ASTVผู้จัดการรายวัน - กองทุนน้ำมันรับอานิสงส์ราคมน้ำมันตลาดโลกพุ่ง " ทหารไทย ออยล์ ฟันด์" มาวิน รั้งแชมป์ผลงานรอบ 3 เดือนแรก ด้วยผลตอบแทน 14.63% ด้าน บล.ฟิลลิป ประเมินราคาน้ำมันยังไปต่อ หลังสถานการณ์ในลิเบียยังคงยืดเยื้อ อีกทั้งกลุ่ม OPEC ยังไม่มีการส่งสัญญาณเพิ่มปริมาณการผลิต แนะ เก็งกำไร "ขึ้นขาย-ลงซื้อ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา แม้จะเป็นความกังวลของนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวน แต่กลับเป็นผลดีต่อนักลงทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) โดยเฉพาะทองคำและน้ำมัน ซึ่งในส่วนของสถานการณ์ราคาน้ำมันเอง ค่อนข้างได้อานิสงส์พอสมควร เนื่องจากความวุ่ยวายที่เกิดขึ้นในลิเบียซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกยังคงส่อเค้ายือเยื้อ ประกอบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น จนส่งผลให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดและเกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานเพิ่มขึ้น
จากความกังวลทั้ง 2 ปัจจัยนี่เอง ส่งผลให้กองทุนที่ลงทุนในน้ำมันได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันล่าสุด พบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ และอยู่ในอันอับต้นๆ ของกองทุนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนเปิด ทหารไทย ออยล์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 14.63%
สำหรับอันดับ 2 คือ กองทุนเปิด K Oil ของบลจ.กสิกรไทย ด้วยผลตอบแทน 13.86% อันดับ 3. กองทุนเปิด เคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ ด้วยผลตอบแทน 13.76% อันดับ 4. กองทุนเปิด ซีมิโก้ ออยล์ แทรคกิ้ง ฟันด์ 13.55% อันดับ 5. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยผลตอบแทน 13.49%
อันดับ 6. กองทุนเปิด ทิสโก้ ออยล์ ฟันด์ ของบลจ.ทิสโก้ ด้วยผลตอบแทน 12.78% อันดับ 7. กองทุนเปิดแอสเซทพลัส ออยล์ ฟันด์ ของบลจ.แอสเซทพลัส ด้วยผลตอบแทน 12.38% อันดับ 8. กองทุนเปิด เคแทม ออยล์ ฟันด์ ของบลจ.กรุงไทย ด้วยผลตอบแทน 11.64% อันดับ 9. กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท คอมมอดิตี ของบลจ.ยูโอบี ด้วยผลตอบแทน 11.48% และอันดับ 10. กองทุนเปิดกรุงศรี ออยล์ ของบลจ.อยุธยา ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 11.04%
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกว่า ราคาน้ำมันยังคงพุ่งขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ในลิเบียยังคงยืดเยื้อ อีกทั้งกลุ่ม OPEC ก็ยังไม่มีการส่งสัญญาณเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาอย่างจริงจังส่งให้ราคาน้ำมันดิบ Nymex ปิดที่ 107.94 US$/bbl (+2.41%) สูงสุดนับตั้งแต่เดือนกย.51 ส่วนทองคำก็ยังคงทรงตัวในระดับสูง หลังความวุ่นวายในตะวันออกกลางยังยืดเยื้อและความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยูโรโซนที่ดูจะเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงท้ายสัปดาห์ได้รับแรงกดดันจากการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ให้ภาพแข็งแกร่งขึ้นกระตุ้นนักลงทุนให้ออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยง โดยในวันศุกร์ราคาทองคำส่งมอบทันทีปิดที่ 1,427.88 US$/oz (-0.05%)
สำหรับน้ำมันเรายังคงแนะนำ เก็งกำไร "ขึ้นขาย-ลงซื้อ" ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า มองกรอบการเคลื่อนไหวระยะสั้น 96-100 US$/bbl กองทุน Top-pick ของเรายังเป็นกองทุนน้ำมันที่ใช้ราคา NAV ของกองทุน DBO ในคืนวันซื้อขายในการอ้างอิงอย่างเช่นกองทุน K-OILบลจ.กสิกรไทย และ ASP-OIL ของบลจ. Asset Plus ส่วนราคาทองคำ สัปดาห์นี้การเคลื่อนไหวยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบ 1,413-1,450 US$/oz กองทุนทองคำยังเลือกกองทุน K-GOLD ของบลจ.กสิกรไทย (มีนโยบายจ่ายปันผล) และ ASP-GOLD ของบลจ.Asset Plus (ไม่มีการจ่ายปันผล) ทั้งนี้ ทั้งสองกองมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา แม้จะเป็นความกังวลของนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวน แต่กลับเป็นผลดีต่อนักลงทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) โดยเฉพาะทองคำและน้ำมัน ซึ่งในส่วนของสถานการณ์ราคาน้ำมันเอง ค่อนข้างได้อานิสงส์พอสมควร เนื่องจากความวุ่ยวายที่เกิดขึ้นในลิเบียซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกยังคงส่อเค้ายือเยื้อ ประกอบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น จนส่งผลให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดและเกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานเพิ่มขึ้น
จากความกังวลทั้ง 2 ปัจจัยนี่เอง ส่งผลให้กองทุนที่ลงทุนในน้ำมันได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันล่าสุด พบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ และอยู่ในอันอับต้นๆ ของกองทุนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนเปิด ทหารไทย ออยล์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 14.63%
สำหรับอันดับ 2 คือ กองทุนเปิด K Oil ของบลจ.กสิกรไทย ด้วยผลตอบแทน 13.86% อันดับ 3. กองทุนเปิด เคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ ด้วยผลตอบแทน 13.76% อันดับ 4. กองทุนเปิด ซีมิโก้ ออยล์ แทรคกิ้ง ฟันด์ 13.55% อันดับ 5. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยผลตอบแทน 13.49%
อันดับ 6. กองทุนเปิด ทิสโก้ ออยล์ ฟันด์ ของบลจ.ทิสโก้ ด้วยผลตอบแทน 12.78% อันดับ 7. กองทุนเปิดแอสเซทพลัส ออยล์ ฟันด์ ของบลจ.แอสเซทพลัส ด้วยผลตอบแทน 12.38% อันดับ 8. กองทุนเปิด เคแทม ออยล์ ฟันด์ ของบลจ.กรุงไทย ด้วยผลตอบแทน 11.64% อันดับ 9. กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท คอมมอดิตี ของบลจ.ยูโอบี ด้วยผลตอบแทน 11.48% และอันดับ 10. กองทุนเปิดกรุงศรี ออยล์ ของบลจ.อยุธยา ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 11.04%
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกว่า ราคาน้ำมันยังคงพุ่งขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ในลิเบียยังคงยืดเยื้อ อีกทั้งกลุ่ม OPEC ก็ยังไม่มีการส่งสัญญาณเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาอย่างจริงจังส่งให้ราคาน้ำมันดิบ Nymex ปิดที่ 107.94 US$/bbl (+2.41%) สูงสุดนับตั้งแต่เดือนกย.51 ส่วนทองคำก็ยังคงทรงตัวในระดับสูง หลังความวุ่นวายในตะวันออกกลางยังยืดเยื้อและความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยูโรโซนที่ดูจะเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงท้ายสัปดาห์ได้รับแรงกดดันจากการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ให้ภาพแข็งแกร่งขึ้นกระตุ้นนักลงทุนให้ออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยง โดยในวันศุกร์ราคาทองคำส่งมอบทันทีปิดที่ 1,427.88 US$/oz (-0.05%)
สำหรับน้ำมันเรายังคงแนะนำ เก็งกำไร "ขึ้นขาย-ลงซื้อ" ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า มองกรอบการเคลื่อนไหวระยะสั้น 96-100 US$/bbl กองทุน Top-pick ของเรายังเป็นกองทุนน้ำมันที่ใช้ราคา NAV ของกองทุน DBO ในคืนวันซื้อขายในการอ้างอิงอย่างเช่นกองทุน K-OILบลจ.กสิกรไทย และ ASP-OIL ของบลจ. Asset Plus ส่วนราคาทองคำ สัปดาห์นี้การเคลื่อนไหวยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบ 1,413-1,450 US$/oz กองทุนทองคำยังเลือกกองทุน K-GOLD ของบลจ.กสิกรไทย (มีนโยบายจ่ายปันผล) และ ASP-GOLD ของบลจ.Asset Plus (ไม่มีการจ่ายปันผล) ทั้งนี้ ทั้งสองกองมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน