ASTVผู้จัดการรายวัน-ไอเอ็นจีประกันภัย ชี้คนชั้นกลางเอเชียทำประกันเพิ่มขึ้น กว่า 82% กำลังหากรมธรรม์เพิ่มความคุ้มครอง ส่วนตลาดไทยยังโตได้อีกมาก ระบุความไม่แน่นอน รายได้ และค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์มากที่สุด
นายแฟรงค์ คอสเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอเอ็นจีประกันภัย เอเชีย เปิดเผยว่า การสำรวจของไอเอ็นจี อินชัวรันซ์ แดชบอร์ด กับภาวการณ์ทำประกันภัยใหม่ในภูมิภาคเอเชีย พบว่า ชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชียที่มีการขยายตัว และเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการทำประกันภัยมีมากขึ้น โดยกว่า 82% กำลังพิจารณามองหากรมธรรม์ประกันภัยใหม่ๆ เพื่อซื้อความคุ้มครองเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการความมั่นคงและเสถียรภาพ หากต้องเผชิญเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
ส่วนประเทศไทย ปัจจุบันผู้ถือกรรมธรรม์ไอเอ็นจีประกันชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพฯ และอีก 4 เมืองใหญ่ ไอเอ็นจีเล็งเห็นว่า ตลาดประกันภัยของไทยสามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งยังมีลู่ทางการเติบโตอีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคระดับชนชั้นกลางของไทยเริ่มมองหาแนวทางในการดูแลและปกป้องคุณภาพชีวิตของตนกันมากขึ้น
"ปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่ไม่คาดคิดและค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศจีน ฮ่องกง มาเลเซีย และไทย รวมทั้งสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางครอบครัวในประเทศจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ส่งผลให้ตลาดเอเชียมีแนวโน้มพิจารณาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยเพิ่มเติม นอกจากนี้ ความต้องการมีสุขภาพที่ดี มีการศึกษา และที่อยู่อาศัยที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งความต้องการดำรงรูปแบบการดำเนินชีวิตของตัวเอง กอปรกับการมีรายได้ที่นำมาใช้จ่ายได้จริงเพิ่มขึ้น ทำให้ชาวเอเชียเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างหลักประกันในชีวิตกันมากขึ้น” นายคอสเตอร์กล่าว
นอกจากการสำรวจภาวการณ์ทำประกันภัยใหม่ของไอเอ็นจี อินชัวรันส์ แดชบอร์ด แล้ว ไอเอ็นจี กรุ๊ปยังได้ทำการสำรวจภาวการณ์ลงทุน โดยไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ แดชบอร์ด (ING Investor Dashboard)1 ไปพร้อมๆ กัน โดยผลสำรวจระบุว่า จากปัจจัยทางด้านระบบเศรษฐกิจและรายได้ที่ไม่แน่นอนในประเทศอินเดีย มาเลเซีย ไทย และญี่ปุ่น รวมทั้งความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศไทย และญี่ปุ่น ทำให้ตลาดเอเชียมีทิศทางที่มุ่งให้ความสำคัญกับการคุ้มครองรายได้มากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงหากเผชิญสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นายแฟรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับเหตุผลสำคัญ 3 ประการของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ในทุกประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ คือ เพื่อออมสำหรับเป็นหลักประกันรายได้ให้แก่ครอบครัว เพื่อเก็บออมเป็นบำนาญ และเพื่อออมสำหรับการศึกษาของบุตรหลาน อย่างไรก็ตาม ในฮ่องกงและประเทศไทย หนึ่งในสามเหตุผลหลัก คือ เพื่อออมสำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยและการทำธุรกิจ
รายงานผลการสำรวจของสวิสรี (SwissRe Report) 2 ฉบับล่าสุด เผยว่า ในปี 2553 เบี้ยประกันชีวิตในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น 13 % และทั่วโลกเพิ่มขึ้น 6 %
“ข้อมูลที่ค้นพบดังกล่าวบ่งชี้นัยสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก จากรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
ทำให้ครอบครัวชาวเอเชียเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างหลักประกันในชีวิตกันมากขึ้น
และประการที่ 2 ครอบครัวชาวเอเชียที่มีรายได้พอเพียงสำหรับการซื้อประกันรูปแบบดังกล่าวทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคในเอเชียต้องการดูแลตนเองและการดำเนินชีวิตของตน ที่สำคัญ คือ ต้องการสร้างโอกาสในการใช้ชีวิตในอนาคตอย่างมั่นคง” นายคอสเตอร์ กล่าวเสริม
ทั้งนี้ การสำรวจของไอเอ็นจี อินชัวรันซ์ แดชบอร์ด (ING Insurance Dashboard) เป็นการศึกษาพฤติกรรมการซื้อการประกันภัยของกลุ่มตัวอย่างที่มีเงินได้ระดับกลางใน 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย ไทย เกาหลี และญี่ปุ่น โดยทำการสำรวจในระยะเวลาเดียวกันกับการสำรวจภาวะการลงทุน ไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ แดชบอร์ด (ING Investor Dashboard) โดยดำเนินการสัมภาษณ์ออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างรวมจำนวน 2,300 คน ซึ่งการสำรวจดังกล่าวจัดทำโดยบริษัทวิจัยชั้นนำ
