ASTVผู้จัดการรายวัน-บลจ.กรุงไทย ยิ้มแผนลุยตลาดภูมิภาคได้ผล หลังใช้แบงก์แม่เป็นฐานขยายตลาดได้ถึง 44% พร้อมประเมินจบปี 54 สินทรัพย์แตะ 360,000 ล้านบาท มั่นใจปี 55 AUM แตะ 400,000 ล้านบาท เตรียมออกโปรดักส์หลากหลายรองรับการขยายฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมไม่ค่อยเติบโตเท่าที่ควร ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 AUMรวมของทั้งอุตสหกรรมอยู่ประมาณ 2,910,000 ล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้ว 31,000 ล้านบาท สาเหตุที่ทำให้การเติบโตชะลอตัวลง เนื่องจากธนาคารระดมเงินฝากซึ่งดอกเบี้ยจูงใจ โดยเฉพาะธนาคารรัฐถึงแม้ว่ากองทุนรวมจะได้ประโยชน์ทางด้านภาษีก็ตามแต่ก็ยังสู้การระดมเงินฝากของธนาคารไม่ได้
นอกจากนี้ตราสารหนี้ที่กองทุนรวมไปลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นการผสมระหว่างตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือการฝากเงินในต่างประเทศ ผสมกับตราสารหนี้ของไทย โดยผลตอบแทนรวมที่ได้ก็ไม่ค่อยจะจูงใจนักลงทุนแบบกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้อย่างที่ผ่านมา ขณะที่ความผันผวนของตลาดหุ้นไทยก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุตหสกรรมกองทุนรวมไม่ค่อยเติบโต
สำหรับบลจ.กรุงไทย มีการเติบโตประมาณ 14.4% ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน มีAUM ประมาณ 360,000 ล้านบาท ขณะที่การเติบโตของกองทุนอสังหาริมทรัพย์นั้น มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 17.5% และมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 40% ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 11 เดือนแรกเติบโตประมาณ 13,500 ล้านบาท เติบโตประมาณ 22.4% ซึ่ง ณ 30 กันยายน 2554 มีสินทรัพย์อยู่ที่ 72,000 ล้านบาท
และกองทุนส่วนบุคคล ณ 30 พฤศจิกายน 2554 มีสินทรัพย์รวมประมาณ 26,000 ล้านบาท เทียบกับต้นปี 2554 มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท ในปีนี้มีเงินเข้ามาประมาณ 32,000 ล้านบาท โดยปีหน้าจะมีเม็ดเงินมาเพิ่มอีก12,200 ล้านบาทจากกองทุนปรับสภาพคล่องพัฒนาตลาดทุน ซึ่งเราเป็น 1 ใน 3 บลจ.ที่ได้รับเลือกให้บริหารจัดการกองทุน
"คาดว่าสิ้นปีนี้ AUM น่ารวมน่าจะประมาณ 360,000 ล้านบาท เติบโต 14.4% ซึ่งในปีหน้า AUM น่าจะแตะประมาณ 400,000 ล้านบาทได้อย่างไม่น่ามีปัญหา" นายสมชัยกล่าว
นายสมชัย กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามในส่วนของบลจ.กรุงไทย นั้นต้องยอมรับว่าช่องทางการขายดีขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังตลาดภูมิภาค ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเน้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงแรกนักลงทุนในส่วนภูมิภาคจะรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างน้อยแต่ในระยะถัดมานักลงทุนมีความเข้าใจในการลงทุนมากขึ้นและพร้อมที่จะรับความเสี่ยงจากการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้บลจ.กรุงไทยเองได้เปรียบเรื่องของสาขาของธนาคารกรุงไทย ที่มีสาขาในต่างจังหวัดค่อนข้างมาก ปัจจุบันสัดส่วนของลูกค้าในภูมิภาคอยู่ที่ประมาณ 44 % ในกรุงเทพประมาณ 55% ซึ่งเรามีเป้าที่จะปรับสัดส่วนของทั้งภูมิภาคและกรุงเทพให้เท่ากันคือ 50%
ภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยจะเน้นการขยายฐานลูกค้าให้เป็นเอกชนมากขึ้นเพราะส่วนใหญ่ลูกค้าของกรุงไทยจะเป็นข้าราชการและรัฐวิสหกิจ
สำหรับแผนการออกกองทุนในปี 2555 นั้น เราจะมีการออกโปรดักส์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้าที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า เช่นกองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีในภูมิภาคเอเชียที่มีการเติบโตซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการขั้นตอนการพิจราณา
ในส่วนของเทอมฟันด์ก็คงจะมีเหมือนเดิมแต่อาจจะมีการหาตราสารหนี้ใหม่ๆที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ เช่น อินโดนีเซีย หรือ อินเดีย เป็นต้น ซึ่งผลตอบตอบแทนที่ดีต้องจูงใจด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้กองทุนอสังหาริมทรัพย์เราก็ยังให้ความสำคัญเช่นกัน ซึ่งแผนในปีหน้าก็จะมีกองทุนไอพีโอเพิ่มอีกโดยเฉพาะกองทุนอสังหาฯเทสโก้โลตัส และกองทุนอสังหาฯของกลุ่มทีซีซี แลนด์ อีกด้วย ขณะที่กองทุนส่วนบุคคลนั้นเรามีแผนที่จะเจาะกลุ่มสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และสหการณ์ เป็นต้น ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเราจะเปิด Employee choiseให้สมาชิกได้เลือกการลงทุนเองอีกด้วย
แม้ว่าจะมีการประกันเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาทในเดือนสิงหาคมปีหน้า เรามองว่าลูกค้าที่ฝากเงินธนาคารรัฐบาล หรือธนาคารใหญ่ก็ยังไม่ค่อยจะดึงเงินออกมา เนื่องจากมั่นใจว่าธนาคารจะไม่มีผลกระทบ นอจากนี้ธนาคารก็คงมีมาตรการระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง
แต่หากเป็นธนาคารต่างชาติหรือธนาคารขนาดเล็กเงินในส่วนนี้ก็คงจะมีการย้ายออกมาซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมก็น่าจะตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวได้" นายสมัชยกล่าว
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมไม่ค่อยเติบโตเท่าที่ควร ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 AUMรวมของทั้งอุตสหกรรมอยู่ประมาณ 2,910,000 ล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้ว 31,000 ล้านบาท สาเหตุที่ทำให้การเติบโตชะลอตัวลง เนื่องจากธนาคารระดมเงินฝากซึ่งดอกเบี้ยจูงใจ โดยเฉพาะธนาคารรัฐถึงแม้ว่ากองทุนรวมจะได้ประโยชน์ทางด้านภาษีก็ตามแต่ก็ยังสู้การระดมเงินฝากของธนาคารไม่ได้
นอกจากนี้ตราสารหนี้ที่กองทุนรวมไปลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นการผสมระหว่างตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือการฝากเงินในต่างประเทศ ผสมกับตราสารหนี้ของไทย โดยผลตอบแทนรวมที่ได้ก็ไม่ค่อยจะจูงใจนักลงทุนแบบกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้อย่างที่ผ่านมา ขณะที่ความผันผวนของตลาดหุ้นไทยก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุตหสกรรมกองทุนรวมไม่ค่อยเติบโต
สำหรับบลจ.กรุงไทย มีการเติบโตประมาณ 14.4% ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน มีAUM ประมาณ 360,000 ล้านบาท ขณะที่การเติบโตของกองทุนอสังหาริมทรัพย์นั้น มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 17.5% และมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 40% ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 11 เดือนแรกเติบโตประมาณ 13,500 ล้านบาท เติบโตประมาณ 22.4% ซึ่ง ณ 30 กันยายน 2554 มีสินทรัพย์อยู่ที่ 72,000 ล้านบาท
