xs
xsm
sm
md
lg

ทิศทางอุตสาหกรรมกองทุนรวม กับเสรีทางการเงินที่กำลังมาถึง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตลาดทุนของโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันที่สูง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกันไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยปริมาณเงินทุนของโลกที่มีมากมาย เคลื่อนย้ายถ่ายเทไปทั่วโลก รวมถึงตลาดทุนของไทยที่ต้องมีการปรับตัวไปด้วยเช่นกันทั้งเพื่อการแข่งขันและเพื่อผลประโยชน์ในด้านต้างๆ แต่สำหรับในประเทศไทยการลงทุนที่แท้จริงของผู้ลงทุนทั่วไปจากในอดีตจนถึงปัจจุบันผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนที่มากขึ้น แต่เมื่อต้องปรับเปลี่ยนตลาดทุนไปเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงินที่กำลังจะเกิดขึ้น 2555 ที่จะถึงนี้ สถาบันการเงินอย่างกองทุนรวมที่ดูแลเงินลงทุนของนักลงทุนไทยอยู่นั้น จะเป็นอย่างไรบ้าง... และผู้ลงทุนจะได้รับประโยชน์ รวมถึงจะต้องปรับการลงทุนอย่างไรบ้างเพือรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้

นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) บอกว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการลงทุนมีพัฒนาที่เห็นได้ว่า คนมีความรู้ในเรื่องของการลงทุนที่มากขึ้น แต่ปัจจุบันมีสิ่งที่เกิดขึ้นคือจำนวนนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้คอยให้ความรู้และแนะนำการลงทุนได้หายไป เนื่องจากมีการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นและมีการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ได้ส่งผลให้บุคคลากรด้านวิเคราะห์การลงทุนหายไป ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนซึ่งไม่ควรที่จะหายไป

ทั้งนี้การเปิดตลาดเสรีด้านตลาดทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2555 นั้น มองว่า สำหรับอุตสาหกรรมกองทุนรวมมีความเป็นเสรีอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่ดีในการที่นักลงทุนสามารถที่จะไปลงทุนในต่างประเทศอื่นๆได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนต้องลงทุนโดยผ่านตัวกลางคือ บลจ. แต่การที่จะเข้ามาลงทุนในไทยนั้นควรจะมีเกณฑ์ที่ปรับให้เข้ากับคนไทยด้วยเพราะผู้ลงทุนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมและยังไม่เข้าใจทั้งหมด ไม่ใช่ให้นักลงทุนไทยใช้มาตรฐานของต่างประเทศที่มักอ้างว่าตามมาตรฐานโลก ซึ่งอย่ายึดว่าโมลเดลของต่างประเทศจะดีที่สุด "เพราะไม่มีใครใส่รองเท้าของใครได้พอดี"

หากเปิดตลาดเสรีแล้วทาง บลจ. ต่อไปทางสมาคม บลจ. ต้องทำให้กองทุนรวมจากต่างประเทศเข้ามาอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์อันเดียวกันไม่ใช้กฎ กลต. ของประเทศของประเทศตนเอง นอกจากนี้ยังมองเห็นข้อดีของการเปิดเสรีอีกอย่างคือทำให้กองทุนรวมเกิดความตื่นตัวในการออกโปรดักส์ รวมถึง ในเรื่องของการทำการตลาดซึ่งปัจจุบันนักลงทุนเข้ามาซื้อกองทุนโดยไม่ได้คำนึงถึงการลงทุนที่แท้จริงแต่เข้ามาซื้อเพราะโปรโมชั่นที่มี ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายแต่เป็นเรื่องทางจริยธรรม เพราะกองทุนรวมเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งต้องรู้ว่าอาจจะมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้างได้ ขณะเดียวกันบุคคลากรต้องมีความรู้ในการลงทุนได้มากขึ้น

ทั้งนี้ในอนาคตของอุตสาหกรรมกองทุนรวม คือ ควรที่จะมีการแสวงหาในสิ่งที่มีประโยชน์ซึ่งการลงทุนผ่าน บลจ. จะมีเพิ่มมากขึ้น ส่วนลูกค้าที่เข้ามาลงทุนนั้น ควรตั้งความหวังกับคนกลุ่มใหม่ตั้งแต่อายุ 18 ปี จนถึง 25 ปี เพราะคนกลุ่มนี้มีการตื่นตัวมีความท้าทายซึ่งในอนาคตจะขึ้นอยู่กับคนกลุ่มนี้มาก ขณะที่ผู้คุมกฎควรที่จะปรับแนวคิดว่าเพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกิดขึ้น ขณะเดียวกันตลาดหลักทรัพย์ ควรจะคิดเรื่องใหญ่

ขณะที่ นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย บอกว่าสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตสหรับผู้ลงทุนคือ อยากเห็นผู้ลงทุนไทยมีที่ความรู้มากขึ้น เข้าใจการลงทุนมากขึ้นรวมถึงมองในภาพรวมและมองยาวขึ้น เป็นการลงทุน เพื่อ 10 -20 -30 ปีข้างหน้า อยากเห็นทางเลือกในการลงทุนที่มากขึ้นมีผู้ประกอบการที่มีจรรยาบรรณ ที่ดีและให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนมากขึ้น

เช่นเดียวกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่พูดไว้ก่อหน้านี้ว่า หัวใจของการดูแลเศรษฐกิจในประเทศอยู่ที่เรื่องของการลงทุน ไทยคงจะเติบโตโดยอิงกับการบริโภคในประเทศในอีก 4 - 5 ปี ข้างหน้า เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการลงทุนควบคู่กันไปด้วย ซึ่งควรจะลงทุนใน 2 อย่าง ที่สำคัญ คือ 1) ลงทุนสร้างความเข้มแข็งให้กับชนบท เพราะถ้าชนบทไทยยังเป็นเช่นปัจจุบันจะหวังพึ่งพิงเขาคงยากลำบาก ดังนั้นควรจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณใหม่จัดระเบียบงบประมาณใหม่ที่เป็น ประโยชน์ไปสู่ชนบทมากขึ้น เช่น ระบบชลประทาน การพัฒนาการเกษตร วิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกในอนาคตราคาสินค้าเกษตรจะสูงแต่กลับไม่มีการมุ่งไปพัฒนาในภาคเกษตรให้ดีขึ้นเท่าที่ควร และ 2) การปรับเปลี่ยนประเทศซึ่งไม่ใช่ปฏิรูป เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการลงทุนในด้านการศึกษาเทคโนโลยี และความรู้ต่างๆ โดยก่อนเกิดวิกฤติสัดส่วนการลงทุนของไทยประมาณ 40% ของ จีดีพี ปัจจุบันเหลือประมาณ 20% ของ จีดีพี เท่านั้น ยังไม่กลับไปเท่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเลย เพราะเอกชนไม่ลงทุนเท่าที่ควร

ในอนาคตของประเทศไทยอยู่ที่เราเลือกไม่ใช่เป็นเรื่องของชะตากรรม อย่าให้เราเป็นเหมือนประเทศในยุโรปที่เจอวิกฤติแต่ก็ไม่มีการปฏิรูปตัวเอง แต่ควรจะอาศัยวิกฤติเปลี่ยนแปลงตัวเราเองเพราะไทยมีโอกาสที่สูงมาก เพียงแต่ต้องทำตัวเองให้ดีให้เนื้อหอม เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติทั้งจากนักลงทุนญี่ปุ่นและจีนที่จะมี เข้ามาในภูมิภาคนี้อีกมากในอนาคต แต่ปัจจุบันประเทศไทยการเมืองก็ ทิศทางได้แต่คิดแต่ไม่เคยทำจริงจัง ควรจะดูตัวอย่างของอินเดียซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่มีความแตกต่างของคนในสังคมสูงมากต่างคนต่างคิดต่างรักษาประโยชน์ของตัวเอง การเมืองก็ไม่เคยมีความคิดดีๆ ออกมามองแต่ประโยชน์พรรคพวก ไม่มองประโยชน์ของประเทศชาติ แต่คนอินเดียไม่รอการเมืองแล้วสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นซึ่งท้ายสุดก็ย้อนกับไปเป็นแรงกดดันภาคการเมืองเอง

ประเทศไทยเองก็ควรทำเช่นกัน กรณีปฏิรูปการศึกษาถ้ารอการเมืองก็คงไม่เกิด เราต้องทำไปเลยไม่ต้องรอการเมือง รากเหง้าของการคอรับชั่นคือส่วนที่ไม่ดีสุดเป็นมะเร็งร้ายสุดของเมืองไทย จำเป็นต้องมีคนดีที่จะนำ ในส่วนของหุ้นอย่ามองแค่หุ้นขึ้นหรือลง หุ้นตกก็อย่าตื่นตกใจ ถ้าทำตัวเองให้แข็งแรง สร้างความเข้มแข็งและความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาชนเราก็จะผ่านสถานการณ์นี้ ไปได้
กำลังโหลดความคิดเห็น