บลจ.ฟินันซ่าชี้พันธบัตรฝอยทองยังน่าลงทุน แม้ถูกปรับลดเรตติ้ง ระบุผลตอบแทนยังดีกว่าในประเทศ แถมอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสยังดีกว่าไทยอีก มั่นใจรัฐบาลโปรตุเกสมีศักยภาพ หลังแสดงความมุ่งมั่นแก้ปัญหาเต็มที่
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า แม้ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody ‘s investor service ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกสประเภทระยะยาว (Long term rating ) ลง 2 อันดับจาก ระดับ A1 เป็นระดับ A3 และระยะสั้นลดลง 1 อันดับจาก P-1 เป็น P-2 แต่บริษัทยังเชื่อมั่นว่าเป็นโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในประเทศ
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาบริษัทยังได้ออกพันธบัตรโปรตุเกสอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามสถานการณ์อย่างใล้ชิด โดยล่าสุดได้ออกกองทุน FAM FFI5M1 มีอายุโครงการประมาณ 5 เดือน ให้ประมาณการผลตอบแทนถึง 3% ต่อปีและกองทุน FAM FFI10M1 มีอายุโครงการประมาณ 10 เดือน ให้ประมาณการผลตอบแทนถึง 4% ต่อปี ทั้งสองกองเสนอขาย 16 - 22 มีนาคม 2554
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าว ส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมเงินของรัฐบาลโปรตุเกสปรับเพิ่มขึ้นบ้าง โดยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 กระทรวงการคลังโปรตุเกสได้ออกประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี ที่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.33 % เพิ่มขึ้น 0.30 % จากการประมูลครั้งก่อน (เดือน ก.พ 2554) แต่ความสนใจของนักลงทุนในพันธบัตรโปรตุเกสก็ยังมีมากถึง 2.20 เท่าของจำนวนเงินที่ออก แสดงถึงความมั่นใจของนักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นของโปรตุเกสยังมีอยู่สูง
"การที่ต้นทุนดูจะเพิ่มขึ้น 0.30 % ต่อปี แต่เป็นการเพิ่มขึ้นจาก 2 ปัจจัย กล่าวคือส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากทิศทางของอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินยูโรที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือน กพ.ถึงปัจจุบัน โดยอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารประเภท 1 ปี (EUR LIBOR ) มีการปรับเพิ่มขึ้น 0.18-0.20 % และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบจากค่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นตามการลดอันดับความเชื่อถือของ Moody s ซึ่งมีการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในระยะสั้นภาวะความเสี่ยงของพันธบัตรโปรตุเกสจึงมีผลกระทบไม่มากนั้น เพราะ ข่าวการลดอันดับความเชื่อถือของ Moody s เป็นเรื่องที่ตลาดได้ทราบล่วงหน้าแล้ว"นายธีรพันธุ์กล่าว
นายธีรพันธุ์ กล่าวอีกว่า จากความเห็นของเจ้าหน้าที่ของ Moody s ในช่วงต้นปี 2554 ประเทศโปรตุเกสอาจถูกปรับลดอันดับความเชื่อถือลงไม่น่าเกิน 2 อันดับ หลังจากที่ทาง Moody s ได้เคยลดอันดับความเชื่อถือของประเทศ ไอร์แลนด์ลงถึง 5 อันดับ (จาก Aa1 เป็น Baa1 )ในปลายปี 2553 โดยให้เหตุผลถึงการคาดการณ์การลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศโปรตุเกสลงจะไม่ลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะ ว่ารัฐบาลโปรตุเกสแสดงถึงความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาการขาดดุลทางการคลัง โดยยอมออกมาตราการที่เข้มงวดต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายในปี 2554 ที่ให้ไว้กับประเทศสมาชิกกลุ่มยูโร
นอกจากนี้ ปัญหาของโปรตุเกสมีความแตกต่างจากปัญหาของประเทศไอร์แลนด์ที่มีปัญหาภาคธนาคาร (ปัญหาเรื่องหนี้เสียภาคอสังหาริมทรัพย์ ) ขณะที่ทางประเทศโปรตุเกสมีปัญหาด้านโครงสร้าง มิใช่ปัญหาภาคธนาคาร โดยถึงแม้ว่า Moody s ได้ลดอันดับความเชื่อถือของประเทศโปรตุเกสลงจาก A1 เป็น A 3 ซึ่งยังสูงกว่าระดับ Investment grade อยู่ 3 อันดับ และสูงกว่าอันดับความเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ 1 อันดับ
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า แม้ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody ‘s investor service ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกสประเภทระยะยาว (Long term rating ) ลง 2 อันดับจาก ระดับ A1 เป็นระดับ A3 และระยะสั้นลดลง 1 อันดับจาก P-1 เป็น P-2 แต่บริษัทยังเชื่อมั่นว่าเป็นโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในประเทศ
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาบริษัทยังได้ออกพันธบัตรโปรตุเกสอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามสถานการณ์อย่างใล้ชิด โดยล่าสุดได้ออกกองทุน FAM FFI5M1 มีอายุโครงการประมาณ 5 เดือน ให้ประมาณการผลตอบแทนถึง 3% ต่อปีและกองทุน FAM FFI10M1 มีอายุโครงการประมาณ 10 เดือน ให้ประมาณการผลตอบแทนถึง 4% ต่อปี ทั้งสองกองเสนอขาย 16 - 22 มีนาคม 2554
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าว ส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมเงินของรัฐบาลโปรตุเกสปรับเพิ่มขึ้นบ้าง โดยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 กระทรวงการคลังโปรตุเกสได้ออกประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี ที่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.33 % เพิ่มขึ้น 0.30 % จากการประมูลครั้งก่อน (เดือน ก.พ 2554) แต่ความสนใจของนักลงทุนในพันธบัตรโปรตุเกสก็ยังมีมากถึง 2.20 เท่าของจำนวนเงินที่ออก แสดงถึงความมั่นใจของนักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นของโปรตุเกสยังมีอยู่สูง
"การที่ต้นทุนดูจะเพิ่มขึ้น 0.30 % ต่อปี แต่เป็นการเพิ่มขึ้นจาก 2 ปัจจัย กล่าวคือส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากทิศทางของอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินยูโรที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือน กพ.ถึงปัจจุบัน โดยอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารประเภท 1 ปี (EUR LIBOR ) มีการปรับเพิ่มขึ้น 0.18-0.20 % และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบจากค่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นตามการลดอันดับความเชื่อถือของ Moody s ซึ่งมีการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในระยะสั้นภาวะความเสี่ยงของพันธบัตรโปรตุเกสจึงมีผลกระทบไม่มากนั้น เพราะ ข่าวการลดอันดับความเชื่อถือของ Moody s เป็นเรื่องที่ตลาดได้ทราบล่วงหน้าแล้ว"นายธีรพันธุ์กล่าว
นายธีรพันธุ์ กล่าวอีกว่า จากความเห็นของเจ้าหน้าที่ของ Moody s ในช่วงต้นปี 2554 ประเทศโปรตุเกสอาจถูกปรับลดอันดับความเชื่อถือลงไม่น่าเกิน 2 อันดับ หลังจากที่ทาง Moody s ได้เคยลดอันดับความเชื่อถือของประเทศ ไอร์แลนด์ลงถึง 5 อันดับ (จาก Aa1 เป็น Baa1 )ในปลายปี 2553 โดยให้เหตุผลถึงการคาดการณ์การลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศโปรตุเกสลงจะไม่ลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะ ว่ารัฐบาลโปรตุเกสแสดงถึงความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาการขาดดุลทางการคลัง โดยยอมออกมาตราการที่เข้มงวดต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายในปี 2554 ที่ให้ไว้กับประเทศสมาชิกกลุ่มยูโร
นอกจากนี้ ปัญหาของโปรตุเกสมีความแตกต่างจากปัญหาของประเทศไอร์แลนด์ที่มีปัญหาภาคธนาคาร (ปัญหาเรื่องหนี้เสียภาคอสังหาริมทรัพย์ ) ขณะที่ทางประเทศโปรตุเกสมีปัญหาด้านโครงสร้าง มิใช่ปัญหาภาคธนาคาร โดยถึงแม้ว่า Moody s ได้ลดอันดับความเชื่อถือของประเทศโปรตุเกสลงจาก A1 เป็น A 3 ซึ่งยังสูงกว่าระดับ Investment grade อยู่ 3 อันดับ และสูงกว่าอันดับความเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ 1 อันดับ