ASTVผู้จัดการรายวัน-คปภ.เผยยอดประกันชีวิตคนไทยเดือนตุลากว่า 9 แสนกรมธรรม์ AACP ครองแชมป์ขายเยอะสุดทุกช่องทาง ทั้งตัวแทน สาขาแบงก์ และเทเลเซลล์ ระบุคนไทยตระหนักถึงการทำประกันชีวิตมากขึ้น แถมการพัฒนาสินค้าและช่องทางการจำหน่ายช่วยหนุนการเติบโต
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตัวเลขการรับประกันชีวิตในเดือนตุลาคม 2554 มีการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านช่องทางต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 916,580 กรมธรรม์ ขยายตัวจากเดือนก่อน ถึงร้อยละ 83.86 คิดเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัย จำนวน 370,646 ล้านบาท หดตัวจากเดือนก่อน ร้อยละ 8.95 และมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 39,345 ล้านบาท หดตัวจากเดือนก่อน ร้อยละ 5.15
สำหรับ ช่องทางการขายหลักของบริษัทประกันชีวิตยังคงเป็นการขายผ่านตัวแทน โดยมีจำนวนกรมธรรม์ 800,339 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87.32 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง มีเบี้ยประกันภัยรับ 24,681 ล้านบาท โดย บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด รองลงมา คือ บจ. อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์
ขณะที่ การขายผ่านธนาคาร (Bancassurance) มีจำนวน 66,701 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.28 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง และมีเบี้ยประกันภัยรับ 10,476 ล้านบาท ซึ่ง บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด ตามมาด้วย บจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต
ส่วน การขายผ่านทางโทรศัพท์ มีจำนวน 41,585 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.54 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง มีเบี้ยประกันภัยรับ 2,868 ล้านบาท บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. และ บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดตามลำดับ การขายผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ร้านสะดวกซื้อ มีจำนวน 6,083 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.66 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง มีเบี้ยประกันภัยรับ 714 ล้านบาท
นายประเวช กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งสวนทางกับจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยสรุปได้ว่าประชาชนให้ความสนใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตรายย่อย (Micro Insurance) เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงาน คปภ. ที่ได้มีการผลักดันให้ประชาชนทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถเข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
"ปัจจุบันประชาชนให้ความสนใจทำประกันชีวิตเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับธุรกิจประกันชีวิตมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคขึ้นมาเป็นลำดับ ครอบคลุมทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นการออมและความคุ้มครองควบการลงทุน รวมทั้งช่องทางการขายก็มีพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง"
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตัวเลขการรับประกันชีวิตในเดือนตุลาคม 2554 มีการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านช่องทางต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 916,580 กรมธรรม์ ขยายตัวจากเดือนก่อน ถึงร้อยละ 83.86 คิดเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัย จำนวน 370,646 ล้านบาท หดตัวจากเดือนก่อน ร้อยละ 8.95 และมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 39,345 ล้านบาท หดตัวจากเดือนก่อน ร้อยละ 5.15
สำหรับ ช่องทางการขายหลักของบริษัทประกันชีวิตยังคงเป็นการขายผ่านตัวแทน โดยมีจำนวนกรมธรรม์ 800,339 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87.32 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง มีเบี้ยประกันภัยรับ 24,681 ล้านบาท โดย บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด รองลงมา คือ บจ. อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์
ขณะที่ การขายผ่านธนาคาร (Bancassurance) มีจำนวน 66,701 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.28 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง และมีเบี้ยประกันภัยรับ 10,476 ล้านบาท ซึ่ง บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด ตามมาด้วย บจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต
ส่วน การขายผ่านทางโทรศัพท์ มีจำนวน 41,585 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.54 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง มีเบี้ยประกันภัยรับ 2,868 ล้านบาท บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. และ บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดตามลำดับ การขายผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ร้านสะดวกซื้อ มีจำนวน 6,083 กรมธรรม์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.66 ของกรมธรรม์รวมทุกช่องทาง มีเบี้ยประกันภัยรับ 714 ล้านบาท
นายประเวช กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งสวนทางกับจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยสรุปได้ว่าประชาชนให้ความสนใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตรายย่อย (Micro Insurance) เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงาน คปภ. ที่ได้มีการผลักดันให้ประชาชนทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถเข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
"ปัจจุบันประชาชนให้ความสนใจทำประกันชีวิตเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับธุรกิจประกันชีวิตมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคขึ้นมาเป็นลำดับ ครอบคลุมทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นการออมและความคุ้มครองควบการลงทุน รวมทั้งช่องทางการขายก็มีพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง"