ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ากระแสเงินทุนจากต่างประเทศเริ่มทยอยไหลกลับไปสู่แหล่งลงทุนเดิม หรือตลาดกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ หรือกลุ่มยุโรป ซึ่งเม็ดเงินลงทุนเหล่านั้นเริ่มทยอยออกจากตลาดเกิดใหม่รวมถึงตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย เห็นได้จากตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่มีนักลงทุนต่างชาติขายเทขายหุ้นเพื่อทำกำไรบ้าง หรือเพื่อเปลี่ยนทิศทางการลงทุน แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าตัวตลาดหุ้นของเอเชียไม่มีความน่าสนใจแต่อย่างใด ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการจัดสรรเงินลงทุน ( Asset Allocation)อย่างถูกวิธีของนักลงทุนต่างชาติ และส่วนประกอบสำคัญคือตลาดหุ้นเอเชียในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ซึ่งเมื่อมองดูแล้วเป็นธรรมดาที่ตลาดหุ้นของเอเชียจะมีการปรับฐานบ้างเพื่อก้าวกระโดดไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับมาเป็นปัจจัยหลักในภูมิภาคเอเชีย นั้นหมายความว่าทางแบงก์ชาติของประเทศต่างๆต้องงัดมาตรการสำคัญมาคุมอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่มุมมองส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนักไปที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่มากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
สำหรับความน่าสนใจในตลาดที่พัฒนาเเล้วอย่างสหรัฐฯน่าจะมาจากตัวเลขบ่งชี้บางตัวของเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มที่ดีในช่วง Earnings Season ในขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มฟื้นตัวขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประกาศใช้มาก่อนหน้านี้เริ่มเห็นผล แม้ว่าจะมีปัจจัยลบบางอย่างมาทำให้เกิดความผันผวนบ้างแต่หากมองในระยะยาวเศรษฐกิจสหรัฐฯเองก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
มุมมองผู้จัดการกองทุนกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สาห์รัช ชัฎสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายการลงทุน บลจ.ทิสโก้ กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ปัญหาการว่างงาน และตัวเลขหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 2(QE2) กำลังจะหมดลงช่วงกลางปีนี้ ทำให้ยังจากหลายฝ่ายออกมาว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะออกมาตรการ QE3 หรือไม่ ซึ่งเรามองว่าเม็ดเงิน ลงทุนจะหันกลับมาลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงกว่าสหรัฐอีกครั้ง
ตระกูลจิต จิตตไสยะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ธนชาต กล่าวว่า การลงทุนในช่วงนี้จะเห็นว่าเม็ดเงินต่างชาติเริ่มทยอยไหลกลับเข้าไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามวัฎจักรของการลงทุน โดยที่ผ่านมามีเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นจำนวนมากเนื่องจาก สหรัฐฯและยุโรป มีวิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งนี้เศรษฐกิจของสหรัฐฯเริ่มส่งสัญาณดีขึ้น ข้อบ่งชี้ของตัวเลขเศรษฐกิจก็ดีขึ้นตามลำดับ ทำให้เม็ดเงินไหลกลับเข้าไปลงทุน ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียเริ่มมีปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อเข้ามา ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ แต่โดยรวมพื้นฐานเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ยังน่าสนใจอยู่
ขณะที่ ชัยเกษม วัฒนศิริพงษ์ หัวหน้าฝ่ายจัดจำหน่ายกองทุน บลจ. อเบอร์ดีน จำกัด มองว่า ดัชนีค่าความผันผวนของตลาดหุ้นในดัชนี S&P กลับมาสู่ระดับเดียวกับปี 2550 ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดขึ้น ขณะที่อุปสรรคต่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจยังคงอยู่ แต่เราเชื่อว่ามีเหตุผลที่นักลงทุนจะเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยธนาคารกลางของสหรัฐฯได้สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างได้ผล
โดยการทุ่มเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ตลาดครั้งล่าสุดหรือ QE2 (Quantitative Easing II) จนถึงขณะนี้ดูเหมือนจะมีผลสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ความเชื่อมั่นในการจับจ่ายและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น ดังมีข้อมูลจากผลสำรวจต่างๆและการฟื้นตัวของยอดขายปลีกที่สูงขึ้นจนถึงระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ผลสำรวจยังชี้ว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน หลายบริษัทได้ประกาศแผนเพิ่มการลงทุน
“เราเชื่อมั่นว่าข้อมูลเศรษฐกิจจะสนับสนุนแนวโน้มที่ดีของตลาดหุ้นสหรัฐฯในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของสหรัฐฯยังคงมีความเสี่ยง เช่น อัตราการว่างงานที่สูงอย่างต่อเนื่อง ราคาโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น ตลาดบ้านที่ยังซบเซาและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และปัญหาการขาดดุลงบประมาณและขาดดุลการค้า ทำให้ภาพเศรษฐกิจในระยะยาวของสหรัฐฯยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ในระดับหนึ่ง”
กองหุ้นสหรัฐฯที่มีในตลาด
1.กองทุนเปิดอเบอร์ดีน อเมริกัน โกรท ฟันด์ ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ ชื่อ อเบอร์ดีน โกลบอล - อเมริกัน เอคควิตี้ฟันด์ (Aberdeen Global - American Equity Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยพอร์ตการลงทุนของอเบอร์ดีนจะประกอบด้วยหุ้นที่มีพื้นฐานดี อีกทั้งเลือกหุ้นจากปัจจัยบริษัทก่อนพิจารณาปัจจัยภาพรวมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการจัดการพอร์ตการลงทุนของเราสะท้อนมุมมองในแง่บวกที่ระมัดระวัง
2.กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอสแอนด์พี 500 เป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่เน้นลงทุนใน SPDR S&P500 ETF เพียงกองทุนเดียว ทั้งนี้กองทุน SPDR S&P500 ETF เป็นกองทุน ETF ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P500 เพื่อนสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกีบผลตอบแทนของดัชนี S&P500
3.กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส อิควิตี้ ฟันด์ เป็นกองทุนที่จะลงทุนใน SPDR Trust, Series 1 กองทุนอีทีเอฟ ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นชั้นนำในสหรัฐฯ เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 มากที่สุด
4.กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ยู เอส 10 เป็นกองทุนทาร์เก็ดฟันด์ ลงทุนในสหรัฐที่มีสภาพคล่องสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยสามารถปรับพอร์ตการลงทุนตามสภาวการณ์ของตลาดได้ ซึ่งเป้าหมายของกองทุนจะเน้นสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีกว่า Benchmark (S&P500 Index) โดยคัดเลือกหลักทรัพย์ตามประเภทอุตสาหกรรม เช่น การเงิน พลังงาน เทคโนโลยี เวชภัณฑ์ สาธารณูปโภค เป็นต้น และขนาดของธุรกิจ และมีการบริหารกองทุนแบบ Active ทั้งนี้ กองทุนเปิด I-US10 มีการเพิ่มประสิทธิภาพทางการลงทุนด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) พร้อมป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ด้วยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
และล่าสุดขณะที่บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ก็มีทีท่าจะส่งกองทุนที่ลงทุนในสหรัฐฯ ภายในไตรมาสที่ 1 นี้อีกด้วย
นอกจากนี้ความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับมาเป็นปัจจัยหลักในภูมิภาคเอเชีย นั้นหมายความว่าทางแบงก์ชาติของประเทศต่างๆต้องงัดมาตรการสำคัญมาคุมอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่มุมมองส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนักไปที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่มากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
