เศรษฐกิจโดยภาพรวมในปีนี้หลายฝ่ายมองว่าน่าจะเติบโตได้อีกประมาณ 4 - 5% จากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐก็ตาม ส่งผลให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีความคึกคักขึ้นมาบ้าง ทั้งนี้ด้านธุรกิจกองทุนรวมเองในปีนี้ยังคงมีการแข่งขันกันสูงมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการออกกองทุนใหม่ ๆ มาประชันกันเป็นว่าเล่น ขณะเดียวกันแผนกลยุทธด้านการตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุดก็ยังคงต้องทำอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ขณะนี้ยังคงมีการแข่งขันกันเพิ่มมากขึ้นเพื่อต้องการให้ความรู้ความเข้าใจต่อรูปแบบของการลงทุนให้เข้าถึงนักลงทุนมากที่สุด
วรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (บลจ.บัวหลวง) บอกว่า แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจกองทุนรวม บลจ. บัวหลวง จะมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ตรงใจมากขึ้น โดยผู้ลงทุนจะมีทางเลือกมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องให้ความรู้กับคนไทย ให้อยู่ในระดับอ่านออกเขียนได้ทางการเงิน และเข้าใจเรื่องการบริหารเงินส่วนบุคคล เพื่อให้สามารถหาวิธีการจัดการด้านการเงินของตนเองได้อย่างเหมาะสม
“บลจ.บัวหลวง ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลมาโดยตลอด พยายามให้ข้อแนะนำผู้ลงทุนให้รู้จักตนเอง รู้ว่ารับความเสี่ยงได้แค่ไหน รู้จักการจัดพอร์ตลงทุน และรู้จักทางเลือกต่างๆ ในการลงทุนโดยเฉพาะกองทุนรวมว่า มีคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง เราพยายามเผยแพร่เรื่องต่างๆ เหล่านี้ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มลูกค้าธนาคารกรุงเทพ สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ อีเมล์ การสัมมนา เว็บไซต์ต่างๆ รวมถึง social network ผ่าน Facebook ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ที่สื่อสารกับกลุ่มผู้สนใจได้รวดเร็วมากขึ้น” วรวรรณ บอก
ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล หรรสา สุสายัณห์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล บลจ. บัวหลวง บอกว่า จะใช้กลยุทธ์ “Manage with Client” เน้นการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าหลัก 3 กลุ่ม คือ ลูกค้าสถาบันขนาดใหญ่ ลูกค้านิติบุคคลที่ต้องการผู้ช่วย และลูกค้า High Net Worth จากฐานลูกค้าธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก
“เราอยากให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตการลงทุนโดยพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคล และระดับการยอมรับความเสี่ยง เพื่อทำ asset allocation ร่วมกันกับลูกค้าในคอนเซปต์ ‘รู้ก่อนเลือก’ ที่จะลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมของ บลจ.บัวหลวง รวมถึงใช้วิธีคัดสรรผลิตภัณฑ์ทางการเงินตลอดจนกองทุนจากต่างประเทศที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และสำหรับการยกเลิกคุ้มครองเงินฝาก คงไม่มีอะไรวุ่นวายหรือโกลาหล เพราะมีการให้ความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณชนมาโดยตลอด และเป็นที่รู้กันว่าจะไม่กระทบกับผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งเรามองเป็นโอกาสที่จะสานต่อการปลูกฝังเรื่อง“การอ่านออกเขียนได้ทางการเงิน” ให้คนรุ่นใหม่ๆ รวมถึงเป็นโอกาสนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่ม High Net Worth ที่มีเงินฝากจำนวนมากจนไม่ได้รับความคุ้มครองทั้งหมดซึ่งจะถูกกระทบจากเรื่องนี้ได้” หรรสา บอก
ส่วนการดำเนินงานด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะใช้กลยุทธ์ “เลือกที่ใช่ ได้ที่ชอบ” โดยจะรณรงค์เชิญชวนให้ลูกค้าเลือกการใช้ Employee‘s Choice เป็นเครื่องมือเพิ่มความเข้าใจ และใส่ใจในเงินทองของตนเองให้แก่สมาชิกกองทุน ลดช่องว่างในการสื่อสาร ระหว่าง บลจ. กับสมาชิก ให้น้อยลง เพิ่มความสะดวก รวดเร็วแก่ลูกค้าด้วยช่องทาง “บัวหลวง E-Channel” และช่วยพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ทางการเงินหรือ Financial Literacy ให้ขยายวงเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง
ด้านสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด บอกว่า บริษัทได้วางกลยุทธ์การดำเนินงานในครึ่งปีหลังไว้ 3 ประการ ได้แก่ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างที่เรียกว่า Fundlink online เพื่อต่อยอดให้แก่ธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนั้นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะใช้บริการผ่าน "Fund Link M Choice Online" ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกในอุตสาหกรรมที่สามารถพัฒนาระบบ การทำธุรกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้บริการแก่สมาชิกกองทุนในการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยได้เริ่มแนะนำให้แก่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
"การให้ "เสรีภาพ" ในการเลือกลงทุน จะนำมาซึ่ง Power of Choice และ Power of Information ซึ่งระบบ "FundLink M Choice Online" จะเป็นเสมือนตัวกลางส่งผ่านแนวคิดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการนี้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ บลจ.ทหารไทย จะมีเสรีภาพของตนเองและมีความสะดวกสบายในการเข้าสู่ระบบโดยกำหนด User Name และ Password ด้วยตนเองเพื่อเลือกแผนการลงทุนที่สามารถมีมากได้ถึง 10 นโยบาย นอกไปจากนั้นสมาชิกฯยังปรับสัดส่วนมูลค่าเงินลงทุนที่มีอยู่เดิมหรือเงินที่เข้าใหม่ในแบบที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้มากที่สุด และรการทำธุรกรรมต่างๆ ภายในเวลาที่กำหนดก็จะมีผลในวันที่ทำรายการนั้นโดยทันที กรณีสมาชิกลาออกจากงานก็สามารถรอรับเงินได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมเพราะทำรายการได้ทุกวัน" สมจินต์ บอก
กลยุทธ์ประการที่สอง คือการตลาดผสานความรู้ ( Educational Marketing ) จะให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการออมการลงทุนกับพนักงานในองค์กรและหน่วยงานต่างๆ โดยเน้นไปที่กลุ่มบริษัทจดทะเบียน บริษัทเอกชนชั้นนำ สถานศึกษาที่สนใจ โดยจะมีการจัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจ การแนะนำแนวทางการบริหารและวางแผน ทางเงิน ทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจให้แก่ผู้ลงทุน และกลยุทธ์สุดท้าย คือ การนำเสนอกองทุนใหม่ๆ รองรับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในกองทุนที่จะครบกำหนดอายุต่อไป
วรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (บลจ.บัวหลวง) บอกว่า แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจกองทุนรวม บลจ. บัวหลวง จะมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ตรงใจมากขึ้น โดยผู้ลงทุนจะมีทางเลือกมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องให้ความรู้กับคนไทย ให้อยู่ในระดับอ่านออกเขียนได้ทางการเงิน และเข้าใจเรื่องการบริหารเงินส่วนบุคคล เพื่อให้สามารถหาวิธีการจัดการด้านการเงินของตนเองได้อย่างเหมาะสม
“บลจ.บัวหลวง ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลมาโดยตลอด พยายามให้ข้อแนะนำผู้ลงทุนให้รู้จักตนเอง รู้ว่ารับความเสี่ยงได้แค่ไหน รู้จักการจัดพอร์ตลงทุน และรู้จักทางเลือกต่างๆ ในการลงทุนโดยเฉพาะกองทุนรวมว่า มีคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง เราพยายามเผยแพร่เรื่องต่างๆ เหล่านี้ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มลูกค้าธนาคารกรุงเทพ สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ อีเมล์ การสัมมนา เว็บไซต์ต่างๆ รวมถึง social network ผ่าน Facebook ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ที่สื่อสารกับกลุ่มผู้สนใจได้รวดเร็วมากขึ้น” วรวรรณ บอก
ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล หรรสา สุสายัณห์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล บลจ. บัวหลวง บอกว่า จะใช้กลยุทธ์ “Manage with Client” เน้นการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าหลัก 3 กลุ่ม คือ ลูกค้าสถาบันขนาดใหญ่ ลูกค้านิติบุคคลที่ต้องการผู้ช่วย และลูกค้า High Net Worth จากฐานลูกค้าธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก
“เราอยากให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตการลงทุนโดยพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคล และระดับการยอมรับความเสี่ยง เพื่อทำ asset allocation ร่วมกันกับลูกค้าในคอนเซปต์ ‘รู้ก่อนเลือก’ ที่จะลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมของ บลจ.บัวหลวง รวมถึงใช้วิธีคัดสรรผลิตภัณฑ์ทางการเงินตลอดจนกองทุนจากต่างประเทศที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และสำหรับการยกเลิกคุ้มครองเงินฝาก คงไม่มีอะไรวุ่นวายหรือโกลาหล เพราะมีการให้ความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณชนมาโดยตลอด และเป็นที่รู้กันว่าจะไม่กระทบกับผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งเรามองเป็นโอกาสที่จะสานต่อการปลูกฝังเรื่อง“การอ่านออกเขียนได้ทางการเงิน” ให้คนรุ่นใหม่ๆ รวมถึงเป็นโอกาสนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่ม High Net Worth ที่มีเงินฝากจำนวนมากจนไม่ได้รับความคุ้มครองทั้งหมดซึ่งจะถูกกระทบจากเรื่องนี้ได้” หรรสา บอก
ส่วนการดำเนินงานด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะใช้กลยุทธ์ “เลือกที่ใช่ ได้ที่ชอบ” โดยจะรณรงค์เชิญชวนให้ลูกค้าเลือกการใช้ Employee‘s Choice เป็นเครื่องมือเพิ่มความเข้าใจ และใส่ใจในเงินทองของตนเองให้แก่สมาชิกกองทุน ลดช่องว่างในการสื่อสาร ระหว่าง บลจ. กับสมาชิก ให้น้อยลง เพิ่มความสะดวก รวดเร็วแก่ลูกค้าด้วยช่องทาง “บัวหลวง E-Channel” และช่วยพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ทางการเงินหรือ Financial Literacy ให้ขยายวงเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง
ด้านสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด บอกว่า บริษัทได้วางกลยุทธ์การดำเนินงานในครึ่งปีหลังไว้ 3 ประการ ได้แก่ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างที่เรียกว่า Fundlink online เพื่อต่อยอดให้แก่ธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนั้นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะใช้บริการผ่าน "Fund Link M Choice Online" ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกในอุตสาหกรรมที่สามารถพัฒนาระบบ การทำธุรกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้บริการแก่สมาชิกกองทุนในการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยได้เริ่มแนะนำให้แก่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
"การให้ "เสรีภาพ" ในการเลือกลงทุน จะนำมาซึ่ง Power of Choice และ Power of Information ซึ่งระบบ "FundLink M Choice Online" จะเป็นเสมือนตัวกลางส่งผ่านแนวคิดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการนี้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ บลจ.ทหารไทย จะมีเสรีภาพของตนเองและมีความสะดวกสบายในการเข้าสู่ระบบโดยกำหนด User Name และ Password ด้วยตนเองเพื่อเลือกแผนการลงทุนที่สามารถมีมากได้ถึง 10 นโยบาย นอกไปจากนั้นสมาชิกฯยังปรับสัดส่วนมูลค่าเงินลงทุนที่มีอยู่เดิมหรือเงินที่เข้าใหม่ในแบบที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้มากที่สุด และรการทำธุรกรรมต่างๆ ภายในเวลาที่กำหนดก็จะมีผลในวันที่ทำรายการนั้นโดยทันที กรณีสมาชิกลาออกจากงานก็สามารถรอรับเงินได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมเพราะทำรายการได้ทุกวัน" สมจินต์ บอก
กลยุทธ์ประการที่สอง คือการตลาดผสานความรู้ ( Educational Marketing ) จะให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการออมการลงทุนกับพนักงานในองค์กรและหน่วยงานต่างๆ โดยเน้นไปที่กลุ่มบริษัทจดทะเบียน บริษัทเอกชนชั้นนำ สถานศึกษาที่สนใจ โดยจะมีการจัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจ การแนะนำแนวทางการบริหารและวางแผน ทางเงิน ทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจให้แก่ผู้ลงทุน และกลยุทธ์สุดท้าย คือ การนำเสนอกองทุนใหม่ๆ รองรับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในกองทุนที่จะครบกำหนดอายุต่อไป