ASTVผู้จัดการรายวัน-โบรกเกอร์กองทุนรวม ประเมินปัญหาหนี้ยุโรปยังเรื้อรัง ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวอย่างเปราะบาง เป็นปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกได้ตลอดเวลา หนุนนักลงทุนให้นักหนักตลาดเกิดใหม่และเอเชียที่แข็งแรงกว่า พร้อมชูกองทุนABGEM และ ABAPAC ของบลจ. Aberdeen น่าลงทุน
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล Fund SuperMart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนในเดือนสิงหาคมนั้นเราเชื่อว่าความผันผวนเชิงลบในตลาดโลกน่าจะลดลงและตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เนื่องจาก EU บรรลุข้อตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือแก่กรีซเป็นวงเงินกว่า 1.09 แสนล้านยูโรแล้ว และในส่วนของสหรัฐสภาคองเกรสจะอนุมัติผ่านแผนขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 14.29 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯมาที่ 16.69ล้านล้านดอลล่าร์ (ปัจจุบันระดับหนี้สาธารณะของสหรัฐอยู่ที่ 14.35 ล้านล้านดอลล่าร์ข้อมูล ณ วันที่ 20 กค. 2554) และนอกเหนือจาก 2 ประเด็นหลักดังกล่าว ฤดูกาลประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ก็น่าจะเข้ามาช่วยหนุนการซื้อขายในตลาดหุ้นได้อีกแรงหนึ่ง
อย่างไรก็ดี แม้สถานการณ์ทั้งในสหรัฐและยุโรปที่มีแนวโน้มที่จะคลี่คลายไปในทางที่ดีและเป็นปัจจัยบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงและเป็นปัจจัยลบต่อทองคำ แต่มองว่าเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น เพราะเมื่อประเด็นด้านการเพิ่มเพดานหนี้จบลง ในระยะถัดไปนักลงทุนก็จะกลับมามองปัจจัยด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจสหรัฐก็ยังคงให้ภาพการฟื้นตัวที่ไม่สม่ำเสมอ
ทั้งนี้เรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตได้แข็งแกร่งได้ก็ต่อเมื่ออัตราการว่างงานปรับตัวลดลง โดยในเดือนมิถุนายน อัตราการว่างงานของสหรัฐอยู่ที่ 9.2% แม้ลดลงจากระดับสูงสุดในช่วงเกิดวิกฤติที่ประมาณ 10% แต่ก็ยังคงอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดวิกฤติที่ราว 5.2% โดยจากยอดว่างงานของคนอเมริกัน พบว่ากว่า 25% มาจากการว่างงานในภาคอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น หากการจ้างงานในภาคนี้ยังไม่กระเตื้อง ตัวเลขอัตราการว่างงานโดยรวมก็ยังมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับสูงต่อไป ทั้งนี้ตัวเลข Housing Starts หรือยอดสร้างบ้านใหม่ ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤติอยู่มากและยังไม่มีแนวโน้มว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในเร็วๆนี้
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงเผชิญความยากลำบากในการฟื้นตัวต่อไป เป็นปัจจัยกดดันให้ทางการสหรัฐอาจต้องดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ หากจะใช้การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง รัฐบาลสหรัฐในตอนนี้ก็มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการก่อหนี้เพิ่ม เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบันของสหรัฐสูงถึง 98.6% ของ GDP
นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐฯเองยังถูกกดดันให้ปรับลดการขาดดุลการคลังลงอีก และหากจะใช้นโยบายการเงินผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็มีข้อจัดเช่นกัน เพราะอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ต่ำมากอยู่แล้วคือที่ 0-0.25% ขณะที่การอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นการหมุนเงินโดยใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่เรียกกันว่า Quantitative Easing หรือ QE แต่ที่ผ่านมาทั้ง QE1 และ QE2 ก็ดูจะไม่ได้ช่วยให้เกิดการจ้างงานเร็วเท่าที่ควร สำหรับเราแล้ว แม้เชื่อว่าสหรัฐจะฟื้นตัวได้ในที่สุด แต่สิ่งที่เป็นความเสี่ยงและเป็นปัจจัยกดดันก็คือ สหรัฐอาจจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวสู่ระดับปกติมากกว่าที่คาดไว้
