เด็กสาวคนหนึ่งอยากมีพ่อที่ดีที่สุดหลังจากถูกบรรดาเพื่อนๆ ที่โรงเรียนล้อเลียนต่างๆ นานา จนรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ และนำไปสู่ความผิดพลาดจนเกือบต้องแลกด้วยชีวิต โดยหารู้ไม่ว่าพ่อที่ไม่สมประกอบเป็นใบ้หูหนวกของเขาพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้ลูกสาวที่รักของตนมีความสุข ซึ่งกว่าเด็กสาวจะรู้ว่าพ่อที่เขามีถึงแม้จะไม่ใช่พ่อที่ดีที่สุด "แต่เป็นพ่อที่รักเขามากที่สุด" ก็เกือบจะสายเกินไป
เป็นบทสรุปของภาพยนต์โฆษณาชุดใหม่ Silence of Love ที่ไทยประกันชีวิตนำเสนอออกสู่สายตาคนไทยในปีนี้ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงจำได้กับความประทับใจ และกินใจ
หากมองย้อนไปในโฆษณาของไทยประกันชีวิตก่อนหน้านี้จะพบว่า นอกจากความประทับใจแล้วยังแฝงแง่คิดเตือนใจในแง่ต่างๆ สำหรับคนที่คุณรักอีกด้วย
สำหรับคนไทยคงจำกันได้ดีทั้งโฆษณาชุดแม่ต้อย หญิงสาวที่ฐานะยากจน ถูกสามีทิ้ง กับการเก็บเด็กเร่ร่อน 3 คนมาเลี้ยง อย่างคิตตี้เด็กสาวที่บ้านแตก แมพเด็กชายที่เป็นโปลิโอ และโตเด็กชายขี้ขโมย แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้กับโรคมะเร็งที่ทำให้เธอมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 2 ปี โดยที่เธอยังเข้มแข็งและเชื่อว่า เวลา 2 ปียังสามารถทำอะไรได้อีกมาก
ปู่ชิว เหตุผลของชายชราอายุ 86 ปี ที่ต้องตื่นแต่เช้าเตรียมน้ำซุป และออกจากบ้านพร้อมซอ 2 สายก่อนออกเดินทางขึ้นภูเขากว่า 20 กิโลเมตร เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว เพียงเพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับภรรยาว่าจะทำน้ำซุปให้เธอทานทุกเช้า และเล่นเพลงที่เธอชอบให้เธอฟังไปตลอดชีวิต(ของเขา) ถึงแม้ว่าภรรยาจะตายจากไปแล้วก็ตาม
รวมถึงกลุ่มเด็กน้อยในโฆษณาชุดWhatever will be will beที่นำภาพเด็กน้อยน่ารักมารวมกลุ่มร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "เดอะแมนฮูนิวทูเมิช" ซึ่งมีเนื้อหาจากความอยากรู้อยากเห็นของเด็กว่าอนาคตของตนจะเป็นอย่างไร จะสวยหล่อ หรือร่ำรวย หรือไม่ กับคำตอบของแม่เพื่อปลอบใจลูกน้อยว่า "อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด" ก่อนที่จะฉายภาพให้เห็นว่าเด็กน้อยเหล่านั้นเป็นเด็กที่มีความพิการตั้งแต่กำเนิด
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังโฆษณาจากไทยประกันชีวิต หากพักประเด็นแง่คิดเตือนใจเอาไว้ก่อน แน่นอนว่าโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของการทำตลาดที่แต่ละบริษัทจะนำเสนอออกมาท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจประกันภัย และประกันชีวิต แต่นอกจากการแข่งขันในด้านนี้แล้ว ธุรกิจประกันของประเทศไทยขณะนี้กำลังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามแผนพัฒนาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย(คปภ.)
ยิ่งล่าสุดกับการประกาศใช่อัตรามรณะใหม่ในวันที่ 1 สิงหาคม 2554 หลังเคยเลื่อนจากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เพื่อให้บริษัทประกันชีวิต มีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการยื่นขอเปลี่ยนอัตราเบี้ยประกันภัยใหม่ต่อนายทะเบียน และเตรียมความพร้อมด้านระบบการดำเนินงานภายใน รวมถึงระบบการขายผ่านช่องทางต่างๆ
คปภ.เชื่อว่าการปรับอัตรามรณะใหม่ปี 2551 จะเป็นการทำให้ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน หลังจากเดิมการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยและมูลค่าต่างๆ ของบริษัทประกันชีวิตจะใช้อัตรามรณะไทย ปี 2540
อานิสงส์จากการปรับอัตรามรณะใหม่นั้นจะส่งผลให้อัตราเบี้ยประกันลดลง สอดคล้องกับช่วงอายุของประชากรในปัจจุบัน ที่มีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น อัตราการเสียชีวิตหรืออัตราการตายลดลงโดยเฉพาะข้อกำหนดที่ให้มีการแยกเพศในการคำนวณ ซึ่งการเปรียบเทียบจากข้อมูลอัตรามรณะของปี 2540 กับปี 2551 ของสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย พบว่า ประชากรไทยมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลงทั้งเพศชายและหญิง ยกตัวอย่างเช่น (อัตราส่วนปี 2551 ต่อปี 2540)
ช่วงอายุ 20 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 46% เพศหญิงมีอัตรา 71% ช่วงอายุ 30 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 44% เพศหญิงมีอัตรา 62%
ช่วงอายุ 40 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 59% เพศหญิงมีอัตรา 63% ช่วงอายุ 50 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 62% เพศหญิงมีอัตรา 56%
ช่วงอายุ 60 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 76% เพศหญิงมีอัตรา 74% ช่วงอายุ 70 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 87% เพศหญิงมีอัตรา 93% และช่วงอายุ 80 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 98% เพศหญิงมีอัตราการเสียชีวิต 92%
ทั้งหมดเป็นเพียงปัจจัยหนุนและกลยุทธ์การโฆษณา แต่มิได้ต้องการเชียร์หรือแนะนำให้ซื้อประกันชีวิตแต่อย่างใด ซึ่งการวางแผนการเงินและอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญาณส่วนบุคคล และข้อมูลดังกล่าวก็เป็นพียงการอัพเดทให้ได้รับทราบกันเท่านัน
ส่วนเรื่องโฆษณาที่เกริ่นกันเบื้องต้น ก็เป็นแง่คิดที่แล้วแต่ใครจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อย่าง แม่ต้อยเองก็ให้แง่คิดกับการเป็นคนที่มีค่า ซึ่งชีวิตที่มีค่าไม่ใช่ชีวิตที่ร่ำรวยมีเกียรติ หรือายุยืน แต่ชีวิตที่มีค่าคือชีวิตที่ตัวเราเป็นคนมีคุณค่า และทำให้คนอื่นมีค่า
ขณะที่ปู่ชิวเองก็แสดงให้เห็นถึงการดูแลเอาใจใส่กับคนที่เรารักอยู่เสมอเด็กน้อยที่ดูเหมือนด้อยโอกาสเหล่านั้น กับการสู้ชีวิตโดยทำวันนี้ให้ดีที่สุด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตก็ตามส่วนผมเองประทับใจกับแง่คิดทั้ง 3 สามเรื่องแต่อยากจะเลือกทำวันนี้ให้ดีที่สุด ด้วยการใส่ใจคนที่เรารักตั้งแต่วันนี้
เป็นบทสรุปของภาพยนต์โฆษณาชุดใหม่ Silence of Love ที่ไทยประกันชีวิตนำเสนอออกสู่สายตาคนไทยในปีนี้ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงจำได้กับความประทับใจ และกินใจ
หากมองย้อนไปในโฆษณาของไทยประกันชีวิตก่อนหน้านี้จะพบว่า นอกจากความประทับใจแล้วยังแฝงแง่คิดเตือนใจในแง่ต่างๆ สำหรับคนที่คุณรักอีกด้วย
สำหรับคนไทยคงจำกันได้ดีทั้งโฆษณาชุดแม่ต้อย หญิงสาวที่ฐานะยากจน ถูกสามีทิ้ง กับการเก็บเด็กเร่ร่อน 3 คนมาเลี้ยง อย่างคิตตี้เด็กสาวที่บ้านแตก แมพเด็กชายที่เป็นโปลิโอ และโตเด็กชายขี้ขโมย แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้กับโรคมะเร็งที่ทำให้เธอมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 2 ปี โดยที่เธอยังเข้มแข็งและเชื่อว่า เวลา 2 ปียังสามารถทำอะไรได้อีกมาก
ปู่ชิว เหตุผลของชายชราอายุ 86 ปี ที่ต้องตื่นแต่เช้าเตรียมน้ำซุป และออกจากบ้านพร้อมซอ 2 สายก่อนออกเดินทางขึ้นภูเขากว่า 20 กิโลเมตร เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว เพียงเพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับภรรยาว่าจะทำน้ำซุปให้เธอทานทุกเช้า และเล่นเพลงที่เธอชอบให้เธอฟังไปตลอดชีวิต(ของเขา) ถึงแม้ว่าภรรยาจะตายจากไปแล้วก็ตาม
รวมถึงกลุ่มเด็กน้อยในโฆษณาชุดWhatever will be will beที่นำภาพเด็กน้อยน่ารักมารวมกลุ่มร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "เดอะแมนฮูนิวทูเมิช" ซึ่งมีเนื้อหาจากความอยากรู้อยากเห็นของเด็กว่าอนาคตของตนจะเป็นอย่างไร จะสวยหล่อ หรือร่ำรวย หรือไม่ กับคำตอบของแม่เพื่อปลอบใจลูกน้อยว่า "อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด" ก่อนที่จะฉายภาพให้เห็นว่าเด็กน้อยเหล่านั้นเป็นเด็กที่มีความพิการตั้งแต่กำเนิด
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังโฆษณาจากไทยประกันชีวิต หากพักประเด็นแง่คิดเตือนใจเอาไว้ก่อน แน่นอนว่าโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของการทำตลาดที่แต่ละบริษัทจะนำเสนอออกมาท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจประกันภัย และประกันชีวิต แต่นอกจากการแข่งขันในด้านนี้แล้ว ธุรกิจประกันของประเทศไทยขณะนี้กำลังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามแผนพัฒนาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย(คปภ.)
