xs
xsm
sm
md
lg

ประกันคึกหลังสึนามิ รถคันแรกกับราชาเงินผ่อน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีและมีผลเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา โดยมีเงื่อนไขห้ามโอนเปลี่ยนมือภายใน 5 ปียกเว้นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือพิสูจน์ได้ว่าผู้ซื้อรถผิดนัดไม่ผ่อนชำระต่อจริงไฟแนนซ์สามารถดำเนินการขายทอดตลาดได้

ส่วนขั้นตอนการขอยื่นคืนภาษีสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 คือต้องไปยื่นคำขอคืนเงินกับกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมเอกสารหลักฐาน ประกอบด้วย 1.หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี 2.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ 3.สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ) หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้ตามลำดับ

มาตรการดังกล่าวนอกจากตลาดรถยนต์บ้านเราจะได้รับอานิสงส์จากนโยบายประชานิยมฉบับพรรคเพื่อไทยแล้ว ธุรกิจประกันภัยเป็นอีกประเภทหนึ่งที่พลอยได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้เช่นกัน

การประกันภัยรถยนต์บ้านเรามีทั้งภาคบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และการประกันภัยภาคสมัครใจ และอย่างที่ทราบกันเมื่อช่วงต้นปีเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อการส่งมอบรถยนต์และธุรกิจประกันภัยพอสมควร แต่หลังจากนี้จากนี้วงการคงกลับมาคึกคักกว่าเดิม เพราะหากโครงการนี้สามารถกระตุ้นการซื้อรถยนต์ใหม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ 5 แสนคัน

ประเมินกันคร่าวๆ กับการทำเบี้ยประกัน 1หมื่นบาทต่อคันจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในธุรกิจประกันภัยอีกประมาณ 5 พันล้านบาท

ปัจุบันเบี้ยรับตรงในส่วนของการประกันภัยรถยนต์จากรายงานของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ณ เดือนมิถุนายน 2554 มีเบี้ยรับตรงรวม 41,290 ล้านบาท แบ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับ(พ.ร.บ.) 5,989 ล้านบาท ประกันภัยภาคสมัครใจ 35,300 ล้านบาท

ถ้ามองมาร์เก็ตแชร์ในส่วนของการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ อันดับ 1 ได้แก่ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยมีเบี้ยรับตรง 1,867 ล้านบาท ส่วนอันดับ 2 วิริยะประกันภัยมีเบี้ยรับตรง 1,017 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัทส่งเสริมประกันภัย 518 ล้านบาท อันดับที่ 4 สินมั่นคงประกันภัย 320 ล้านบาท อันดับ 5 มิตรแท้ประกันภัย 158 ล้านบาท

ส่วนมาร์เก็ตแชร์ของการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ อันดับ 1 ได้แก่ วิริยะประกันภัยมีเบี้ยรับตรง 9,141 ล้านบาท อันดับ 2 สินมั่นคงประกันภัยมีเบี้ยรับตรง 2,689 ล้านบาท อันดับ 3 แอลเอ็มจีประกันภัยมีเบี้ยรับตรง 2,070 ล้านบาท อันดับ 4 กรุงเทพประกันภัยมีเบี้ยรับตรง 2,003 ล้านบาท อันดับ 5 ประกันคุ้มภัยมีเบี้ยรับตรง 1,978 ล้านบาท

ขณะที่มาร์เก็ตแชร์ของตลาดรวมการประกันภัยรถยนต์ทั้งหมดแบ่งเป็น

1.วิริยะประกันภัย มีเบี้ยรับตรง 10,159 ล้านบาท

2.สินมั่นคงประกันภัย มีเบี้ยรับตรง 3,009 ล้านบาท

3.แอลเอ็มจีประกันภัย มีเบี้ยรับตรง 2,197 ล้านบาท

4.กรุงเทพประกันภัย มีเบี้ยรับตรง 2,102 ล้านบาท

5.ประกันคุ้มภัย มีเบี้ยรับตรง 2,088 ล้านบาท

6.ธนชาตประกันภัย มีเบี้ยรับตรง1,889 ล้านบาท

7.บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยฯ มีเบี้ยรับตรง 1,867 ล้านบาท