นายแฟรงค์ คอสเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอเอ็นจีประกันภัย เอเชีย เปิดเผยว่า การสำรวจของไอเอ็นจี อินชัวรันซ์ แดชบอร์ด กับภาวการณ์ทำประกันภัยใหม่ในภูมิภาคเอเชีย พบว่า ชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชียที่มีการขยายตัว และเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการทำประกันภัยมีมากขึ้น โดยกว่า 82% กำลังพิจารณามองหากรมธรรม์ประกันภัยใหม่ๆ เพื่อซื้อความคุ้มครองเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการความมั่นคงและเสถียรภาพ หากต้องเผชิญเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
ส่วนประเทศไทย ปัจจุบันผู้ถือกรรมธรรม์ไอเอ็นจีประกันชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพฯ และอีก 4 เมืองใหญ่ ไอเอ็นจีเล็งเห็นว่า ตลาดประกันภัยของไทยสามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งยังมีลู่ทางการเติบโตอีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคระดับชนชั้นกลางของไทยเริ่มมองหาแนวทางในการดูแลและปกป้องคุณภาพชีวิตของตนกันมากขึ้น
"ปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่ไม่คาดคิดและค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศจีน ฮ่องกง มาเลเซีย และไทย รวมทั้งสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางครอบครัวในประเทศจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ส่งผลให้ตลาดเอเชียมีแนวโน้มพิจารณาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยเพิ่มเติม นอกจากนี้ ความต้องการมีสุขภาพที่ดี มีการศึกษา และที่อยู่อาศัยที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งความต้องการดำรงรูปแบบการดำเนินชีวิตของตัวเอง กอปรกับการมีรายได้ที่นำมาใช้จ่ายได้จริงเพิ่มขึ้น ทำให้ชาวเอเชียเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างหลักประกันในชีวิตกันมากขึ้น” นายคอสเตอร์กล่าว
นอกจากการสำรวจภาวการณ์ทำประกันภัยใหม่ของไอเอ็นจี อินชัวรันส์ แดชบอร์ด แล้ว ไอเอ็นจี กรุ๊ปยังได้ทำการสำรวจภาวการณ์ลงทุน โดยไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ แดชบอร์ด (ING Investor Dashboard)1 ไปพร้อมๆ กัน โดยผลสำรวจระบุว่า จากปัจจัยทางด้านระบบเศรษฐกิจและรายได้ที่ไม่แน่นอนในประเทศอินเดีย มาเลเซีย ไทย และญี่ปุ่น รวมทั้งความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศไทย และญี่ปุ่น ทำให้ตลาดเอเชียมีทิศทางที่มุ่งให้ความสำคัญกับการคุ้มครองรายได้มากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงหากเผชิญสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นายแฟรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับเหตุผลสำคัญ 3 ประการของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ในทุกประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ คือ เพื่อออมสำหรับเป็นหลักประกันรายได้ให้แก่ครอบครัว เพื่อเก็บออมเป็นบำนาญ และเพื่อออมสำหรับการศึกษาของบุตรหลาน อย่างไรก็ตาม ในฮ่องกงและประเทศไทย หนึ่งในสามเหตุผลหลัก คือ เพื่อออมสำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยและการทำธุรกิจ
รายงานผลการสำรวจของสวิสรี (SwissRe Report) 2 ฉบับล่าสุด เผยว่า ในปี 2553 เบี้ยประกันชีวิตในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น 13 % และทั่วโลกเพิ่มขึ้น 6 %
“ข้อมูลที่ค้นพบดังกล่าวบ่งชี้นัยสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก จากรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
ทำให้ครอบครัวชาวเอเชียเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างหลักประกันในชีวิตกันมากขึ้น
และประการที่ 2 ครอบครัวชาวเอเชียที่มีรายได้พอเพียงสำหรับการซื้อประกันรูปแบบดังกล่าวทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคในเอเชียต้องการดูแลตนเองและการดำเนินชีวิตของตน ที่สำคัญ คือ ต้องการสร้างโอกาสในการใช้ชีวิตในอนาคตอย่างมั่นคง” นายคอสเตอร์ กล่าวเสริม
ทั้งนี้ การสำรวจของไอเอ็นจี อินชัวรันซ์ แดชบอร์ด (ING Insurance Dashboard) เป็นการศึกษาพฤติกรรมการซื้อการประกันภัยของกลุ่มตัวอย่างที่มีเงินได้ระดับกลางใน 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย ไทย เกาหลี และญี่ปุ่น โดยทำการสำรวจในระยะเวลาเดียวกันกับการสำรวจภาวะการลงทุน ไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ แดชบอร์ด (ING Investor Dashboard) โดยดำเนินการสัมภาษณ์ออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างรวมจำนวน 2,300 คน ซึ่งการสำรวจดังกล่าวจัดทำโดยบริษัทวิจัยชั้นนำ