ASTVผู้จัดการรายวัน - บลจ.บัวหลวง เร่งเครื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคล รับปัจจัยบวกทั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากและกองทุนการออมแห่งชาติ ล่าสุด ควงแขน "พิมโก้" เสนอตัวบริหารพอร์ต สปส. พร้อมประกาศความพร้อม ร่วมประมูลเค้ก สบน. 2 แสนล้าน
นายหรรสา สุสายัณห์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล บลจ.บัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระบบปัจจุบันมีสินทรัพย์สุทธิประมาณ 6 แสนล้านบาท หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของธุรกิจกองทุนรวม ปกติโตเฉลี่ยปีละ 15% ในปีนี้น่าจะโตเฉลี่ยประมาณ 10% ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลสิ้นปี53 มีสินทรัพย์ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท ถือว่ามีการเติบโตที่ค่อนข้างเร็วและน่าจะจะมีการเติบโตต่อเนื่องในช่วง 1 - 2 ปี ข้างหน้า โดยมีปัจจัยกระตุ้นจากการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่จะทยอยลดวงเงินครุ้มครองจนเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคนต่อธนาคาร ตั้งแต่ 11 ส.ค. 55 เป็นต้นไป ก็จะทำให้ลูกค้าเงินฝากจำนวนหนึ่งต้องมองหาการลงทุนอื่นมาทดแทน
นอกจากนี้ ปัจจัยบวกที่สำคัญอีกอย่างคือการมีกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในปี2555 เพื่อจะดึงกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระเข้ามาสู่ระบบการออมเพื่อเกษียณซึ่งมีอยู่ประมาณ 26 ล้านคน ซี่งทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ตั้งเป้าไว้ในปีแรกว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 20% หรือประมาณ 4 - 5 ล้านคน ซึ่งจะมีเงินจำนวนหนึ่งที่คงจะมีการจ้างบลจ.บริหารในลักษณะของกองทุนส่วนบุคคลตรงนี้ก็น่าจะทำให้กองทุนส่วนบุคคลมีการเติบโตขึ้นมาพอสมควร
“ในขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีการเติบโตต่อเนื่องได้เป็นปกติ เพราะมีเงินที่เข้ามาตลอดจากสมาชิกที่เป็นสมาชิกที่ออมเข้ามาอยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็จะมีทางเลือกการลงทุนผ่าน Employee’s Choices เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์การลงทุนของสมาชิกได้ดียิ่งขึ้น” นายหรรสากล่าว
นายหรรสา ยังกล่าวอีกว่า แนวทางการบริหารกองทุนส่วนบุคคลนั้น จะใช้กลยุทธ์การบริหารไปพร้อมกับลูกค้า “Manage with Client” เน้นการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าหลัก 3 กลุ่ม คือ 1) ลูกค้าสถาบันขนาดใหญ่ 2) ลูกค้านิติบุคคลที่ต้องการผู้ช่วย และ 3) ลูกค้า High Net Worth จากฐานลูกค้าธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก จากเมื่อก่อนที่จะเน้นการบริหารให้ลูกค้าตอนนี้ก้จะบริหารไปพร้อมกับลูกค้าเลย เพราะบริษัทอยากให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตการลงทุนโดยพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคล และระดับการยอมรับความเสี่ยง เพื่อทำการจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ร่วมกันกับลูกค้าตามแนวคิด “รู้ก่อนเลือก” ที่จะลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมของบลจ.บัวหลวง รวมถึงใช้วิธีคัดสรรผลิตภัณฑ์ทางการเงินตลอดจนกองทุนจากต่างประเทศที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังจะเข้าเสนอแข่งขันเพื่อบริหารเงินให้กับกองทุนของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มูลค่า 2 แสนล้านบาท รวมถึงการบริหารเงินลงทุนต่างประเทศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วย ซึ่งจะแบ่งให้บลจ. 3 แห่งไป บริหาร รายละ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“ทางบลจ.บัวหลวงได้จับมือกับพันธมิตรต่างประเทศ คือ พิมโก้ (PIMCO) เพื่อเสนอเข้าไปบริหารเงินลงทุนต่างประเทศของสปส.ในส่วนที่เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนที่เหลือจะเป็นหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งทางสปส.กำหนดให้แต่ละบลจ.ที่จะเสนอเข้าบริหารต้องหาพันธมิตรต่างประเทศเข้าไปด้วย ซึ่งทางบริษัทก็มั่นใจว่าถ้าเรื่องตราสารหนี้พิมโก้เขาคือเจ้าตลาดซึ่งเป็นที่ยอมรับในโลกอยู่แล้ว ส่วนการพิจารณาจะแล้วเสร็จคาดว่าน่าจะเป็นหลังที่มีรัฐบาลใหม่เรียบร้อยแล้ว”
นายหรรสา กล่าวเสริมว่า ส่วนการดำเนินงานด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทคงไม่เน้นเรื่องของปริมาณเพราะไม่อยากลงไปแข่งขันด้านราคา แต่จะเน้นการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะมาเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทมากกว่ารวมทั้งสามารถที่จะทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ร่วมกับบริษัทในอนาคตได้ด้วยเพื่อจะต่อยอดให้กับธุรกิจกองทุนรวมได้ด้วยก็จะเน้นคัดเลือกมากขึ้น ดังนั้นในแง่ของส่วนแบ่งการตลาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคงไม่ใช่ประเด็นหลักสำหรับบริษัท แทนที่จะไปมุ่งที่รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ขนาดแต่ไม่มีรายได้บริษัทคงจะหันมาจับฐานบริษัทขนาดกลางถึงเล็กซึ่งบริษัทเหล่านี้เมื่อเลือกใช้บริการกับเราแล้วก็จะอยู่กับเราไปอีกนานในระยะยาวไม่ค่อยเปลี่ยนผู้จัดการกองทุนบ่อยเหมือนบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งบริษัทขนาดเล็กสามารถเข้ามาใช้กองทุนร่วม (Pooled Fund) ได้เลย ปัจจุบันรายได้กว่า 50% ก็มาจากกองทุนร่วมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
“นอกจากนี้บริษัทยังจะใช้กลยุทธ์ “เลือกที่ใช่ ได้ที่ชอบ” โดยจะรณรงค์เชิญชวนให้ลูกค้าเลือกการใช้ Employee‘s Choice เป็นเครื่องมือเพิ่มความเข้าใจ และใส่ใจในเงินทองของตนเองให้แก่สมาชิกกองทุน ลดช่องว่างในการสื่อสาร ระหว่างบลจ.กับสมาชิก ให้น้อยลง เพิ่มความสะดวกรวดเร็วแก่ลูกค้าด้วยช่องทาง “บัวหลวง E-Channel” และช่วยพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ทางการเงินหรือ Financial Literacy ให้ขยายวงเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่งด้วย”
เข็นกองทุนบอนด์สั้นสู้ดอกเบี้ยขาขึ้น
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกสร้างสมดุลในการลงทุน โดยเลือกระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสมพร้อมกับเปิดโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการลงทุนเต็มที่โดยมองว่าถ้าเปรียบเทียบการให้ผลตอบแทนตามระยะเวลาการลงทุนนั้น
โดยปกติการลงทุนที่มีระยะเวลามากกว่ามักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งถ้าผลตอบแทนแทบจะใกล้เคียงกันนักลงทุนอาจเลือกพักเงินในการลงทุนระยะสั้นมาก ๆ เพื่อรอผลตอบแทนการลงทุนปรับขึ้นแล้วเข้าลงทุนต่อได้ แต่ถ้าเหมือนภาวะปัจจุบันที่ผลตอบแทนในแต่ระยะเวลาเช่น 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน ให้ผลตอบแทนที่ต่างกันพอสมควร นักลงทุนควรเลือกลงทุนในตัวที่ให้ผลตอบแทนดี เพื่อที่ให้ระหว่างช่วงที่รอดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนปรับขึ้นนั้นได้รับ ประโยชน์จากการลงทุนอย่างเต็มที่ แต่ต้องไม่ลืมที่จะลงทุนให้สอดคล้องกับความจำเป็นใช้เงินก้อนนั้น ๆ ด้วย
ล่าสุดบริษัทกำลังเปิดไอพีโอกองทุรวม กองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 16/11 หรือ B-Fixterm16/11 ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนประมาณร้อยละ 3.40 ต่อปี โดยมีอายุการลงทุนประมาณ 9 เดือน ลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท เปิดขายครั้งเดียววันนี้ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 และเมื่อกองทุนนี้ครบอายุนักลงทุนจะได้รับเงินลงทุนและผลตอบแทนโดยวิธีการ รับซื้อคืนอัตโนมัติ ที่สำคัญสำหรับนักลงทุนประเภทบุคคลได้รับผลตอบแทนโดยไม่ต้องเสียภาษี
ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่นักลงทุน โดยกองทุนมีแผนลงทุนในตั๋วเงินคลัง เงินฝาก ตราสารหนี้ของสถาบันการเงิน และตราสารหนี้ของเอกชน ในประเทศในสัดส่วนประมาณร้อยละ 51 และส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝากหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป กองทุน B-Fixterm16/11
สำหรับกองทุน B-Fixterm16/11 เหมาะสมกับเงินลงทุนของผู้ลงทุนในส่วนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในประเทศและตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเลือกลงทุนในตราสารหนี้ของกิจการที่มีความมั่นคงและมีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนที่จะนำมาลงทุนกองทุนนี้ควรเป็นเงินส่วนที่สามารถลงทุนได้ตามอายุกองทุน
โดยกองทุนจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ หรือต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ซึ่งส่วนการลงทุนในประเทศตราสารหนี้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน ตราสารหนี้สถาบันการเงินไทย หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตราสารหนี้ภาคเอกชนไทย ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตัวตราสาร และหรือผู้ออกตราสารในระดับ Investment Grade ณ วันที่ลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่ตราสารดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ตัวตราสารจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment Grade เท่านั้น
ส่วนการลงทุนในต่างประเทศตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงิน และหรือภาคเอกชน รวมถึงตราสารหนี้อื่นใด ที่เสนอขายในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือณ วันที่ลงทุน ในระดับ Investment Grade หรือเงินฝากต่างประเทศ
นายหรรสา สุสายัณห์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล บลจ.บัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระบบปัจจุบันมีสินทรัพย์สุทธิประมาณ 6 แสนล้านบาท หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของธุรกิจกองทุนรวม ปกติโตเฉลี่ยปีละ 15% ในปีนี้น่าจะโตเฉลี่ยประมาณ 10% ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลสิ้นปี53 มีสินทรัพย์ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท ถือว่ามีการเติบโตที่ค่อนข้างเร็วและน่าจะจะมีการเติบโตต่อเนื่องในช่วง 1 - 2 ปี ข้างหน้า โดยมีปัจจัยกระตุ้นจากการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่จะทยอยลดวงเงินครุ้มครองจนเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคนต่อธนาคาร ตั้งแต่ 11 ส.ค. 55 เป็นต้นไป ก็จะทำให้ลูกค้าเงินฝากจำนวนหนึ่งต้องมองหาการลงทุนอื่นมาทดแทน
นอกจากนี้ ปัจจัยบวกที่สำคัญอีกอย่างคือการมีกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในปี2555 เพื่อจะดึงกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระเข้ามาสู่ระบบการออมเพื่อเกษียณซึ่งมีอยู่ประมาณ 26 ล้านคน ซี่งทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ตั้งเป้าไว้ในปีแรกว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 20% หรือประมาณ 4 - 5 ล้านคน ซึ่งจะมีเงินจำนวนหนึ่งที่คงจะมีการจ้างบลจ.บริหารในลักษณะของกองทุนส่วนบุคคลตรงนี้ก็น่าจะทำให้กองทุนส่วนบุคคลมีการเติบโตขึ้นมาพอสมควร
“ในขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีการเติบโตต่อเนื่องได้เป็นปกติ เพราะมีเงินที่เข้ามาตลอดจากสมาชิกที่เป็นสมาชิกที่ออมเข้ามาอยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็จะมีทางเลือกการลงทุนผ่าน Employee’s Choices เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์การลงทุนของสมาชิกได้ดียิ่งขึ้น” นายหรรสากล่าว
นายหรรสา ยังกล่าวอีกว่า แนวทางการบริหารกองทุนส่วนบุคคลนั้น จะใช้กลยุทธ์การบริหารไปพร้อมกับลูกค้า “Manage with Client” เน้นการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าหลัก 3 กลุ่ม คือ 1) ลูกค้าสถาบันขนาดใหญ่ 2) ลูกค้านิติบุคคลที่ต้องการผู้ช่วย และ 3) ลูกค้า High Net Worth จากฐานลูกค้าธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก จากเมื่อก่อนที่จะเน้นการบริหารให้ลูกค้าตอนนี้ก้จะบริหารไปพร้อมกับลูกค้าเลย เพราะบริษัทอยากให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตการลงทุนโดยพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคล และระดับการยอมรับความเสี่ยง เพื่อทำการจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ร่วมกันกับลูกค้าตามแนวคิด “รู้ก่อนเลือก” ที่จะลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมของบลจ.บัวหลวง รวมถึงใช้วิธีคัดสรรผลิตภัณฑ์ทางการเงินตลอดจนกองทุนจากต่างประเทศที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังจะเข้าเสนอแข่งขันเพื่อบริหารเงินให้กับกองทุนของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มูลค่า 2 แสนล้านบาท รวมถึงการบริหารเงินลงทุนต่างประเทศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วย ซึ่งจะแบ่งให้บลจ. 3 แห่งไป บริหาร รายละ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“ทางบลจ.บัวหลวงได้จับมือกับพันธมิตรต่างประเทศ คือ พิมโก้ (PIMCO) เพื่อเสนอเข้าไปบริหารเงินลงทุนต่างประเทศของสปส.ในส่วนที่เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนที่เหลือจะเป็นหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งทางสปส.กำหนดให้แต่ละบลจ.ที่จะเสนอเข้าบริหารต้องหาพันธมิตรต่างประเทศเข้าไปด้วย ซึ่งทางบริษัทก็มั่นใจว่าถ้าเรื่องตราสารหนี้พิมโก้เขาคือเจ้าตลาดซึ่งเป็นที่ยอมรับในโลกอยู่แล้ว ส่วนการพิจารณาจะแล้วเสร็จคาดว่าน่าจะเป็นหลังที่มีรัฐบาลใหม่เรียบร้อยแล้ว”
นายหรรสา กล่าวเสริมว่า ส่วนการดำเนินงานด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทคงไม่เน้นเรื่องของปริมาณเพราะไม่อยากลงไปแข่งขันด้านราคา แต่จะเน้นการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะมาเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทมากกว่ารวมทั้งสามารถที่จะทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ร่วมกับบริษัทในอนาคตได้ด้วยเพื่อจะต่อยอดให้กับธุรกิจกองทุนรวมได้ด้วยก็จะเน้นคัดเลือกมากขึ้น ดังนั้นในแง่ของส่วนแบ่งการตลาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคงไม่ใช่ประเด็นหลักสำหรับบริษัท แทนที่จะไปมุ่งที่รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ขนาดแต่ไม่มีรายได้บริษัทคงจะหันมาจับฐานบริษัทขนาดกลางถึงเล็กซึ่งบริษัทเหล่านี้เมื่อเลือกใช้บริการกับเราแล้วก็จะอยู่กับเราไปอีกนานในระยะยาวไม่ค่อยเปลี่ยนผู้จัดการกองทุนบ่อยเหมือนบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งบริษัทขนาดเล็กสามารถเข้ามาใช้กองทุนร่วม (Pooled Fund) ได้เลย ปัจจุบันรายได้กว่า 50% ก็มาจากกองทุนร่วมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
“นอกจากนี้บริษัทยังจะใช้กลยุทธ์ “เลือกที่ใช่ ได้ที่ชอบ” โดยจะรณรงค์เชิญชวนให้ลูกค้าเลือกการใช้ Employee‘s Choice เป็นเครื่องมือเพิ่มความเข้าใจ และใส่ใจในเงินทองของตนเองให้แก่สมาชิกกองทุน ลดช่องว่างในการสื่อสาร ระหว่างบลจ.กับสมาชิก ให้น้อยลง เพิ่มความสะดวกรวดเร็วแก่ลูกค้าด้วยช่องทาง “บัวหลวง E-Channel” และช่วยพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ทางการเงินหรือ Financial Literacy ให้ขยายวงเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่งด้วย”
