xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยหญิงจีนผู้คิดค้นยารักษามาเลเรีย คว้ารางวัลโนเบลแห่งอเมริกา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ถู โยวโยว เภสัชกรแดนมังกร ผู้คว้ารางวัลโนเบลแห่งอเมริกา - ไชน่าเดลี
ไชน่าเดลี - นักวิทยาศาสตร์จีนคว้ารางวัล "ลาสเกอร์" หรือ "รางวัลโนเบลแห่งอเมริกา" จากผลงานการค้นคว้าตัวยาสำคัญในการรักษาโรคมาเลเรีย ซึ่งสามารถช่วยชีวิตมนุษย์หลายล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในชาติกำลังพัฒนา

ถู โยวโยว เภสัชกรหญิง วัย 81 ปี ของสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ของจีน นับเป็นนักวิทยาศาสตร์จากแผ่นดินใหญ่คนแรก ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ จากผลงานการค้นพบยาอาร์เทอมิซินิน (artemisinin) ซึ่งถือเป็นการบุกเบิกการรักษาโรคมาเลเรีย หรือโรคไข้จับสั่นด้วยวิธีการใหม่ โดยการประยุกต์เทคนิคสมัยใหม่ในสมัยศตวรรษที่ 21 ร่วมกับภูมิปัญญาของการแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมานาน 5,000 ปี

ถู ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยของรัฐบาลจีน เพื่อหาวิธีรักษาโรคมาเลเรียเมื่อปี 2512 จากนั้น เธอและคณะผู้ร่วมวิจัยสามารถสกัดสารบริสุทธิ์จากต้นชิงเห่าซู่ ซึ่งกลายมาเป็นยา ที่รู้จักกันในเชื่อของยาอาร์เทอมิซินินเมื่อปี 2515 ในที่สุด

ปัจจุบันยาตัวนี้อยู่ในบัญชียาสำหรับการรักษาโรคมาเลเรียขององค์การอนามัยโลก

ลูซี่ ชาปิโร่ กรรมการผู้ร่วมตัดสินการมอบรางวัลและศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกล่าวสดุดีในการประกาศเกียรติคุณ ครั้งนี้ว่า เป็นการค้นพบที่สามารถช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมาน และช่วยชีวิตประชาชนจำนวนนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ในกว่า 100 ประเทศ และการค้นพบครั้งนี้มาจากความรรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในด้านวิทยาศาสตร์ การมีวิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่นของTu และคณะผู้ร่วมวิจัย

ขณะที่ยอดหญิงนักวิทยาศาสตร์แดนมังกรกล่าวสุนทรพจน์ ภายหลังรับรางวัลว่า การค้นพบยา "อาร์เทอมิซินิน" ถือเป็นของขวัญ ที่การแพทย์แผนจีนมอบให้แก่มนุษยชาติ และการค้นคว้าพัฒนาการแพทย์แผนจีน และการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ ย่อมจะนำไปสู่การค้นพบยาใหม่ ๆ ในการรักษาโรคเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

สำหรับรางวัลลาสเกอร์นับเป็นรางวัลด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลก โดยเริ่มมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ และข้าราชการ ผู้มีผลงานดีเด่นมาตั้งแต่ปี 2488 และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีผู้ได้รับรางวัลลาสเกอร์ 28 คน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา
กำลังโหลดความคิดเห็น