ยิ่งล่าสุดกับการประกาศใช่อัตรามรณะใหม่ในวันที่ 1 สิงหาคม 2554 หลังเคยเลื่อนจากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เพื่อให้บริษัทประกันชีวิต มีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการยื่นขอเปลี่ยนอัตราเบี้ยประกันภัยใหม่ต่อนายทะเบียน และเตรียมความพร้อมด้านระบบการดำเนินงานภายใน รวมถึงระบบการขายผ่านช่องทางต่างๆ
คปภ.เชื่อว่าการปรับอัตรามรณะใหม่ปี 2551 จะเป็นการทำให้ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน หลังจากเดิมการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยและมูลค่าต่างๆ ของบริษัทประกันชีวิตจะใช้อัตรามรณะไทย ปี 2540
อานิสงส์จากการปรับอัตรามรณะใหม่นั้นจะส่งผลให้อัตราเบี้ยประกันลดลง สอดคล้องกับช่วงอายุของประชากรในปัจจุบัน ที่มีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น อัตราการเสียชีวิตหรืออัตราการตายลดลงโดยเฉพาะข้อกำหนดที่ให้มีการแยกเพศในการคำนวณ ซึ่งการเปรียบเทียบจากข้อมูลอัตรามรณะของปี 2540 กับปี 2551 ของสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย พบว่า ประชากรไทยมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลงทั้งเพศชายและหญิง ยกตัวอย่างเช่น (อัตราส่วนปี 2551 ต่อปี 2540)
ช่วงอายุ 20 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 46% เพศหญิงมีอัตรา 71% ช่วงอายุ 30 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 44% เพศหญิงมีอัตรา 62%
ช่วงอายุ 40 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 59% เพศหญิงมีอัตรา 63% ช่วงอายุ 50 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 62% เพศหญิงมีอัตรา 56%
ช่วงอายุ 60 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 76% เพศหญิงมีอัตรา 74% ช่วงอายุ 70 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 87% เพศหญิงมีอัตรา 93% และช่วงอายุ 80 ปีเพศชายมีอัตราการเสียชีวิต 98% เพศหญิงมีอัตราการเสียชีวิต 92%
ทั้งหมดเป็นเพียงปัจจัยหนุนและกลยุทธ์การโฆษณา แต่มิได้ต้องการเชียร์หรือแนะนำให้ซื้อประกันชีวิตแต่อย่างใด ซึ่งการวางแผนการเงินและอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญาณส่วนบุคคล และข้อมูลดังกล่าวก็เป็นพียงการอัพเดทให้ได้รับทราบกันเท่านัน
ส่วนเรื่องโฆษณาที่เกริ่นกันเบื้องต้น ก็เป็นแง่คิดที่แล้วแต่ใครจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อย่าง แม่ต้อยเองก็ให้แง่คิดกับการเป็นคนที่มีค่า ซึ่งชีวิตที่มีค่าไม่ใช่ชีวิตที่ร่ำรวยมีเกียรติ หรือายุยืน แต่ชีวิตที่มีค่าคือชีวิตที่ตัวเราเป็นคนมีคุณค่า และทำให้คนอื่นมีค่า
ขณะที่ปู่ชิวเองก็แสดงให้เห็นถึงการดูแลเอาใจใส่กับคนที่เรารักอยู่เสมอเด็กน้อยที่ดูเหมือนด้อยโอกาสเหล่านั้น กับการสู้ชีวิตโดยทำวันนี้ให้ดีที่สุด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตก็ตามส่วนผมเองประทับใจกับแง่คิดทั้ง 3 สามเรื่องแต่อยากจะเลือกทำวันนี้ให้ดีที่สุด ด้วยการใส่ใจคนที่เรารักตั้งแต่วันนี้