เข็นกองทุนบอนด์สั้นสู้ดอกเบี้ยขาขึ้น
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกสร้างสมดุลในการลงทุน โดยเลือกระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสมพร้อมกับเปิดโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการลงทุนเต็มที่โดยมองว่าถ้าเปรียบเทียบการให้ผลตอบแทนตามระยะเวลาการลงทุนนั้น
โดยปกติการลงทุนที่มีระยะเวลามากกว่ามักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งถ้าผลตอบแทนแทบจะใกล้เคียงกันนักลงทุนอาจเลือกพักเงินในการลงทุนระยะสั้นมาก ๆ เพื่อรอผลตอบแทนการลงทุนปรับขึ้นแล้วเข้าลงทุนต่อได้ แต่ถ้าเหมือนภาวะปัจจุบันที่ผลตอบแทนในแต่ระยะเวลาเช่น 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน ให้ผลตอบแทนที่ต่างกันพอสมควร นักลงทุนควรเลือกลงทุนในตัวที่ให้ผลตอบแทนดี เพื่อที่ให้ระหว่างช่วงที่รอดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนปรับขึ้นนั้นได้รับ ประโยชน์จากการลงทุนอย่างเต็มที่ แต่ต้องไม่ลืมที่จะลงทุนให้สอดคล้องกับความจำเป็นใช้เงินก้อนนั้น ๆ ด้วย
ล่าสุดบริษัทกำลังเปิดไอพีโอกองทุรวม กองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 16/11 หรือ B-Fixterm16/11 ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนประมาณร้อยละ 3.40 ต่อปี โดยมีอายุการลงทุนประมาณ 9 เดือน ลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท เปิดขายครั้งเดียววันนี้ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 และเมื่อกองทุนนี้ครบอายุนักลงทุนจะได้รับเงินลงทุนและผลตอบแทนโดยวิธีการ รับซื้อคืนอัตโนมัติ ที่สำคัญสำหรับนักลงทุนประเภทบุคคลได้รับผลตอบแทนโดยไม่ต้องเสียภาษี
ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่นักลงทุน โดยกองทุนมีแผนลงทุนในตั๋วเงินคลัง เงินฝาก ตราสารหนี้ของสถาบันการเงิน และตราสารหนี้ของเอกชน ในประเทศในสัดส่วนประมาณร้อยละ 51 และส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝากหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป กองทุน B-Fixterm16/11
สำหรับกองทุน B-Fixterm16/11 เหมาะสมกับเงินลงทุนของผู้ลงทุนในส่วนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในประเทศและตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเลือกลงทุนในตราสารหนี้ของกิจการที่มีความมั่นคงและมีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนที่จะนำมาลงทุนกองทุนนี้ควรเป็นเงินส่วนที่สามารถลงทุนได้ตามอายุกองทุน
โดยกองทุนจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ หรือต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ซึ่งส่วนการลงทุนในประเทศตราสารหนี้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน ตราสารหนี้สถาบันการเงินไทย หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตราสารหนี้ภาคเอกชนไทย ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตัวตราสาร และหรือผู้ออกตราสารในระดับ Investment Grade ณ วันที่ลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่ตราสารดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ตัวตราสารจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment Grade เท่านั้น
ส่วนการลงทุนในต่างประเทศตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงิน และหรือภาคเอกชน รวมถึงตราสารหนี้อื่นใด ที่เสนอขายในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือณ วันที่ลงทุน ในระดับ Investment Grade หรือเงินฝากต่างประเทศ