นายสานุพงศ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของยุโรปแม้ EU ที่นำโดยเยอรมันและฝรั่งเศสจะสามารถบรรลุข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือแก่กรีซแล้ว แต่เรามองว่าเป็นเพียงการต่อลมหายใจเท่านั้น และในระยะต่อๆไป มองว่า EU จะเผชิญความยากลำบากมากขึ้นการให้ความช่วยเหลือหรือความพยามในการอัดฉีดสภาพคล่องให้ประเทศที่มีปัญหาอื่นๆ
ขณะที่ความพยามในการลดยอดหนี้สาธารณะของกลุ่ม PIIGS ดูจะไม่ได้ผลนัก เนื่องจากการใช้มาตรการรัดเข็มขัดกระทบให้ตัวเลข GDP ชะลอลงหรือหดตัวลงด้วยซ้ำ?ในบางประเทศ ขณะที่ภาระดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สัดส่วนหนี้จึงกลับเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลง เช่นเดียวกับยอดขาดดุลการคลังที่ยังอยู่ในระดับสูงเช่นกันซึ่งแม้หลายคนจะมองว่า EU หรือ IMF คงไม่ยอมปล่อยให้ประเทศเหล่านี้ล้ม เข้าทำนอง Too Big to Fail แต่ขณะเดียวกัน เมื่อถึงจุดหนึ่ง ต้นทุนในการช่วยเหลืออาจจะสูงเกินกว่าที่จะทำได้ หรือ Too Big to Save นั่นเอง โดยเฉพาะหากปัญหาเกิดกับอิตาลีและสเปนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 และ 4 ของ Euro Zone
อย่างไรก็ตาม เราจึงอยากให้นักลงทุนระมัดระวังมากขึ้นและจับตาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากปัญหาหนี้เรื้อรังที่ยังมีอยู่ในฝั่งตะวันตกจะคอยเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกได้ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงยังคงให้น้ำหนักกับการลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียและตลาดเกิดใหม่ที่มีความแข็งแกร่งและมี Growth Story ชัดเจนกว่า
สำหรับกองทุนแนะนำยังคงเป็น ABGEM และ ABAPAC ของบลจ. Aberdeen ซึ่งเหมาะกับการลงทุนระยะยาว จุดเด่นในการบริหารของ บลจ. Aberdeen ที่เรามองว่าเหมาะกับภาวะที่ตลาดโลกยังคงมีความเสี่ยงขาลงจากสองภูมิภาคหลักของโลกอย่างสหรัฐและยุโรป คือ สไตล์การเลือกหุ้นของบลจ.ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีสุขภาพทางการเงินดีและมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจต่ำเช่น หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค บวกกับ Stock Selection Skill ที่ดี ทำให้ที่ผ่านมากองทุนค่อนข้างมีภูมิต้านทานต่อภาวะตลาดขาลง
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล Fund SuperMart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนในเดือนสิงหาคมนั้นเราเชื่อว่าความผันผวนเชิงลบในตลาดโลกน่าจะลดลงและตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เนื่องจาก EU บรรลุข้อตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือแก่กรีซเป็นวงเงินกว่า 1.09 แสนล้านยูโรแล้ว และในส่วนของสหรัฐสภาคองเกรสจะอนุมัติผ่านแผนขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 14.29 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯมาที่ 16.69ล้านล้านดอลล่าร์ (ปัจจุบันระดับหนี้สาธารณะของสหรัฐอยู่ที่ 14.35 ล้านล้านดอลล่าร์ข้อมูล ณ วันที่ 20 กค. 2554) และนอกเหนือจาก 2 ประเด็นหลักดังกล่าว ฤดูกาลประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ก็น่าจะเข้ามาช่วยหนุนการซื้อขายในตลาดหุ้นได้อีกแรงหนึ่ง
อย่างไรก็ดี แม้สถานการณ์ทั้งในสหรัฐและยุโรปที่มีแนวโน้มที่จะคลี่คลายไปในทางที่ดีและเป็นปัจจัยบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงและเป็นปัจจัยลบต่อทองคำ แต่มองว่าเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น เพราะเมื่อประเด็นด้านการเพิ่มเพดานหนี้จบลง ในระยะถัดไปนักลงทุนก็จะกลับมามองปัจจัยด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจสหรัฐก็ยังคงให้ภาพการฟื้นตัวที่ไม่สม่ำเสมอ
