บลจ.กสิกรไทยคาด วิกฤตหนี้ยุโรปยืดเยื้อ หลังกรีซส่อแว่วดื้อยา ทำตามเกณฑ์ไอเอ็มเอฟไม่ได้ ระบุหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทยยังผันผวนต่อ แต่มั่นใจระยะยาวยังน่าลงทุน ขณะที่ราคาทองคำยังคงเป็นบวกสิ้นปีอาจแตะ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ได้
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า มุมมองของบริษัทต่อสถานการณ์ในยุโรปคาดว่าน่าจะยังมีความยืดเยื้อและมีการติดตามถึงการแก้ไขปัญหาของประเทศในกลุ่มยุโรปอย่างใกล้ชิดและเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะยังเป็นปัจจัยที่กดดันดัชนีหุ้นทั่วโลกรวมทั้งไทยให้มีความผันผวนและไม่ได้ปรับขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง ส่วนปัจจัยภายในประเทศเราเชื่อว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่จะส่งผลบวกต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย การลงทุนในกองทุนหุ้นเพื่อทำกำไรระยะสั้นจึงเป็นไปได้ยาก แต่การลงทุนในระยะยาวแบบสะสมเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลงอาจเป็นสิ่งที่น่าพิจารณา โดยเราคาดการณ์ SET Index อยู่ที่ 1,200 จุดในช่วงสิ้นปี สำหรับทองคำเรามีมุมมองที่เป็นบวกโดยเชื่อว่าจะอยู่ที่ระดับราคา 1,800 - 2,000 ณ สิ้นปี
ส่วนสาเหตุที่นักลงทุนยังให้ความกังวลกับสถาการณ์ของประเทศกรีซ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศกรีซก็ไม่ได้ปรับตัวดีขึ้น แม้จะได้รับเงินสนับสนุนจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2010 โดยจำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 ในต้นปี 2011
อย่างไรก็ตามแม้ความช่วยเหลือดังกล่าวจะทำให้ตลาดคลายวิตกลงได้บ้างแต่จากข้อกำหนดที่ว่ากรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือก็ต่อเมื่อกรีซปฎิบัติตามแผนฟื้นฟูที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านั้นได้สร้างความวิตกกังวลให้กับตลาดอีกครั้งเมื่อรัฐบาลกรีซมีความล่าช้าในการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูที่ตกลงไว้ (ซึ่งอาจทำให้กรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจนถึงขั้นผิดนัดชำระหนี้หรืออาจต้องถอนตัวออกจากประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร)
ทั้งนี้ ธนาคารขนาดใหญ่สัญชาติฝรั่งเศสหลายแห่งที่มีการปล่อยกู้ให้แก่กรีซเป็นจำนวนมากอาจได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงจากการที่กรีซไม่สามารถชำระหนี้ได้ และยังเกิดผลกระทบต่อเนื่องมายังสถาบันการเงินระดับโลกอีกหลายแห่ง เนื่องจากทั่วโลกและธนาคารในสหรัฐอเมริกาเกิดความไม่เชื่อมั่นในการปล่อยกู้ให้กับธนาคารในยุโรปอย่างเคย
ประเด็นข้างต้นได้ส่งผลบวกให้กับราคาทองคำพอสมควรแม้ว่าราคาทองคำจะถูกกดดันบ้างจากการที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนได้มองสินทรัพย์ 2 ประเภทดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดความเสี่ยง (Safe Haven) (ราคาทองปรับขึ้น 13% ตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฎาคม 2011 จนปัจจุบัน)
เมื่อพิจารณาถึงประเทศไทยนั้น คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบทางตรงจากวิกฤตในยุโรปแต่อย่างใดเพราะธนาคารในประเทศไทยจัดว่าเกือบจะไม่มีสัดส่วนการปล่อยกู้ให้กับธนาคารในยุโรปเลย โดยธนาคารแห่งหนึ่งที่มีสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรยุโรปสูงที่สุดในประเทศมีสัดส่วนการลงทุนในภูมิภาคดังกล่าวไม่ถึง 1% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้นน่าจะมีอยู่จำกัดหากวิกฤตครั้งนี้ได้รับการแก้ไขที่ดีหรือไม่ขยายวงกว้างจนเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั่วโลก โดย ณ ปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังยุโรปคิดเป็นเพียงประมาณ 10% ของสัดส่วนทั้งหมดเท่านั้น
ส่วนกองทุนรวมภายใต้การจัดการของ บลจ.กสิกรไทย ถึงแม้จะมีสัดส่วนการลงทุนในยุโรป แต่ก็ไม่มีสัดส่วนการลงทุนในประเทศกรีซ แต่จะลงทุนในประเทศในกลุ่มยุโรปที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง อาทิกองทุนเคโกลบอล อิควิตี้ (K-GLOBE) ซึ่งลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของประเทศต่างๆทั่วโลก จากข้อมูลล่าสุดกองทุน K-GLOBE มีสัดส่วนการลงทุนในยุโรปเฉพาะในประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง และมีสัดส่วนการลงทุนในยุโรปต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึงเท่าตัวโดยประมาณ ส่วนกองทุนเค โกลบอล อิเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ออพพอร์ทูนนิตี้ (K-GEMO) ที่ลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ที่อยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกมีการลงทุนในยุโรปเฉพาะในประเทศที่มิได้ประสบปัญหาวิกฤตหนี้สิน เช่น ตุรกี ฮังการี และอังกฤษ และเป็นสัดส่วนที่ไม่ถึง 15% ของขนาดกองทุน
ขณะที่กองทุนเปิดเค โกลบอล แอลโลเคชั่น (K-GA) ซึ่งเน้นการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ทั่วโลก แม้จะลงทุนทั่วโลกกว่า 900 หลักทรัพย์ แต่ก็ไม่มีสัดส่วนการลงทุนทั้งในกรีซ และยังให้น้ำหนักในหุ้น และตราสารหนี้ของภูมิภาคยุโรปต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานด้วย
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า มุมมองของบริษัทต่อสถานการณ์ในยุโรปคาดว่าน่าจะยังมีความยืดเยื้อและมีการติดตามถึงการแก้ไขปัญหาของประเทศในกลุ่มยุโรปอย่างใกล้ชิดและเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะยังเป็นปัจจัยที่กดดันดัชนีหุ้นทั่วโลกรวมทั้งไทยให้มีความผันผวนและไม่ได้ปรับขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง ส่วนปัจจัยภายในประเทศเราเชื่อว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่จะส่งผลบวกต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย การลงทุนในกองทุนหุ้นเพื่อทำกำไรระยะสั้นจึงเป็นไปได้ยาก แต่การลงทุนในระยะยาวแบบสะสมเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลงอาจเป็นสิ่งที่น่าพิจารณา โดยเราคาดการณ์ SET Index อยู่ที่ 1,200 จุดในช่วงสิ้นปี สำหรับทองคำเรามีมุมมองที่เป็นบวกโดยเชื่อว่าจะอยู่ที่ระดับราคา 1,800 - 2,000 ณ สิ้นปี
ส่วนสาเหตุที่นักลงทุนยังให้ความกังวลกับสถาการณ์ของประเทศกรีซ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศกรีซก็ไม่ได้ปรับตัวดีขึ้น แม้จะได้รับเงินสนับสนุนจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2010 โดยจำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 ในต้นปี 2011
อย่างไรก็ตามแม้ความช่วยเหลือดังกล่าวจะทำให้ตลาดคลายวิตกลงได้บ้างแต่จากข้อกำหนดที่ว่ากรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือก็ต่อเมื่อกรีซปฎิบัติตามแผนฟื้นฟูที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านั้นได้สร้างความวิตกกังวลให้กับตลาดอีกครั้งเมื่อรัฐบาลกรีซมีความล่าช้าในการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูที่ตกลงไว้ (ซึ่งอาจทำให้กรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจนถึงขั้นผิดนัดชำระหนี้หรืออาจต้องถอนตัวออกจากประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร)
ทั้งนี้ ธนาคารขนาดใหญ่สัญชาติฝรั่งเศสหลายแห่งที่มีการปล่อยกู้ให้แก่กรีซเป็นจำนวนมากอาจได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงจากการที่กรีซไม่สามารถชำระหนี้ได้ และยังเกิดผลกระทบต่อเนื่องมายังสถาบันการเงินระดับโลกอีกหลายแห่ง เนื่องจากทั่วโลกและธนาคารในสหรัฐอเมริกาเกิดความไม่เชื่อมั่นในการปล่อยกู้ให้กับธนาคารในยุโรปอย่างเคย
ประเด็นข้างต้นได้ส่งผลบวกให้กับราคาทองคำพอสมควรแม้ว่าราคาทองคำจะถูกกดดันบ้างจากการที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนได้มองสินทรัพย์ 2 ประเภทดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดความเสี่ยง (Safe Haven) (ราคาทองปรับขึ้น 13% ตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฎาคม 2011 จนปัจจุบัน)
เมื่อพิจารณาถึงประเทศไทยนั้น คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบทางตรงจากวิกฤตในยุโรปแต่อย่างใดเพราะธนาคารในประเทศไทยจัดว่าเกือบจะไม่มีสัดส่วนการปล่อยกู้ให้กับธนาคารในยุโรปเลย โดยธนาคารแห่งหนึ่งที่มีสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรยุโรปสูงที่สุดในประเทศมีสัดส่วนการลงทุนในภูมิภาคดังกล่าวไม่ถึง 1% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้นน่าจะมีอยู่จำกัดหากวิกฤตครั้งนี้ได้รับการแก้ไขที่ดีหรือไม่ขยายวงกว้างจนเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั่วโลก โดย ณ ปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังยุโรปคิดเป็นเพียงประมาณ 10% ของสัดส่วนทั้งหมดเท่านั้น
ส่วนกองทุนรวมภายใต้การจัดการของ บลจ.กสิกรไทย ถึงแม้จะมีสัดส่วนการลงทุนในยุโรป แต่ก็ไม่มีสัดส่วนการลงทุนในประเทศกรีซ แต่จะลงทุนในประเทศในกลุ่มยุโรปที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง อาทิกองทุนเคโกลบอล อิควิตี้ (K-GLOBE) ซึ่งลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของประเทศต่างๆทั่วโลก จากข้อมูลล่าสุดกองทุน K-GLOBE มีสัดส่วนการลงทุนในยุโรปเฉพาะในประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง และมีสัดส่วนการลงทุนในยุโรปต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึงเท่าตัวโดยประมาณ ส่วนกองทุนเค โกลบอล อิเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ออพพอร์ทูนนิตี้ (K-GEMO) ที่ลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ที่อยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกมีการลงทุนในยุโรปเฉพาะในประเทศที่มิได้ประสบปัญหาวิกฤตหนี้สิน เช่น ตุรกี ฮังการี และอังกฤษ และเป็นสัดส่วนที่ไม่ถึง 15% ของขนาดกองทุน
ขณะที่กองทุนเปิดเค โกลบอล แอลโลเคชั่น (K-GA) ซึ่งเน้นการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ทั่วโลก แม้จะลงทุนทั่วโลกกว่า 900 หลักทรัพย์ แต่ก็ไม่มีสัดส่วนการลงทุนทั้งในกรีซ และยังให้น้ำหนักในหุ้น และตราสารหนี้ของภูมิภาคยุโรปต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานด้วย