8.โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย มีเบี้ยรับตรง 1,440 ล้านบาท

9.ทิพยประกันภันภัย มีเบี้ยรับตรง 1,149 ล้านบาท

10.บมจ.เมืองไทยประกันภัย 962 ล้านบาท

ทั้งหมดเป็นภาพรวมของการรับประกันภัยรถยนต์ ส่วนหลังจากนี้การแข่งขันจะเป็นอย่างไรคงจะต้องจับตามองกันต่อไป เพราะที่ผ่านมาถึงไม่มีนโยบายรถคันแรก ทุกบริษัทก็ต่างงัดสินค้า โปรโมชั่น และการบริการลูกค้าออกมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว

จบกับภาพรวมธุรกิจประกันภัยที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายรถคันแรกกันไปแล้ว ส่วนตัวผู้เขียนอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลาง พนักงานออฟฟิศ เข้าข่ายที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายจากนโยบายข้างต้น

ต้องยอมรับว่าเบื้องต้นรู้สึกอยากได้รถคันแรกไว้ขับแอร์เย็นๆ มีเพลงฟัง ไม่ต้องเดินตากแดด ขึ้นรถ ลงเรือ ต่อวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง แต่คิดกลับอีกครั้งในแง่ของการบริหารประเทศและประโยชน์ส่วนรวมเหมือนโดนหลอกล่อให้เราทำงานอาบเหงื่อตัวเป็นเกลียว เพื่อให้เป็นส่วนเล็กๆ กับการการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวอยุ่ แต่คนกลุ่มนี้กลับต้องเป็นหนี้เพิ่มจากการผ่อนรถยนต์ไปอีกอย่างน้อย 5 ปี

ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม่บริษัทลีสซิ่งถึงยังไม่แน่ใจกับนโยบายเพราะกลัวหนี้เสียที่จะตามมา อย่าลืมว่าเศรษฐโลกชะลอตัว ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง แต่ประเทศไทยถึงแม้จะอยู่ในภูมิภาคเอเชียและไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอนาคตจะไม่มีมีผลกระทบตามมาอีกหากทรุดไปกว่านี้ เอาเป็นว่าไม่ได้บอกให้รัดเข็มขัดเพียงแต่ระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นจะดีกว่า

ที่ร่ายยาวมาก็อยากจะยกตัวอย่างให้เห็นเท่านั้นว่า กลุ่มชนชั้นกลางแถบไม่ได้ประโยชน์อะไรจริงๆ จังกับนโยบายนี้เลย ที่น่าจะมีผลดีจริงๆ กับเงินที่จะนำมาทำประชานิยมส่วนนี้ 30,000 ล้านบาทและอีกหลายส่วนน่าจะไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้ง รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ มากกว่า เพราะหากระบบขนส่งมวลชนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมไปตามต่างจังหวัดแล้ว เชื่อแน่ว่าเศรษฐกิจของประเทศคงขยายตัวไปตามภูมิภาคต่างๆได้ดีกว่านี้

แต่ถ้ายังคงเน้นฉาบฉวยขอคะแนนเสียงเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองมากกว่าประเทศ อนาคตหนี้สาธารณะกับการหว่านเงินทำประชานิยมคงได้วกกลับมาเล่นงานคนไทยทั้งประเทศอีกแน่ ซึ่งคนรวยคงไม่เท่าไร เพราะที่ผ่านมคนรวยก็ยังรวยกันต่อ ส่วนคนชั้นกลาง ชาวนา ชาวบ้าน ก็คงต้องก้มหน้าทำงานเพื่อเป็นหนี้กันต่อไป

ยิ่งมีรถคันแรกอีกด้วยคงเข้าตำรา"ผ่อนทั้งบ้าน ทั้งรถยนต์"...ต้องเหนื่อยกันอีกนาน
กำลังโหลดความคิดเห็น