ทั้งนี้เรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตได้แข็งแกร่งได้ก็ต่อเมื่ออัตราการว่างงานปรับตัวลดลง โดยในเดือนมิถุนายน อัตราการว่างงานของสหรัฐอยู่ที่ 9.2% แม้ลดลงจากระดับสูงสุดในช่วงเกิดวิกฤติที่ประมาณ 10% แต่ก็ยังคงอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดวิกฤติที่ราว 5.2% โดยจากยอดว่างงานของคนอเมริกัน พบว่ากว่า 25% มาจากการว่างงานในภาคอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น หากการจ้างงานในภาคนี้ยังไม่กระเตื้อง ตัวเลขอัตราการว่างงานโดยรวมก็ยังมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับสูงต่อไป ทั้งนี้ตัวเลข Housing Starts หรือยอดสร้างบ้านใหม่ ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤติอยู่มากและยังไม่มีแนวโน้มว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในเร็วๆนี้
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงเผชิญความยากลำบากในการฟื้นตัวต่อไป เป็นปัจจัยกดดันให้ทางการสหรัฐอาจต้องดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ หากจะใช้การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง รัฐบาลสหรัฐในตอนนี้ก็มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการก่อหนี้เพิ่ม เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบันของสหรัฐสูงถึง 98.6% ของ GDP
นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐฯเองยังถูกกดดันให้ปรับลดการขาดดุลการคลังลงอีก และหากจะใช้นโยบายการเงินผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็มีข้อจัดเช่นกัน เพราะอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ต่ำมากอยู่แล้วคือที่ 0-0.25% ขณะที่การอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นการหมุนเงินโดยใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่เรียกกันว่า Quantitative Easing หรือ QE แต่ที่ผ่านมาทั้ง QE1 และ QE2 ก็ดูจะไม่ได้ช่วยให้เกิดการจ้างงานเร็วเท่าที่ควร สำหรับเราแล้ว แม้เชื่อว่าสหรัฐจะฟื้นตัวได้ในที่สุด แต่สิ่งที่เป็นความเสี่ยงและเป็นปัจจัยกดดันก็คือ สหรัฐอาจจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวสู่ระดับปกติมากกว่าที่คาดไว้
นายสานุพงศ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของยุโรปแม้ EU ที่นำโดยเยอรมันและฝรั่งเศสจะสามารถบรรลุข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือแก่กรีซแล้ว แต่เรามองว่าเป็นเพียงการต่อลมหายใจเท่านั้น และในระยะต่อๆไป มองว่า EU จะเผชิญความยากลำบากมากขึ้นการให้ความช่วยเหลือหรือความพยามในการอัดฉีดสภาพคล่องให้ประเทศที่มีปัญหาอื่นๆ
ขณะที่ความพยามในการลดยอดหนี้สาธารณะของกลุ่ม PIIGS ดูจะไม่ได้ผลนัก เนื่องจากการใช้มาตรการรัดเข็มขัดกระทบให้ตัวเลข GDP ชะลอลงหรือหดตัวลงด้วยซ้ำ?ในบางประเทศ ขณะที่ภาระดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สัดส่วนหนี้จึงกลับเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลง เช่นเดียวกับยอดขาดดุลการคลังที่ยังอยู่ในระดับสูงเช่นกันซึ่งแม้หลายคนจะมองว่า EU หรือ IMF คงไม่ยอมปล่อยให้ประเทศเหล่านี้ล้ม เข้าทำนอง Too Big to Fail แต่ขณะเดียวกัน เมื่อถึงจุดหนึ่ง ต้นทุนในการช่วยเหลืออาจจะสูงเกินกว่าที่จะทำได้ หรือ Too Big to Save นั่นเอง โดยเฉพาะหากปัญหาเกิดกับอิตาลีและสเปนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 และ 4 ของ Euro Zone
อย่างไรก็ตาม เราจึงอยากให้นักลงทุนระมัดระวังมากขึ้นและจับตาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากปัญหาหนี้เรื้อรังที่ยังมีอยู่ในฝั่งตะวันตกจะคอยเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกได้ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงยังคงให้น้ำหนักกับการลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียและตลาดเกิดใหม่ที่มีความแข็งแกร่งและมี Growth Story ชัดเจนกว่า
สำหรับกองทุนแนะนำยังคงเป็น ABGEM และ ABAPAC ของบลจ. Aberdeen ซึ่งเหมาะกับการลงทุนระยะยาว จุดเด่นในการบริหารของ บลจ. Aberdeen ที่เรามองว่าเหมาะกับภาวะที่ตลาดโลกยังคงมีความเสี่ยงขาลงจากสองภูมิภาคหลักของโลกอย่างสหรัฐและยุโรป คือ สไตล์การเลือกหุ้นของบลจ.ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีสุขภาพทางการเงินดีและมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจต่ำเช่น หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค บวกกับ Stock Selection Skill ที่ดี ทำให้ที่ผ่านมากองทุนค่อนข้างมีภูมิต้านทานต่อภาวะตลาดขาลง