บลจ.วรรณ รับคุยกับบล.ภัทร ดึงนักลงทุนสถาบันลงทุนกองทุนเปิด "สตราทิจิค แอสเซ็ท อโลเคชั่น" เพิ่ม มั่นใจกองทุนตอบโจทย์นักลงทุนไพรเวทเวลธ์ ล่าสุดส่งกองทุน"วรรณ ตราสารหนี้ 6M4" เอาใจนักลงทุนชอบเสี่ยงน้อยเปิดขายไอพีโอแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 26 กันยายน 2554
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า เสียงตอบรับกองทุนเปิด สตราทิจิค แอสเซ็ท อโลเคชั่น( SG-AA )นั้นค่อนข้างดี ซึ่งในช่วงแรกกรอบการลงทุนและสไตล์การลงทุนจะเป็นตามกรอบของที่ บล.ภัทรแนะนำมาก่อน เพราะฐานลูกค้าในช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นฐานลูกค้าของ บล.ภัทรเป็นหลัก โดยบลจ.วรรณ จะพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นภายใต้กรอบการให้คำแนะนำในด้านการลงทุนที่ระบุไว้ในบทวิเคราะห์ Asset Allocation ที่ได้รับจาก บล.ภัทรซึ่งเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจสุดท้ายขึ้นกับบริษัทซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนเป็นสำคัญ โดยกองทุนนี้ในช่วงแรกตั้งมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มลูกค้าไพรเวทเวลธ์ (Private Wealth) เป็นหลัก เพื่อให้สามารถกระจายการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผ่านเครื่องมือกองทุนรวมซึ่งมีบริษัทเป็นผู้บริหารจัดการกองทุน
ทั้งนี้ เราได้มีพูดคุยกับบล.ภัทร ไว้เช่นกันว่าจะมีการทำตลาดในส่วนของนักลงทุนสถาบันเพิ่มเติม เพราะปัจจุบันเองนักลงทุนรายย่อยที่สนใจจะลงทุนก็สามารถเข้ามาลงทุนได้เช่นกัน แต่บริษัทเห็นว่าการไปจับกลุ่มนักลงทุนสถาบันน่าจะเหมาะสมกว่า จากวันเริ่มต้นกองทุน SG-AA ในวันที่ 19 ส.ค.2554 มีสินทรัพย์สุทธิประมาณ 754.52 ล้านบาท ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาเป็น 903.36 ล้านบาท ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 148.84 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.73% ในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน
สำหรับกองทุนเปิด สตราทิจิค แอสเซ็ท อโลเคชั่น จะให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และต่างประเทศในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยประมาณ 70% จะเป็นการลงทุนในประเทศ และอีก 30% เป็นการลงทุนต่างประเทศ โดยเป็นการลงทุนผ่านกองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) ของ บลจ.อื่นประมาณ 15% และไปลงทุนผ่านกองทุนในต่างประเทศโดยตรงประมาณ 15%
นอกจากนี้ บลจ.วรรณ กำลังอยู่ในช่วงเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุนเปิด วรรณ ตราสารหนี้ 6M4 ตั้งแต่วันนี้ถึง 26 กันยายน 2554 ซึ่งกองทุนมีขนาดกองทุนอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท โดยกองทุนดังกล่าวจะลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่มีคุณภาพ และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ที่เสนอขายในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) โดยในกรณีที่ตราสารดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debt) ตัวตราสารนั้นจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร (Issue Rating) อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) เท่านั้น
ขณะเดียวกัน กองทุนอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ก.ล.ต. และกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ ไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ กองทุน จะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (Fully Hedge) กองทุนอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) แต่กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) นอกจากนี้ กองทุนอาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non - Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities)
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า เสียงตอบรับกองทุนเปิด สตราทิจิค แอสเซ็ท อโลเคชั่น( SG-AA )นั้นค่อนข้างดี ซึ่งในช่วงแรกกรอบการลงทุนและสไตล์การลงทุนจะเป็นตามกรอบของที่ บล.ภัทรแนะนำมาก่อน เพราะฐานลูกค้าในช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นฐานลูกค้าของ บล.ภัทรเป็นหลัก โดยบลจ.วรรณ จะพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นภายใต้กรอบการให้คำแนะนำในด้านการลงทุนที่ระบุไว้ในบทวิเคราะห์ Asset Allocation ที่ได้รับจาก บล.ภัทรซึ่งเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจสุดท้ายขึ้นกับบริษัทซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนเป็นสำคัญ โดยกองทุนนี้ในช่วงแรกตั้งมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มลูกค้าไพรเวทเวลธ์ (Private Wealth) เป็นหลัก เพื่อให้สามารถกระจายการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผ่านเครื่องมือกองทุนรวมซึ่งมีบริษัทเป็นผู้บริหารจัดการกองทุน
ทั้งนี้ เราได้มีพูดคุยกับบล.ภัทร ไว้เช่นกันว่าจะมีการทำตลาดในส่วนของนักลงทุนสถาบันเพิ่มเติม เพราะปัจจุบันเองนักลงทุนรายย่อยที่สนใจจะลงทุนก็สามารถเข้ามาลงทุนได้เช่นกัน แต่บริษัทเห็นว่าการไปจับกลุ่มนักลงทุนสถาบันน่าจะเหมาะสมกว่า จากวันเริ่มต้นกองทุน SG-AA ในวันที่ 19 ส.ค.2554 มีสินทรัพย์สุทธิประมาณ 754.52 ล้านบาท ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาเป็น 903.36 ล้านบาท ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 148.84 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.73% ในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน
สำหรับกองทุนเปิด สตราทิจิค แอสเซ็ท อโลเคชั่น จะให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และต่างประเทศในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยประมาณ 70% จะเป็นการลงทุนในประเทศ และอีก 30% เป็นการลงทุนต่างประเทศ โดยเป็นการลงทุนผ่านกองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) ของ บลจ.อื่นประมาณ 15% และไปลงทุนผ่านกองทุนในต่างประเทศโดยตรงประมาณ 15%
นอกจากนี้ บลจ.วรรณ กำลังอยู่ในช่วงเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุนเปิด วรรณ ตราสารหนี้ 6M4 ตั้งแต่วันนี้ถึง 26 กันยายน 2554 ซึ่งกองทุนมีขนาดกองทุนอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท โดยกองทุนดังกล่าวจะลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่มีคุณภาพ และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ที่เสนอขายในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) โดยในกรณีที่ตราสารดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debt) ตัวตราสารนั้นจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร (Issue Rating) อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) เท่านั้น
ขณะเดียวกัน กองทุนอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ก.ล.ต. และกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ ไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ กองทุน จะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (Fully Hedge) กองทุนอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) แต่กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) นอกจากนี้ กองทุนอาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non - Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities)