บลจ. ซีไอเอ็มบี เผยเดือนหน้าเตรียมคลอดกองทุน "สุคุก" รองรับกลุ่มนักลงทุนเกาหลีใต้ที่ทยอยครบกำหนด หวังเพิ่มทางเลือกให้นักลงทุนมากขึ้น
นายอนุสรณ์ บูรณกานนท์กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ซีไอเอ็มบีพรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้การแข่งขันตลาดกองทุนรวมมีการผลิตโปรดักซ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวน ส่งผลให้การแข่งขันในปีนี้คึกคัก ขณะเดียวกันกองทุนรวมเกาหลีใต้ที่จะทยอยครบกำหนด ทำให้หลาย ๆ บลจ.ต้องหากองทุนใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนให้กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย เพราะขนาดกองทุนรวมเกาหลีใต้มีจำนวนเงินที่ไหลเข้ามากว่าแสนล้านบาท
ทั้งนี้บริษัทเองได้เตรียมหากองทุนใหม่ ๆ เข้ามรองรับกลุ่มนักลงทุนเพื่อให้มีหลากหลายกองทุนให้นักลงทุนได้เลือกสรรตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลด้วย ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2554 นี้่บริษัทเตรียมเปิดตัวกองทุนใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนรวมอิสลามที่ลงทุนในพันธบัตรศุคุกในภูมิภาคอาเซียน โดยมีมูลค่าโครงการประมาณ 500 ล้านบาท รวมถึงกองทุนรวมอิสลามมิกคอมมอดิตี้ฟันด์ ซึ่งมีมูลค่าโครงการ 500 ล้านบาทเช่นกัน
"บริษัทเองต้องตอบโจทย์ของลูกค้าให้ได้ว่าในช่วงที่เป็นเช่นนี้เราจะหาอะไรให้นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนได้เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด โดยในไตรมาส2 นี้จะมีกองทุนรวมเกาหลีใต้ที่จะทยอยครบกำหนดอายุของกองทุน ดังนั้นบริษัทเองจะกองทุนทดแทนใหม่ ๆ เข้ามาอีก 2 กองทุนโดยกองทุนแรกจะเป็นกองทุนพันธบัตรศุคุกในภูมิภาคอาเซียน และกองทุนรวมอิสลามมิกคอมมอดิตี้ฟันด์ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่นักลงทุน"
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า กองทุนรวมอิสลามมิกคอมมอดิตี้ฟันด์จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน และทองคำ เนื่องจากว่าอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินประเทศมาเลเซียเองมีความใกล้เคียงกับบ้านเรา และเมื่อกองทุนเกาหลีได้ทยอยครบกำหนดแล้วนักลงทุนที่เคยลงทุนอยู่แล้วก็สามารถโยกเข้ามาลงทุนใน 2 กองทุนดังกล่าวได้เลยทันที
ด้านนายกษิดิศ ทองปลิว ฝ่ายบริการราคาตราสารหนี้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ Thai BMA กล่าวว่า ในปีนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้เห็นชอบให้มีการออกตราสารประเภทใหม่ ซึ่งเป็นตราสารอิสลาม หรือตราสารศุกูก โดยมีลักษณะคล้ายกับตราสารหนี้ แต่ถูกพัฒนาขึ้นมาตามหลักชะรีอะฮ์ หรือหลักกฎหมาย และจริยธรรมอิสลามที่เป็นพื้นฐานของระบบการเงินอิสลาม
ทั้งนี้ การอนุญาตให้ออกตราสารศุกูกนอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ระดมทุนสามารถระดมทุนได้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มช่องทางในการลงทุนให้กับทั้งนักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนชาวมุสลิม ซึ่งมีความพร้อมที่จะลงทุนอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถลงทุนในตราสารหนี้ปกติได้
นายอนุสรณ์ บูรณกานนท์กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ซีไอเอ็มบีพรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้การแข่งขันตลาดกองทุนรวมมีการผลิตโปรดักซ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวน ส่งผลให้การแข่งขันในปีนี้คึกคัก ขณะเดียวกันกองทุนรวมเกาหลีใต้ที่จะทยอยครบกำหนด ทำให้หลาย ๆ บลจ.ต้องหากองทุนใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนให้กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย เพราะขนาดกองทุนรวมเกาหลีใต้มีจำนวนเงินที่ไหลเข้ามากว่าแสนล้านบาท
ทั้งนี้บริษัทเองได้เตรียมหากองทุนใหม่ ๆ เข้ามรองรับกลุ่มนักลงทุนเพื่อให้มีหลากหลายกองทุนให้นักลงทุนได้เลือกสรรตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลด้วย ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2554 นี้่บริษัทเตรียมเปิดตัวกองทุนใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนรวมอิสลามที่ลงทุนในพันธบัตรศุคุกในภูมิภาคอาเซียน โดยมีมูลค่าโครงการประมาณ 500 ล้านบาท รวมถึงกองทุนรวมอิสลามมิกคอมมอดิตี้ฟันด์ ซึ่งมีมูลค่าโครงการ 500 ล้านบาทเช่นกัน
"บริษัทเองต้องตอบโจทย์ของลูกค้าให้ได้ว่าในช่วงที่เป็นเช่นนี้เราจะหาอะไรให้นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนได้เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด โดยในไตรมาส2 นี้จะมีกองทุนรวมเกาหลีใต้ที่จะทยอยครบกำหนดอายุของกองทุน ดังนั้นบริษัทเองจะกองทุนทดแทนใหม่ ๆ เข้ามาอีก 2 กองทุนโดยกองทุนแรกจะเป็นกองทุนพันธบัตรศุคุกในภูมิภาคอาเซียน และกองทุนรวมอิสลามมิกคอมมอดิตี้ฟันด์ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่นักลงทุน"
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า กองทุนรวมอิสลามมิกคอมมอดิตี้ฟันด์จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน และทองคำ เนื่องจากว่าอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินประเทศมาเลเซียเองมีความใกล้เคียงกับบ้านเรา และเมื่อกองทุนเกาหลีได้ทยอยครบกำหนดแล้วนักลงทุนที่เคยลงทุนอยู่แล้วก็สามารถโยกเข้ามาลงทุนใน 2 กองทุนดังกล่าวได้เลยทันที
ด้านนายกษิดิศ ทองปลิว ฝ่ายบริการราคาตราสารหนี้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ Thai BMA กล่าวว่า ในปีนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้เห็นชอบให้มีการออกตราสารประเภทใหม่ ซึ่งเป็นตราสารอิสลาม หรือตราสารศุกูก โดยมีลักษณะคล้ายกับตราสารหนี้ แต่ถูกพัฒนาขึ้นมาตามหลักชะรีอะฮ์ หรือหลักกฎหมาย และจริยธรรมอิสลามที่เป็นพื้นฐานของระบบการเงินอิสลาม
ทั้งนี้ การอนุญาตให้ออกตราสารศุกูกนอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ระดมทุนสามารถระดมทุนได้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มช่องทางในการลงทุนให้กับทั้งนักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนชาวมุสลิม ซึ่งมีความพร้อมที่จะลงทุนอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถลงทุนในตราสารหนี้ปกติได้