำมัน (Oil Fund) กองทุนทองคำ (Gold Fund) เพื่อนำเสนอให้แก่นักลงทุนที่สนใจ หรือแม้แต่ บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ (ประเทศไทย) (TFEX) ก็ได้นำเสนอนวัตกรรมออกมาอย่างต่อเนื่องดังนี้ 2 กุมภาพันธ์ 2552 (เปิดซื้อขาย 50 Baht Gold Futures), 2 สิงหาคม 2553 (เปิดซื้อขาย 10 Baht Gold Futures), 20 มิถุนายน 2554 (เปิดซื้อขาย Silver Futures) แล้วน้องใหม่รายล่าสุดของเราก็คือ Oil Futures โดยเริ่มเปิดซื้อขายวันที่ 17 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมานั่นเอง
วันนี้เราลองมาทำความรู้จักน้ำมัน (ทองคำสีดำ) กันซักหน่อยก่อนเริ่มทำการลงทุนกันดีกว่า ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าในชีวิตเรามีความเกี่ยวข้องกับน้ำมันค่อนข้างมาก โดยเราบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประเภทต่างๆ เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา และ ก๊าซหุงต้ม (LPG) อันได้มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศตะวันออกกลาง (นี่แหละเป็นสาเหตุที่เราใช้ราคาน้ำมันดิบดูไบเป็นราคาอ้างอิง) โดยในช่วงปี 2544 - 2553 ประเทศไทย นำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 700,000 - 800,000 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 250 - 290 ล้านบาร์เรลในแต่ละปี (มิน่าล่ะเราปลูกข้าวขายเท่าไรก็ไม่เห็นจะรวยซะทีเอาเงินไปซื้อน้ำมันหมดนี่เอง) ไม่เพียงเท่านั้นน้ำมันยังเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ (Polyester) ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ราคาน้ำมันดิบจึงเป็นทั้งต้นทุนโดยตรงที่คนไทยต้องจ่ายซื้อน้ำมัน และเป็นต้นทุนแฝงอยู่ในราคาสินค้าและบริการ โดยต้นทุนนี้จะผันแปรไปตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ท่านผู้อ่านที่เริ่มสนใจจะลงทุนในน้ำมันแล้ว เราลองมาดูซิว่ากองทุนในประเทศไทยเค้าทำยังไงกับกองทุนน้ำมัน (Oil Fund) กัน โดย บลจ. ต่างๆ ที่มีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ ประเภท Feeder Fund โดยลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Powershares DB Oil Fund ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สของน้ำมันดิบ (Light Sweet Crude Oil - WTI) เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี Deutsche Bank Liquid Commodity Index - Optimal Yield Oil Excess Return จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เราลองมาทำความเข้าใจกันดูซิว่าการลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนอ้างอิง (Replication) ได้อย่างไร
การใช้สัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันในการสร้างผลตอบแทนนั้น กองทุนจะต้องลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันและต้องลงทุนซื้อสัญญาใหม่ (Long Position) เมื่อสัญญาที่ถืออยู่ใกล้หมดอายุ (Roll Yield) เพราะฉะนั้นถ้าหากราคาน้ำมันมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น (Contango) จะทำให้ราคาของสัญญาที่มีอายุสัญญายาวมีราคาสูงกว่าสัญญาที่มีอายุสัญญาสั้น ยกตัวอย่างเช่น ราคาสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันส่งมอบเดือนมกราคมอยู่ที่ 90.17 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันส่งมอบเดือนเมษายนอยู่ที่ 93.19 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งหากกองทุนต้องปิดสัญญาเดือนมกราคมแล้วเปิดสัญญาเดือนเมษายนจะทำให้ต้นทุนเพิ่มจาก 90.17 เป็น 93.19 ทันที (อุปมาก็เหมือนขายของถูกเพื่อไปซื้อของแพง) และเราเรียกส่วนต่างของราคาที่เกิดขึ้นนี้ว่า Negative Roll Yield ในทางกลับกันหากตลาดช่วงนั้นมีแนวโน้มเป็นขาลง (Backwardation) ราคาของสัญญาอายุยาวจะน้อยกว่าสัญญาที่อายุสั้นจะทำให้เกิด Positive Roll Yield ทั้งนี้ Negative Roll Yield ที่เกิดขึ้นในช่วงตลาดขาขึ้นจะทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้น้อยกว่าการซื้อน้ำมันส่งมอบทันที (Spot Price) และในทางตรงข้าม Positive Roll Yield จะทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าการซื้อน้ำมันส่งมอบทันที (Spot Price) ท่านนักลงทุนหลายท่านคงรู้สึกว่าทำไมกองทุนไม่ไปซื้อน้ำมันดิบโดยตรงให้มันสิ้นเรื่องสิ้นราวเลย เหตุผลก็คือน้ำมันมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) ค่อนข้างสูงมากไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำมัน (Storage Tank) ที่ต้องมีคุณสมบัติพิเศษในการเก็บรักษาน้ำมันชนิดต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ก๊าซ ของเหลว เป็นต้น นี่ยังไม่รวมถึงเรือน้ำมัน (Oil Tanker) ซึ่งเป็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันอีก มันจึงไม่ง่ายเท่าไรนักสำหรับการลงทุนในน้ำมันโดยตรง (ใช้สัญญาฟิวเจอร์สน้ำมัน น่าจะง่ายกว่า) เพราะฉะนั้นนักลงทุนจึงควรทำความเข้าใจลักษณะการลงทุนในกองทุนน้ำมันและสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันก่อนการลงทุน
เมื่อท่านนักลงทุนทั้งหลายมีความรู้พร้อมแล้วที่จะลงทุนในน้ำมัน ก็สามารถเลือกลงทุนได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมน้ำมัน ลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สน้ำมัน เป็นต้น นักลงทุนควรเลือกลงทุนในวิธีที่สะดวกกับท่าน โดยพิจารณาถึงผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของท่านด้วย