ภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงนี้ จะเห็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญการเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรป ยังอ่อนเปรี้ยเพลียแรง จากปัญหาหนี้สินที่รุมเร้าและยังไม่มีความชัดเจนว่าจะแข็งแรงเป็นปกติเมื่อใด โดยเฉพาะในรายของสหรัฐฯ นั้น จับตามองกันว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจQE3 นั้นจะออกมาหรือไม่ ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯเอง ก็พยายามแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ที่สุดแล้ว ขณะเดียวกัน ความไม่มั่นใจต่อเศราฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยนั้น ส่งผลให้สินทรัพย์อย่างทองคำ ปรับตัวขึ้นลงอย่างรุนแรงมากในระยะนี้ และก็มีแนวโน้ใเช่นเดียวกันว่าจะขึ้นต่อไปอีกในอนาคต
แต่เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่อหนึ่งนอกจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทสที่พัฒนาแล้วนั้น คือ สภาพภาวะเศรษฐกิของโลกที่มีเงินทุนอยู่จำนวนมากรวมถึงประเทศไทยด้วย ที่มีเงินทุนอยู่จำนวนมากและเป็นสภาวะที่ไม่ปกตินักในประเทศไทย รวมถึงตลาดเงินและตลาดทุน ของไทยที่นับวันการแข่งขันในตลาดทุนที่เริ่มข้มข้นมากขึ้น จึงเกิดคำถามว่าประเทศไทยจะสามารถจัดการกับเงินทุนที่มีอยู่จำนวนมากอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด
จากการเปิดเผยของ ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด ในงานสัมนาเรื่อง “รัฐบาลใหม่ : จุดเปลี่ยนตลาดเงินตลาดทุนไทยจริงหรือ?” ที่ผ่านมาไม่นานนี้ บอกว่า ปัจจุบันตลาดเงินไทยมีความผิดปกติจากสภาพคล่องส่วนเกินที่ล้นระบบอยู่นานไม่ต่ำกว่า 3 ปี จากการที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีตั้งแต่ต่ำไปถึงสูง รวมถึงปัญหาคนที่อยากกู้แต่กู้ไม่ได้ ทำให้ ปัจจุบันมีสัดส่วนเงินสินเชื่อต่อเงินฝากประมาณ 88.9% โดยในช่วงอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ประเทศไทยเน้นพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ ( Out - In Mode) ส่งผลให้กฎระเบียบต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามมา ได้เอื้อให้เงินไหลเข้ามากกว่าไหลออก
ดังนั้นจึงตั้งคำถามว่าหากจะเปลี่ยนนโยบายมาเป็น Neutral Mode จะทำได้หรือไม่ เพราะหากเปลี่ยนได้ ท่ามกลางสภาวะที่สภาพคล่องส่วนเกินที่ยังล้นระบบโลกและพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยก็ยังแข็งแกร่งอยู่เช่นนี้ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติทั้งในตลาดเงิน-ตลาดทุนในช่วงที่ผ่านมา
ในส่วนของตลาดทุนซึ่งถือเป็นแหล่งที่จะเปลี่ยนเงินออมมาเป็นเงินลงทุนก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันตลาดทุนไทยมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดอื่นในโลก ซึ่งมีความเห็นออกมาเช่น จะทำอย่างไรที่จะเพิ่มหุ้นในตลาดให้มากขึ้นเพื่อให้ตลาดหุ้นไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพมากขึ้น หรือจะเปิดให้บลจ.ลงทุนในกองทุนนิติบุคคลเอกชน (Private Equity) ได้อย่างเต็มที่หรือไม่ โดยไม่ต้องผ่านรูปแบบของกองทุนรวมที่จะถูกจำกัดการเข้าไปถือหุ้นเพื่อลงทุนได้ไม่เกิน 20% รวมไปถึงการสนับสนุนให้มีกองทุนสาธารณูปโภค (Infrastructure Fund) เกิดขึ้นโดยเร็วเพื่อนำมาใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นต้น
