xs
xsm
sm
md
lg

ECBมีแนวโน้มอาจลดดอกเบี้ยลง ชี้วิกฤตหนี้กระทบกำไรแบงก์หลายปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - ธนาคารกลางยุโรป (ECB)มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ย ด้าน ธนาคาร ดอยช์ แบงก์ ชี้ วิกฤตหนี้ยุโรปจะส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารอีกหลายปี ด้าน เยอรมันนี แนะยุโรปควรรัดเข็มขัดทางการคลัง

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศว่า นายเจอร์เก้น สตาร์ค คณะกรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) ชาวเยอรมันได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง การลาออกในครั้งนี้มีแนวโน้มว่าจะส่งผลให้การจัดการกับวิกฤตการณ์รอบถัดไป มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น เพราะเกิดความแตกแยกทางการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกยูโรโซน และความแตกแยกภายในอีซีบี นอกจากนี้ การลาออกของนายสตาร์คยังได้ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของอีซีบีในสายตาของชาวเยอรมันและสถาบันการเงินขอเยอรมัน

ทั้งนี้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ลงมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% ตามความคาดหมายการกระทำดังกล่าว ได้บ่งชี้ถึงการยุติวงจรคุมเข้มนโยบายการเงินที่เริ่มขึ้นในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา และได้มีการวิเคราะห์กันว่า ในอนาคต ECB น่าจะคงดอกเบี้ยไว้อีกนาน และอาจมีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง

รัฐมนตรีคลังเยอรมนีกล่าวว่า รัฐบาลในและนอกยูโรโซนจำเป็นต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง และปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันรมว.คลัง เยอรมนี ได้ให้มุมมองว่า การเพิ่มการก่อหนี้จะเป็นการสกัดกั้นแทนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว และแม้จะมีผลกระทบทางการเมือง แต่ประเทศที่มีหนี้และยอดขาดดุลในระดับสูงก็จำเป็นต้องขจัด "อุปสรรคทางโครงสร้างในเศรษฐกิจ

ด้านซีอีโอ ธนาคาร ดอยช์ แบงก์ เปิดเผยว่าวิกฤตหนี้ของยุโรปจะส่งผลกระทบต่อกำไรของภาคธนาคารเป็นเวลาอีกหลายปี และอาจทำให้ธนาคารที่อ่อนแอที่สุดต้องปิดกิจการซีอีโอ ธนาคาร ดอยช์ แบงก์ ให้มุมมองว่า ธนาคารจำนวนมากของยุโรปอาจล้มละลาย หากต้องยอมรับการลดหนี้ที่กำหนดมูลค่าตามตลาดในปัจจุบัน แทนการลดมูลค่าสินทรัพย์ในบัญชี 21% ซึ่งมีการเสนอสำหรับหนี้ของกรีซ การให้ข่าวดังกล่าวส่งผลเชิงลบต่อตลาดทุนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ประธานธนาคาร KFW กล่าวว่า สถานการณ์ของธนาคารในขณะนี้รุนแรงกว่าในปี 2008 โดยในปี 2008 รัฐบาลยังคงสามารถสนับสนุนรัฐบาลของตน แต่ในขณะนี้ไม่มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลและธนาคารแห่งใดจะสามารถออกพันธบัตรอายุ 7 หรือ 8 ปีได้ในปัจจุบัน

ขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น นายมิทท์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันเผยว่า ถ้าได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เขาจะไม่ให้นายเบน เบอร์นันเก้ ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)นายรอมนีย์ ให้เหตุผลว่า นายเบอร์นันเก้ ได้เพิ่มปริมาณเงินออกมามากเกินไป และการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ทั้งสองครั้งใช้ไม่ได้ผล โดยความเห็นดังกล่าวนี้ ได้เพิ่มความกังวลให้แก่นักลงทุน และเป็นการสร้างความแตกแยก

ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานของ ประธานาธิบดี โอบามา มูลค่ากว่า 4.47 แสนล้านดอลล่าร์ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น มีรายละเอียดดังนี้ 1) การลดหย่อนภาษีให้แก่พนักงานในส่วนของค่าจ้าง โดยเสนอให้ต่ออายุและขยายมาตรการการลดหย่อนภาษีที่หักจากค่าจ้างของพนักงานออกไปอีก 1 ปี โดยจะต้องใช้เงิน 1.75 แสนล้านดอลล่าร์ และจะส่งผลให้มีการปรับลดอัตราภาษีลงครึ่งหนึ่งสู่ 3.1% ในปี 2012 2.) การลดหย่อนภาษีให้แก่นายจ้างในส่วนของค่าจ้างพนักงาน ซึ่งเสนอมาตรการวงเงิน 6.5 หมื่นล้านดอลล่าร์เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจขนาดเล็กจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น โดยจะมีการปรับลดภาษีครึ่งหนึ่งลดลงสู่ 3.1% สำหรับค่าจ้าง 5 ล้านดอลล่าร์แรก ซึ่งมาตรการนี้จะครอบคลุมบริษัทขนาดเล็กถึง 98% ในสหรัฐฯ

มาตรการต่อมาคือ เงินช่วยเหลือ 8.5 หมื่นล้านดอลล่าร์สำหรับรัฐบาลระดับรัฐ และระดับท้องถิ่น , 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์ เพื่อโรงเรียน ตำรวจ และพนักงานดับเพลิง, 3 หมื่นล้านดอลล่าร์ เพื่อปรับปรุงโรงเรียน และวิทยาลัยชุมชน, 1.5 หมื่นล้านดอลล่าร์ เพื่อปรับปรุงบ้านที่ไม่มีคนอยู่ 4.) งบลงทุน 5 หมื่นล้านดอลล่าร์ในการสร้างถนน ทางรถไฟ และสาธารณูปโภคทางอากาศ และ5.) งบลงทุน 4.9 หมื่นล้านดอลล่าร์ในการต่ออายุสวัสดิการว่างงานระยะยาวไปอีก 1 ปี สำหรับชาวสหรัฐฯ ที่ตกงานจำนวน 6 ล้านคน
กำลังโหลดความคิดเห็น