บลจ.ยูโอบี ชี้ เงินเฟ้อแนวโน้มปรับตัวขึ้นหลังราคาสินอุปโภคบริโภคสูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ย อีก 0.25% ในวันที่ 20 เมษายน นี้
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะ ตลาดตราสารหนี้ของไทยว่า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมวันที่ 20 เมษายนนี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาวยังคงมีความต้องการจากนักลงทุนค่อนข้างมาก จะเห็นได้จากผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปีซึ่งมีความต้องการสูง ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพคล่องในระบบที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากปัญหาการเมืองในตะวันออกกลาง และปัญหาภัยพิบัติในญี่ปุ่น ดังนั้นแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอาจปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากใกล้วันประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน จากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ รวมถึงโอกาสที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อของไทยยังคงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ร้อยละ 0.5-3.0 ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลยังคงอุดหนุนและควบคุมราคาสินค้าอยู่หลายประเภท ซึ่งหากไม่มีการอุดหนุนหรือควบคุมราคาอัตราเงินเฟ้อก็น่าจะสูงกว่านี้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ปัญหาการเมืองในตะวันออกกลางหากยืดเยื้อ รวมถึงปัญหาภัยพิบัติในญี่ปุ่น จะส่งผลให้ราคาน้ำมันและราคาอาหารน่าจะยังปรับเพิ่มขึ้นได้อีก หรือทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
โดยกระทรวงพาณิชย์ได้รายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนมีนาคมว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าเกือบทุกหมวด เช่น อาหารสดและสินค้าอุปโภค และราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.62 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหลายหมวด เช่น วัสดุก่อสร้าง
สำหรับ บลจ. ยูโอบี ได้เปิดขายกองทุนเปิด ยูโอบี เอสบี 6/10 อายุประมาณ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 5 - 18 เมษายน 2554 โดยกองทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะ ตลาดตราสารหนี้ของไทยว่า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมวันที่ 20 เมษายนนี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาวยังคงมีความต้องการจากนักลงทุนค่อนข้างมาก จะเห็นได้จากผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปีซึ่งมีความต้องการสูง ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพคล่องในระบบที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากปัญหาการเมืองในตะวันออกกลาง และปัญหาภัยพิบัติในญี่ปุ่น ดังนั้นแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอาจปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากใกล้วันประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน จากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ รวมถึงโอกาสที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อของไทยยังคงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ร้อยละ 0.5-3.0 ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลยังคงอุดหนุนและควบคุมราคาสินค้าอยู่หลายประเภท ซึ่งหากไม่มีการอุดหนุนหรือควบคุมราคาอัตราเงินเฟ้อก็น่าจะสูงกว่านี้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ปัญหาการเมืองในตะวันออกกลางหากยืดเยื้อ รวมถึงปัญหาภัยพิบัติในญี่ปุ่น จะส่งผลให้ราคาน้ำมันและราคาอาหารน่าจะยังปรับเพิ่มขึ้นได้อีก หรือทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
โดยกระทรวงพาณิชย์ได้รายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนมีนาคมว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าเกือบทุกหมวด เช่น อาหารสดและสินค้าอุปโภค และราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.62 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหลายหมวด เช่น วัสดุก่อสร้าง
สำหรับ บลจ. ยูโอบี ได้เปิดขายกองทุนเปิด ยูโอบี เอสบี 6/10 อายุประมาณ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 5 - 18 เมษายน 2554 โดยกองทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท