AACP ประกันชีวิต เผยยอดผู้ป่วยสมองเสื่อมพุ่ง คาดแตะ 115 ล้านคนหรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายในปี 2050 หากยังไม่มีทางรักษา พร้อมแนะวางแผนรองรับอนาคต เหตุญาติผุ้ป่วยต้องแบกต้นทุนการรักษาสูงมาก ระบุกรมธรรม์ที่ให้คุ้มครองโรคดังกล่าวกำลังขยายตัว และน่าจะมีออกมารองรับมากขึ้น หลังเยอรมัน ฝรั่งเศส และไตหวันเริ่มได้รับความสนใจ
บริษัทอยุธยา อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า โรคสมองเสื่อมในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีวิธีรักษานั้นจะส่งผลให้หลังจากนี้จำนวนผู้ป่วยจากโรคดังกล่าวทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า จากปัจจุบันที่มีอยู่ 36 ล้านคน จะเพิ่มเป็น 115 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเป็นผลจากอายุขัยเฉลี่ยของคนเราที่เพิ่มมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบตัวเลขดังกล่าวแล้ว จำนวนผู้ป่วย 115 ล้านคนจะเท่ากับประชากรของสเปนและฝรั่งเศสในวันนี้รวมกัน
ทั้งนี้ โรคสมองเสื่อมได้กลายเป็นภาระอันใหญ่หลวงแก่ระบบเศรษฐกิจ โดยญาติของผู้ป่วยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบเป็นจำนวนสูงถึง 450พันล้านยูโร ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนารูปแบบทางเลือกใหม่ๆด้านการพยาบาลและการเตรียมการเรื่องที่อยู่อาศัย และทำการทดสอบวินิจฉัยผู้ป่วยแต่เนิ่นๆ เพื่อให้พวกเขามีเวลาเพียงพอที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการพยาบาล เรื่องที่อยู่อาศัยและตัวเลือกการประกันภัย
นอกจากนี้ การศึกษาล่าสุดได้สรุปว่าการแพร่ระบาดของโรคในประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่เป็นการประเมินที่ต่ำเกินความเป็นจริง โดยทวีปเอเชียเพียงทวีปเดียวน่าจะมีประชากรที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะสมองเสื่อมภายในปี 2050 เกือบ 61 ล้านคนและในประเทศจีนผู้คนจะทุกข์ทรมานจากภาวะสมองเสื่อมมากกว่าในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน
ส่วนยุโรปจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากประมาณ 10 ล้านคนในวันนี้ ไปที่ 19 ล้าน โดยที่ประมาณ 15 ล้านคนนั้นจะอาศัยอยู่ในสหภาพยุโรป เยอรมนีเป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากสังคมผู้สูงอายุ จำนวนผู้ป่วยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนในวันนี้เป็น 2.6 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงทางการเงินของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดยบริษัทประกันชีวิตมีความตื่นตัวเพิ่มขึ้นต่อความท้าทายที่เกิดจากอัตราโรคสมองเสื่อมที่เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ Tarif PZTBest ของอลิอันซ์ เยอรมนี ได้รับการจัดอันดับที่สูงมากโดยองค์กรผู้บริโภค Stiftung Warentest ในกรณีของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ผลิตภัณฑ์นี้จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงสำหรับการดูแลพยาบาล แม้ว่าจะไม่ใช่การดูแลอย่างเป็นทางการ ส่วนผลิตภัณฑ์ Klasiik / Invest ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อการบำนาญระยะยาวของอลิอันซ์ ลีเบน (Allianz Leben) ก็มีการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติในชีวิตประจำวัน
โดยปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมไม่ได้มีจำกัดอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเท่านั้น บริษัท Allianz Global Assistance ในประเทศฝรั่งเศสได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Capital Memoire ขึ้น และบริษัทอลิอันซ์ ประเทศไต้หวัน ยังมีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่คุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ โดยแผนประกันเหล่านี้จะจ่ายเงินครั้งเดียวตามจำนวนที่ตกลงกัน ในกรณีของการเกิดโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือโรคสมองเสื่อม
บริษัทอยุธยา อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า โรคสมองเสื่อมในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีวิธีรักษานั้นจะส่งผลให้หลังจากนี้จำนวนผู้ป่วยจากโรคดังกล่าวทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า จากปัจจุบันที่มีอยู่ 36 ล้านคน จะเพิ่มเป็น 115 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเป็นผลจากอายุขัยเฉลี่ยของคนเราที่เพิ่มมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบตัวเลขดังกล่าวแล้ว จำนวนผู้ป่วย 115 ล้านคนจะเท่ากับประชากรของสเปนและฝรั่งเศสในวันนี้รวมกัน
ทั้งนี้ โรคสมองเสื่อมได้กลายเป็นภาระอันใหญ่หลวงแก่ระบบเศรษฐกิจ โดยญาติของผู้ป่วยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบเป็นจำนวนสูงถึง 450พันล้านยูโร ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนารูปแบบทางเลือกใหม่ๆด้านการพยาบาลและการเตรียมการเรื่องที่อยู่อาศัย และทำการทดสอบวินิจฉัยผู้ป่วยแต่เนิ่นๆ เพื่อให้พวกเขามีเวลาเพียงพอที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการพยาบาล เรื่องที่อยู่อาศัยและตัวเลือกการประกันภัย
นอกจากนี้ การศึกษาล่าสุดได้สรุปว่าการแพร่ระบาดของโรคในประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่เป็นการประเมินที่ต่ำเกินความเป็นจริง โดยทวีปเอเชียเพียงทวีปเดียวน่าจะมีประชากรที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะสมองเสื่อมภายในปี 2050 เกือบ 61 ล้านคนและในประเทศจีนผู้คนจะทุกข์ทรมานจากภาวะสมองเสื่อมมากกว่าในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน
ส่วนยุโรปจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากประมาณ 10 ล้านคนในวันนี้ ไปที่ 19 ล้าน โดยที่ประมาณ 15 ล้านคนนั้นจะอาศัยอยู่ในสหภาพยุโรป เยอรมนีเป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากสังคมผู้สูงอายุ จำนวนผู้ป่วยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนในวันนี้เป็น 2.6 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงทางการเงินของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดยบริษัทประกันชีวิตมีความตื่นตัวเพิ่มขึ้นต่อความท้าทายที่เกิดจากอัตราโรคสมองเสื่อมที่เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ Tarif PZTBest ของอลิอันซ์ เยอรมนี ได้รับการจัดอันดับที่สูงมากโดยองค์กรผู้บริโภค Stiftung Warentest ในกรณีของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ผลิตภัณฑ์นี้จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงสำหรับการดูแลพยาบาล แม้ว่าจะไม่ใช่การดูแลอย่างเป็นทางการ ส่วนผลิตภัณฑ์ Klasiik / Invest ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อการบำนาญระยะยาวของอลิอันซ์ ลีเบน (Allianz Leben) ก็มีการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติในชีวิตประจำวัน
โดยปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมไม่ได้มีจำกัดอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเท่านั้น บริษัท Allianz Global Assistance ในประเทศฝรั่งเศสได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Capital Memoire ขึ้น และบริษัทอลิอันซ์ ประเทศไต้หวัน ยังมีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่คุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ โดยแผนประกันเหล่านี้จะจ่ายเงินครั้งเดียวตามจำนวนที่ตกลงกัน ในกรณีของการเกิดโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือโรคสมองเสื่อม