xs
xsm
sm
md
lg

หุ้นไทยพื้นฐานยังแข็งแกร่ง โอกาสเก็บกองทุน LTFมาแล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สำหรับการลงทุนในเดือนตุลาคม เราขอกล่าวถึงการลงทุน LTF เป็นหลัก เพราะนับจากนี้ก็เหลือเวลาเพียงไม่กี่เดือนสำหรับการลงทุน LTF ในรอบปี 2554 นี้ ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในปีก่อน จะเห็นว่าภาวะตลาดนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในปีที่แล้ว SET Index ของไทยทำ New High อย่างต่อเนื่องจนนักลงทุนกังวลว่าหุ้นไทยแพงไปหรือไม่ ขณะที่ในปีนี้นักลงทุนต่างถามเป็นเสียงเดียวกันว่าตลาดหุ้นจะลงไปต่ำกว่านี้หรือไม่ควรรอถึงเมื่อไหร่ คำถามแรก เรามองว่าปัจจัยจากฝั่งตะวันตกอาจกระทบให้ตลาดผันผวนเชิงลบได้ต่อ และในคำถามที่สอง เรามองว่าการจับจังหวะตลาดเพื่อรอซื้อที่จุดต่ำสุดไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเมื่ออยู่ในภาวะที่ความผันผวนเพราะปัจจัยทางจิตวิทยาเช่นนี้ด้วยแล้วก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก เราจึงแนะนำให้แบ่งเงินลงทุนและทยอยซื้อหากตลาดอ่อนตัวลงมาแตะตามแนวรับระดับต่างๆ  และอีกจุดที่อยากย้ำคือ สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ได้เริ่มซื้อกองทุน LTF เลย ก็ควรเริ่มต้นสะสม LTFได้แล้ว และยิ่งไม่ควรรอไปจนถึงช่วงสัปดาห์ท้ายๆของเดือนธันวาคม เพราะที่ผ่านมา นักลงทุนส่วนใหญ่มักเข้าลงทุนในช่วงดังกล่าวมากที่สุดและเป็นเหตุให้ผู้จัดการกองทุนต้องเข้าซื้อหุ้นไม่ว่า ณ ระดับราคาใดๆ เพราะกองทุนมีข้อจำกัดในการถือเงินสด การลงทุนเอาในวินาทีสุดท้ายจึงมีแนวโน้มที่จะทำให้ได้ของแพงเสมอ

โดยกองทุน LTF ที่มีอยู่ในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

1. กองทุน LTF ที่เน้นการลงทุนในหุ้นสูงสุดหรือเกือบ 100% ของเงินลงทุน กองทุน LTF ประเภทนี้จึงถือว่ามีความเสี่ยงมากที่สุด จึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มาก เพราะผลการดำเนินงานของกองทุนมีโอกาสได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นหรือภาวะของตลาดหลักทรัพย์ได้มากที่สุด

2. กองทุน LTF ที่จำกัดน้ำหนักการลงทุนในหุ้น หรือที่มักเรียกกันว่ากอง 70-30 ซึ่งกองประเภทนี้จะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 70% (แต่ไม่ต่ำกว่า 65% ซึ่งเป็นข้อกำหนดของกลต.) และส่วนที่เหลือหรือประมาณ 30%-35% จะลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งก็จะช่วยลดความผันผวนจากการลงทุนในตราสารทุน LTF ประเภทนี้จึงจัดว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าแบบแรก

3. กองทุน LTF ที่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กองทุนประเภทนี้จะลงทุนในหุ้น และสัญญาล่วงหน้าไปพร้อมๆกันเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการลดความผันผวนของผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นและภาวะตลาด อย่างไรก็ดี กองทุนประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการปิดความเสี่ยงทั้ง 100% ดังนั้น ผลการดำเนินงานจึงยังคงสามารถเป็นบวกหรือลบก็ได้ในแต่ละช่วงเวลาตามภาวะราคาของหุ้นที่ลงทุน จุดสำคัญอยู่ที่ว่า กองทุนลักษณะนี้จะมีแนวโน้มของเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงในอัตราที่น้อยกว่าดัชนีตลาดและกองทุน LTF แบบปกติที่ไม่มีการซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั่นเอง จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ (Capital Gain) แต่เน้นประโยชน์ทางภาษีเป็นหลัก

และด้วยความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เราจึงไม่ได้คัดเลือกกองทุนจากผลการดำเนินงานในอดีตเพียงอย่างเดียว เรายังพิจารณาว่าด้วย Sharp Ratio ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่บ่งชี้ว่า กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงได้ดีหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ เรายังพิจารณาถึงความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงาน นโยบายการลงทุนและรูปแบบการบริหาร รวมถึงหุ้นหลักที่อยู่ในพอร์ตว่าสอดคล้องกับมุมมองการลงทุนของเราหรือไม่

โดยสำหรับการลงทุน LTF ซึ่งต้องลงทุนยาว 5 ปี และด้วยภาพเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ยุโรปและปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งสามารถสร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นทั่วโลกได้ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงเน้นลงทุนในหุ้นลักษณะ Defensive เป็นหลัก เพื่อลดความเสี่ยงขาลงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และเลือกหุ้นกลุ่ม Domestic Plays ที่มองว่าจะได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภคของภาคเอกชนและการลงทุนในประเทศ เราจึงแนะนำกองทุนของบลจ.กรุงศรี กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล (KFLTFDIV) เป็นทางเลือกสำหรับกองทุน LTF ประเภทแรก

ส่วนกองทุนแบบ 70-30 เราแนะนำ กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล 70/30 (KFLTFD70) ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากหนังสือชี้ชวนสรุปแสดงให้เห็นว่ากองทุนมีการลงทุนในตราสารหนี้ในสัดส่วน 30.83% โดยอยู่ในรูปพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (อายุคงเหลือน้อยกว่า 1ปี) 28.85% และเงินฝากธนาคารอีก 1.98% ส่วนของพอร์ตการลงทุนในหุ้นกลุ่ม ธุรกิจกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคา พาณิชย์ ธนาคาร วัสดุก่อสร้าง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

สำหรับกองทุน LTF ที่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาจจะมีวิธีการเลือกที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย เพราะกองทุนกลุ่มนี้ไม่ได้เน้นสร้างผลตอบแทน ก็แนะนำให้นักลงทุนพิจารณาเรื่องสภาพคล่องให้เหมาะกับรูปแบบการลงทุน คือ

1. หากนักลงทุนไม่ได้ต้องการที่จะบริหารพอร์ต LTF โดยการสับเปลี่ยนไปมาตามภาวะตลาด เราแนะนำ 1SMART-LTF ของบลจ.วรรณ ซึ่งที่ผ่านมามีค่าความผันผวนที่วัดโดย Standard Deviation ต่ำสุด เพราะมีอัตราการปิดความเสี่ยงสูงสุดเมื่อเทียบกับกองอื่นๆในประเภทเดียวกัน แต่มีข้อจำกัดเรื่องสภาพคล่องเล็กน้อยคือทำการขายคืนทำได้เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น

2. ถ้านักลงทุนต้องการความคล่องตัวเป็นหลักและทำการบริหารพอร์ต LTF เราแนะนำ K Strategic Defensive (KSDLTF) ของบลจ.กสิกรไทย เพราะสามารถทำการสับเปลี่ยนได้เร็วที่สุด คือในวันที่ T หรือวันที่ส่งคำสั่งสับเปลี่ยนเลย (การสับเปลี่ยนกองทุนระหว่างบลจ.อาจมีค่าใช้จ่าย)
กำลังโหลดความคิดเห็น