ดังนั้นหากมีปัญหาเกิดขึ้นจริงๆทั้งจากการชักดาบซึ่งมีความเป็นไปได้สูงไม่น้อยพร้อมๆกับเกิดฟองสบู่แตกจากการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคร่วงลงต่อไปอีก จะทำให้เกิดผลกระทบแพร่กระจายไปทั้งภูมิภาค
ทราบถึงโครงสร้างของเศรษฐกิจ และการแทรกแซงของมหาอำนาจแล้ว ในตอนสุดท้ายนี้ทุกคนคงอยากทราบว่าผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นอย่างไร!...
ความเสียหายและผลกระทบในระยะยาว
ความเสียหายนั้นหากดูเฉพาะที่ Dubai World นั้นจะดูจำกัดมากๆ แต่หากพิจารณาจากมูลค่าโครงการอสังหาริมทรัพย์ของ UAE และในประเทศเพื่อนบ้านจะพบว่า มูลค่าที่เป็นไปได้นั้นมีอยู่ไม่น้อยกว่าหลักแสนล้านดอลลาร์แน่ๆ หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้จริงๆ และแม้ว่าจะมีการจ่ายหนี้จริงๆอีกครั้งตามกำหนดเดิมคือ 3,520 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 14 ธันวาคม 2009 นี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหมดไป และทางเลือกที่ดูกำลังชัดเจนขึ้นมาคือ การขายทรัพย์สินที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งย่อมเป็นสิ่งที่กลับยืนยันได้ว่าสุขภาพทางการเงินในดูไบนั้นแย่จริงๆ เพราะบริษัทไม่สามารถหากระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้ การทำเช่นนี้ ย่อมกระทบศักยภาพทางธุรกิจรวมถึงอนาคตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของรัฐดูไบ
ต้องไม่ลืมว่าการปล่อยกู้ในภูมิภาคนี้อยู่ในลักษณะของการปล่อยกู้กันข้ามภูมิภาค ธนาคารในประเทศเพื่อนบ้านเช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต กาตาร์ บาห์เรน ก็เข้ามาปล่อยกู้ใน UAE เช่นเดียวกับที่ UAE ก็ขยายธุรกิจธนาคารของตัวเอเงไปทั่วทั้งในและนอกแถบ GCC เช่นกัน
ดังนั้นหากมีปัญหาเกิดขึ้นจริงๆทั้งจากการชักดาบซึ่งมีความเป็นไปได้สูงไม่น้อยพร้อมๆกับเกิดฟองสบู่แตกจากการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคร่วงลงต่อไปอีก จะทำให้เกิดผลกระทบแพร่กระจายไปทั้งภูมิภาค บริษัทผู้รับเหมาต่างๆในภูมิภาคทั้งจากตะวันตกและของคนในพื้นที่จะเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับที่เกิดในดูไบตั้งแต่หลัง Lehman Brothers ล้มละลาย
หากปัญหาในกรณีที่เลวร้ายเกิดขึ้นจริงๆคือ ดูไบมีการผิดนัดชำระหนี้แบบต่อเนื่องและซ้ำซาก อีกทั้งรัฐบาลอาบู ดาบีอุ้มในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเองเท่านั้น ปัญหาก็จะลุลกลามไปทั้งภูมิภาค ธนาคารทั้งต่างประเทศและของพื้นที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนเป็นเจ้าของจะเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง เงินทุนไหลออกอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ด้วยขนาดของปัญหาที่ใหญ่มาก รัฐบาลของตะวันออกกลางคงต้องตัดสินใจดึงเงินลงทุนที่อยู่นอกประเทศที่มากถึงเกือบๆ 2 ล้านล้านดอลลาร์กลับมาฟื้นฟูสภาพของระบบการเงินและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
ขณะเดียวกันวิกฤตที่เกิดขึ้นจะสร้างความตื่นตระหนกไปยังประเทศเกิดใหม่อื่นๆที่มีหนี้ต่างประเทศสูงๆในยุโรปตะวันออกและละตินอเมริกา ขณะเดียวกันภาวะฟองสบู่ที่ถูกดันขึ้นมามหาศาลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังและการเงินจากทั้สหรัฐฯและจีนก็จะแตกลงมา ราคาสินทรัพย์ทั้งหุ้นและตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่จะลดลงอย่างมหาศาลเช่นเดัยวกับค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นมาทันทีพร้อมๆกับเงินเยน ราคาโภคภัณฑ์ที่ถูกดันขั้นมามากๆจะตกลงอย่างรวดเร็ว สภาวะที่เกิดขึ้นกับตลาดการเงินและการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั่วโลกจะไม่ต่างกับช่วง Lehman ล้มละลายตั้งแต่กลางเดือนกันยายน 2008 ที่ผ่านมา
แน่นอนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะยิ่งซ้ำเติมทั้งสหรัฐและยุโรป เนื่องจากเงินทุนจากตะวันออกกลางส่วนใหญ่มีการลงทุนใน 2 แห่งนี้เป็นจำนวนมาก แต่หากไม่เกิดอะไรขึ้นแบบเลวร้ายเหมือนตอนปี 2008 ที่ผ่านมาก็ใช่ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นเต็มๆคือ ระบบการเงินของ UAE และทั้งภูมิภาคจะสูญเสียความน่าเชื่อถือไปโดยปริยาย
ไม่ว่ากรณีใดๆจะเกิดขึ้นผลกระทบที่ตามมาในระยะยาวหลีกไม่พ้น 2 ข้อด้วยกันคือ
1.บทบาทของเงินทุนในรูปของปิโตรดอลลาร์จากอาหรับในระบบการเงินโลก
2.ไม่ว่ากรณีใดๆค่าเงินดอลลาร์ย่อมตกต่ำลงในระยะยาวอย่างแน่อน
ได้เวลาพญามังกร
ที่ผ่านมานั้นสหรัฐฯได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของระบบการเงินและระบบทุนนิยมโลกที่ขับเคลื่อนด้วยการเก็งกำไร ขณะที่สหรัฐฯสามารถใช้จ่ายจนเกินตัวจากการที่มีประเทศอื่นๆสันบสนุนทางการเงินให้ตัวเองอย่างต่อเนื่องโดยการที่ประเทศผู้ส่งออกสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐฯและเงินดอลลาร์ผ่านการซื้อ Treasury Bond จำนวนมหาศาลที่ขายออกมาในแต่ละปี และหากพวกเศรษฐีน้ำมันไม่สามารถเข้าลงทุนในตราสารหนี้รูปแบบนี้ได้อีก 2 ชาติที่มีศักยภาพมากที่สุดก็จะเป็นญี่ปุ่นและจีนที่มีขนาดของทุนสำรองจำนวนมหาศาลที่จะสามารถเข้าผยุงค่าเงินดอลลาร์เอาไว้เหมือนในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามจีนในระยะสั้นๆคงต้องช่วสหรัฐฯไปพลางๆก่อน แต่การที่สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ จะทำให้จีนต้องฉวยโอกาสจากช่องว่างในระบบการเงินโลกที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตในดูไบในการเดินเกมบุกอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจีนอาจเพิ่มทุนให้กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของตัวเองให้ออกไปลุยในต่างประเทสให้มากขึ้นเพื่อสร้างการบริหารทุนสำรองแบบ 2ขาเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการที่ด้านหนึ่งจีนต้องอุ้มสหรัฐฯต่อไป ซึ่งน่าสนใจว่าหลังวิกฤตในดูไบปะทุขึ้นก็มีการออกมาพูดของเจ้หน้าที่ระดับสูงของจีนว่า วิกฤตในครั้งนี้จะเป็นโอกาสให้จีนซื้อสินทรัพย์ในรูปของน้ำมันและทองคำได้มากขึ้น แสดงว่าลึกๆแล้วจีนต้องมองว่าวิกฤตคงหนักพอสมควรและผลกระทบจากราคาสินทรัพย์ที่ตกลงในระยะสั้นจะเป็นโอกาสให้จีนช้อนของถูกได้มากขึ้น
ขณะเดียวกันนอกจากจีนและญี่ปุ่นซึ่งใฐานะดูดีขึ้นแล้ว ประเทศอื่นๆอย่างเช่น อินเดีย บราซิล รัสเซีย เกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งมีเงินทุนพอสมควรและกำลังเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงขณะนี้จะได้รับความสนใจและมีพื้นที่ให้เล่นมากขึ้น ประเทศในแถบเอเชียไม่ว่ากรณีใดๆจะได้รับความเสียหายที่น้อยกว่าและดูดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศในตะวันตก
นอกจากนั้นแล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางและปัญหาของอังกฤษที่ยังแก้ไม่ตก จะทำให้ศูนย์กลางด้ารการเงินอิสลามย้ายฐานมายังแถบอาเซียนมากขึ้นซึ่งคนที่จะมีโอกาสชิงดำก็จะมีสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีความพร้อม ในขณะที่คู่แข่งอื่นๆก็จะมีฮ่องกง อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ญี่ปุ่น ที่พอมีศักยภาพ ประเทศไทยเองสามารถเป้นศูนย์กลางการเงินอิสลามได้หากพยายามฉวยโอกาส
โดยเราอาจเลือกที่จะสร้างจุดแข็งในส่วนของบริการทางการเงินที่ให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงการให้บริการเงินทุนในรูปของการเงินอิสบามแก่ธุรกิจการเกษตรด้วย และที่แน่นอนคือ ไม่ว่าวิกฤตครั้งนี้จะหนักหนาขนาดไหน ประเทศในแถบตะวันออกกลางจะยังคงลงทุนในด้านการเกษตรอยู่เพื่อความั่นคง ซี่งประเทศก็น่าจะลองเชื่อมโยงทั้งการเกษตรและการเงินอิสลามเข้าด้วยกัน
ติดหนี้ โดนทวงเงิน สร้างภาพ
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ต้องตระหนักไว้ก็คือ สถานะของบริษัทต่างๆในรัฐดูไบที่มีความต่างกันในหลากหลายรูปแบบ รัฐอาบู ดาบีเคยกล่าวไว้ว่าจะช่วยเหลือในเรื่องนี้แบบเป็นกรณีๆไปเท่านั้น
นอกจากนั้นระบบของตะวันออกกลางทั้งหมดรวมถึงที่ดูไบนั้น ต้องทำความเข้าใจว่ามันมีบริษัทอื่นๆที่เข้าข่ายกึ่งรัฐกึ่งเอกชนหรือ Quasi-government อีกประเภทคือ บริษัทที่เป็นที่บรรดาราชนิกูลหรือลูกหลาน และบรรดาคนของราชวงศ์เป็นเจ้าของ การที่เกิดความคลุมเครือระหว่าง ส่วนตัว กับ ส่วนรวม จึงมีสูง
บริษัทอีกจำพวกหนึ่งที่เกิดความคลุมเครือได้คือ Government-Related Entity (GRE) หรือกิจการที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งแน่นอนว่าความรับผิดชอบหรือการค้ำประกันโดยตรงย่อมต่ำกว่าเดิมขึ้นไปอีก หากหนี้สินที่กู้ยืมเกิดมีปัญหาและไม่สามารถใช้คืนได้ และรัฐดูไบเองก็พูดชัดเจว่าหนี้สินที่บริษัทเหล่านี้ยืมไป รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเข้าไปรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น
การประกาศ Standstill แบบทันควันในวันที่ 26 พฤศจิกายน แสดงให้ห็นถึงปัญหาที่ค่อนข้างหยั่งรากลึกมาก เพราะคงไม่มีใครที่มีเงินมากอยากหาเรื่องทำลายชื่อเสียงของตัวเองจากการติดเงินคนอื่นมากๆ การที่ดูไบเองมีปัญหามานานทำให้ทางรัฐดูไบได้ตัดสินใจในช่วงเดือนเมษายนว่าจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์มาสร้างภาพให้ตัวเองว่าจริงๆแล้วไม่มีปัญหา การที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างสิ่งที่ตัวเองเคยลั่นวาจาเอาไว้และการกระทำในปัจจุบันย่อมแสดงให้เห็นว่าเราจำเป็นต้องพิจารณาทุกคำพุดที่ออกมาจากทางการดูไบว่ายังมีความน่าเชื่อถืออยู่อีกหรือไ
มีข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งของปัญหา Dubai World ที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดให้หนักมากๆก็คือ Nakhell บริษัทลูกของ Dubai World นั้นแท้ที่จริงแล้วนอกจากจะส่งสัญญาณของปัญหามานานแล้ว บริษัทนี้เคยเข้ากระบวนการปรับโครงสร้างหนี้แบบไม่เปิดเผยและไม่เป็นทางการมานานแล้ว โดยมีข่าวหลุดออกมาจากบริษัท Standard and Poor's ว่าบริษัทอาจจะตัดสินใจที่จะปรับโครงสร้างหนี้ในส่วนของ Sukuk ที่จะหมดอายุในวันที่ 14 ธันวคาม 2009 ที่จะถึงนี้
ที่มา: นายเบ็นซ์ สุดตา นิสิตปริญญาโทคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย