xs
xsm
sm
md
lg

บัวหลวงชี้ปี55ไพรเวทฟันด์คึกคัก เหตุสคฝ.คุ้มครองเงินฝากเหลือ1ลบ.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บลจ. บัวหลวง มองปี 55 ตลาด"กองทุนส่วนบุคคล"เริ่มคึกคัก หลังสคฝ.เตรียมลดการคุ้มครองเงินฝากเหลือแค่ 1 ล้านบาท พร้อมรับปี54 นักลงทุนยังไม่กังวลเหตุเงินฝากยังคุ้มครองรายละ 50 ล้านบาท ขณะที่แบงก์ยังอัดแคมเปญเด็ดเสริมเพื่อดึงเงินเก่าอยู่ต่อ

นายหรรสา สุสายัณห์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่วันที่ 11 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือ (สคฝ.) เริ่มใช้มาตรการควบคุมเงินฝากเพียงรายละ 50 ล้านบาท ในส่วนของของลูกค้าที่ได้ลดการคุ้มครองเงินลงนั้นยังไม่ได้มีความคึกคักต่อการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลแต่อย่างไร แต่คาดว่าในปีหน้าหลังจากวันที่ 11 สิงหาคม 2555 ได้ควบคุมเงินฝากลดลงเหลือแค่ 1 ล้านบาท จะมีนักลงทุนเริ่มเข้าใช้บริการกองทุนส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สาเหตุที่ลูกค้ายังไม่ได้เข้ามาลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล เป็นเพราะว่าธนาคารพาณิชย์เองต่างก็มีแคมเปญไว้ให้ลูกค้าได้เข้าไปลงทุนอีกทางหนึ่ง และทาง บลจ. บัวหลวง เองมก็มีส่วนช่วยกับแบงก์กรุงเทพด้วย

โดย บลจ.บัวหลวง เองถือว่าเป็นตัวเสริมกับแบงก์ให้กับนักลงทุนหรือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในแก่นักลงทุน โดยขณะนี้บริษัทยังอยู่ในแผนงานเดิมคือ ยังคงให้ข้อมูลข่าวสารและความเข้าใจต่อการลงทุนมากขึ้น เพื่อที่ว่าพอปีหน้าเร่งมีผลบังคับใช้เหลือแค่ 1 ล้านบาท แล้วกองทุนส่วนบุคคลจะมีความคึกคักมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการแข่งขันจะมีความดุเดือดมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

"ผลกระทบต่อการลงทุนควบคุมของการคุ้มครองเงินฝาก กับบลจ.ในส่วนของกองทุนรวมส่วนบุคคลยังไม่ชัดเจน ถ้าเทียบกับแบงก์ เพราะทางแบงก์เองต่างออกผลิตภัณฑ์ต่า ๆ เข้ามาเสริมให้แก่นักลงทุน ซึ่งถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่ง รวมทั้ง บลจ. บัวหลวง เองก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางของการลงทุนที่เราทำควบคู่ไปกับของแบงก์กรุงเทพ ดังนั้นในตอนนี้เรายังคงเริ่งให้ความรู้ ต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง"

นายหรรสา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีหน้าคาดว่าภาพรวมของตลาดจะมีความคึกคักมากยิ่งขึ้น เพราะมีการเปิดเสรีมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้านการลงทุนจะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวมก็จะมีความคึกคักด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ แนวทางการบริหารกองทุนส่วนบุคคลของบลจ.บัวหลวงฯ นั้น จะใช้กลยุทธ์การบริหารไปพร้อมกับลูกค้า "Manage with Client" เน้นการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าหลัก 3 กลุ่ม คือ 1) ลูกค้าสถาบันขนาดใหญ่ 2) ลูกค้านิติบุคคลที่ต้องการผู้ช่วย และ 3) ลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ที่มาจากฐานลูกค้าธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก

จากเมื่อก่อนที่จะเน้นการบริหารให้ลูกค้า ตอนนี้ก็จะบริหารไปพร้อมกับลูกค้าเลย เพราะบริษัทอยากให้ลูกค้าให้ความสำคัญ กับการจัดพอร์ตการลงทุน โดยพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคล และระดับการยอมรับความเสี่ยง เพื่อทำการจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ร่วมกันกับลูกค้าตามแนวคิด "รู้ก่อนเลือก" ที่จะลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมของบลจ.บัวหลวงฯ รวมถึงใช้วิธีคัดสรรผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตลอดจนกองทุนจากต่างประเทศ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
กำลังโหลดความคิดเห็น