และกองทุนส่วนบุคคล ณ 30 พฤศจิกายน 2554 มีสินทรัพย์รวมประมาณ 26,000 ล้านบาท เทียบกับต้นปี 2554 มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท ในปีนี้มีเงินเข้ามาประมาณ 32,000 ล้านบาท โดยปีหน้าจะมีเม็ดเงินมาเพิ่มอีก12,200 ล้านบาทจากกองทุนปรับสภาพคล่องพัฒนาตลาดทุน ซึ่งเราเป็น 1 ใน 3 บลจ.ที่ได้รับเลือกให้บริหารจัดการกองทุน
"คาดว่าสิ้นปีนี้ AUM น่ารวมน่าจะประมาณ 360,000 ล้านบาท เติบโต 14.4% ซึ่งในปีหน้า AUM น่าจะแตะประมาณ 400,000 ล้านบาทได้อย่างไม่น่ามีปัญหา" นายสมชัยกล่าว
นายสมชัย กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามในส่วนของบลจ.กรุงไทย นั้นต้องยอมรับว่าช่องทางการขายดีขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังตลาดภูมิภาค ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเน้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงแรกนักลงทุนในส่วนภูมิภาคจะรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างน้อยแต่ในระยะถัดมานักลงทุนมีความเข้าใจในการลงทุนมากขึ้นและพร้อมที่จะรับความเสี่ยงจากการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้บลจ.กรุงไทยเองได้เปรียบเรื่องของสาขาของธนาคารกรุงไทย ที่มีสาขาในต่างจังหวัดค่อนข้างมาก ปัจจุบันสัดส่วนของลูกค้าในภูมิภาคอยู่ที่ประมาณ 44 % ในกรุงเทพประมาณ 55% ซึ่งเรามีเป้าที่จะปรับสัดส่วนของทั้งภูมิภาคและกรุงเทพให้เท่ากันคือ 50%
ภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยจะเน้นการขยายฐานลูกค้าให้เป็นเอกชนมากขึ้นเพราะส่วนใหญ่ลูกค้าของกรุงไทยจะเป็นข้าราชการและรัฐวิสหกิจ
สำหรับแผนการออกกองทุนในปี 2555 นั้น เราจะมีการออกโปรดักส์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้าที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า เช่นกองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีในภูมิภาคเอเชียที่มีการเติบโตซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการขั้นตอนการพิจราณา
ในส่วนของเทอมฟันด์ก็คงจะมีเหมือนเดิมแต่อาจจะมีการหาตราสารหนี้ใหม่ๆที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ เช่น อินโดนีเซีย หรือ อินเดีย เป็นต้น ซึ่งผลตอบตอบแทนที่ดีต้องจูงใจด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้กองทุนอสังหาริมทรัพย์เราก็ยังให้ความสำคัญเช่นกัน ซึ่งแผนในปีหน้าก็จะมีกองทุนไอพีโอเพิ่มอีกโดยเฉพาะกองทุนอสังหาฯเทสโก้โลตัส และกองทุนอสังหาฯของกลุ่มทีซีซี แลนด์ อีกด้วย ขณะที่กองทุนส่วนบุคคลนั้นเรามีแผนที่จะเจาะกลุ่มสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และสหการณ์ เป็นต้น ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเราจะเปิด Employee choiseให้สมาชิกได้เลือกการลงทุนเองอีกด้วย
แม้ว่าจะมีการประกันเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาทในเดือนสิงหาคมปีหน้า เรามองว่าลูกค้าที่ฝากเงินธนาคารรัฐบาล หรือธนาคารใหญ่ก็ยังไม่ค่อยจะดึงเงินออกมา เนื่องจากมั่นใจว่าธนาคารจะไม่มีผลกระทบ นอจากนี้ธนาคารก็คงมีมาตรการระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง
แต่หากเป็นธนาคารต่างชาติหรือธนาคารขนาดเล็กเงินในส่วนนี้ก็คงจะมีการย้ายออกมาซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมก็น่าจะตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวได้" นายสมัชยกล่าว