นี่เป็นคำถามที่สำคัญสำหรับนโยบายชุดนี้ในว่าจะจัดการกับปัญหาเงินล้นระบบอย่างไร เพราะตลาดโลกเองก็มีสภาพคล่องล้นระบบเช่นกันที่พร้อมจะไหลไปท่วมประเทศใดก็ได้ในโลก แล้วรัฐบาลจะบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเป็นจำนวนมากในปัจจุบันได้อย่างไร จะนำบางส่วนมาตั้งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (SWF) หรือไม่ หรือจะให้มีการกู้เงินตราต่างประเทศจากเงินสำรองระหว่างประเทศแทนโดยไม่ต้องไปกู้จากต่างประเทศ เป็นต้น
นี่กำลังเป็นภาวะการที่ตลาดเงิน-ตลาดทุนของไทยกำลังรับมือกับการแข่งขันที่เข้มข้นจากตลาดโลก ซึ่งหลีกหนีไม่พ้น จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่แท้ที่จริงที่จะไปสู่ประเทศโดยรวมให้ได้รับผลดีโดยทั่วไป
เสียงจากผู้จัดการกองทุน ในเรื่องการพัฒนาตลาดเงิน-ตลาดทุนนั้น ไพศาล ครุฑดำรงชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด บอกว่า การนำเงินทุที่มีอยู่มากไปลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจนั้น เป็นเรื่องที่ดี เช่นการตั้งกองทุนที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยมองว่าในระยะยาวแล้วเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรจะมีการบริหารรวมถึงมีระบบการป้องกันต่างๆอย่างดี เพื่อความมั่นใจของนักลงทุนที่จะมาซื้อกองทุน
นอกจากนี้ ในเรื่องของการพัฒนาตลาดทุนนั้น สิ่งที่อยากเห็นคือการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ของไทย ซึ่งยังไม่สามารถเติบโตได้มาก โดยปัจจุบันเมื่อเทียบกับเงินฝากและการลงทุนในหุ้น คำถามคือจะมีการพัฒนาอย่างไรให้ตราสารหนี้ของไทยเติบโตขึ้นได้ โดยปัจจุบันยังมีปัญหาอยู่ในหลายปัจจัย ซึ่งในส่วนของสถาบันการเงินอย่าง บลจ.นั้น มีหน้าที่ระดมเงินทุนเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในการบริหารแต่อย่างใด
ขณะเดียวกัน การจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับการลงทุนนั้น ทางตลาดหลักทรัพย์ก็ยังคงต้องคอยตรวจสอบในการออกผลิตภัณฑ์ โดยยังมีซึ่งกลุ่มหนึ่งมองว่ายัง กังวลในความเสี่ยงที่จะเกิดแก่นักลงทุน ขณะที่อีกกลุ่มก็พยายามให้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีความซับซ้อนได้
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารกองทุนรวม จาก บลจ.ทหารไทย มองว่า ปัจจุบันตลาดเงินตลาดทุนก็ได้พัฒนามามากแล้ว รัฐบาลได้ให้ความสำคัญมากขึ้นในการพัฒนาตลาดเงิน-ตลาดทุน เช่นในเรื่อง การให้ความสำคัญกับกองทุน LTF และ RMF และการลงทุนเพื่อนการลดภาษี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีปัญหาในเรื่องการขยายตลาดทุน สำหรับบริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียน หลายบริษัทยังไม่อยากเข้ามาในตลาด ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องไปดูว่าทำไมบริษัทเหล่านั้นถึงไม่อยากเข้ามาในตลาด รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจด้วยเช่นเดียวกัน
การพัฒนาตลาดเงิน-ตลาดทุน ต้องเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือการพัฒนาอย่างมีระบบ คำนึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นโดยรวมให้มากที่สุด รวมไปถึงความโปร่งใส และกฎระเบียบในการป้องกันความผิดพลาดต่างๆที่อาจขึ้นได้ และยังรวมไปถึงการให้ความรู้ควบคู่กันไป แม้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาดำเนินไปให้ทันต่อโลกที่มีการแข่งขันสูงและเป็นไปอย่างรวดเร็วก็ตาม เราก็ต้องรอดูว่ารัฐบาลใหม่ที่มีนายกหญิงคนแรกของประเทศไทยนั้น จะสามารถพัฒนาเรื่องนี้ให้เป็นไปอย่างไรได้บ้าง....