สำหรับความน่าสนใจในตลาดที่พัฒนาเเล้วอย่างสหรัฐฯน่าจะมาจากตัวเลขบ่งชี้บางตัวของเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มที่ดีในช่วง Earnings Season ในขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มฟื้นตัวขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประกาศใช้มาก่อนหน้านี้เริ่มเห็นผล แม้ว่าจะมีปัจจัยลบบางอย่างมาทำให้เกิดความผันผวนบ้างแต่หากมองในระยะยาวเศรษฐกิจสหรัฐฯเองก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
มุมมองผู้จัดการกองทุนกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สาห์รัช ชัฎสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายการลงทุน บลจ.ทิสโก้ กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ปัญหาการว่างงาน และตัวเลขหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 2(QE2) กำลังจะหมดลงช่วงกลางปีนี้ ทำให้ยังจากหลายฝ่ายออกมาว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะออกมาตรการ QE3 หรือไม่ ซึ่งเรามองว่าเม็ดเงิน ลงทุนจะหันกลับมาลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงกว่าสหรัฐอีกครั้ง
ตระกูลจิต จิตตไสยะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ธนชาต กล่าวว่า การลงทุนในช่วงนี้จะเห็นว่าเม็ดเงินต่างชาติเริ่มทยอยไหลกลับเข้าไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามวัฎจักรของการลงทุน โดยที่ผ่านมามีเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นจำนวนมากเนื่องจาก สหรัฐฯและยุโรป มีวิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งนี้เศรษฐกิจของสหรัฐฯเริ่มส่งสัญาณดีขึ้น ข้อบ่งชี้ของตัวเลขเศรษฐกิจก็ดีขึ้นตามลำดับ ทำให้เม็ดเงินไหลกลับเข้าไปลงทุน ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียเริ่มมีปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อเข้ามา ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ แต่โดยรวมพื้นฐานเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ยังน่าสนใจอยู่
ขณะที่ ชัยเกษม วัฒนศิริพงษ์ หัวหน้าฝ่ายจัดจำหน่ายกองทุน บลจ. อเบอร์ดีน จำกัด มองว่า ดัชนีค่าความผันผวนของตลาดหุ้นในดัชนี S&P กลับมาสู่ระดับเดียวกับปี 2550 ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดขึ้น ขณะที่อุปสรรคต่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจยังคงอยู่ แต่เราเชื่อว่ามีเหตุผลที่นักลงทุนจะเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยธนาคารกลางของสหรัฐฯได้สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างได้ผล
โดยการทุ่มเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ตลาดครั้งล่าสุดหรือ QE2 (Quantitative Easing II) จนถึงขณะนี้ดูเหมือนจะมีผลสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ความเชื่อมั่นในการจับจ่ายและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น ดังมีข้อมูลจากผลสำรวจต่างๆและการฟื้นตัวของยอดขายปลีกที่สูงขึ้นจนถึงระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ผลสำรวจยังชี้ว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน หลายบริษัทได้ประกาศแผนเพิ่มการลงทุน
“เราเชื่อมั่นว่าข้อมูลเศรษฐกิจจะสนับสนุนแนวโน้มที่ดีของตลาดหุ้นสหรัฐฯในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของสหรัฐฯยังคงมีความเสี่ยง เช่น อัตราการว่างงานที่สูงอย่างต่อเนื่อง ราคาโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น ตลาดบ้านที่ยังซบเซาและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และปัญหาการขาดดุลงบประมาณและขาดดุลการค้า ทำให้ภาพเศรษฐกิจในระยะยาวของสหรัฐฯยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ในระดับหนึ่ง”
กองหุ้นสหรัฐฯที่มีในตลาด
1.กองทุนเปิดอเบอร์ดีน อเมริกัน โกรท ฟันด์ ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ ชื่อ อเบอร์ดีน โกลบอล - อเมริกัน เอคควิตี้ฟันด์ (Aberdeen Global - American Equity Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยพอร์ตการลงทุนของอเบอร์ดีนจะประกอบด้วยหุ้นที่มีพื้นฐานดี อีกทั้งเลือกหุ้นจากปัจจัยบริษัทก่อนพิจารณาปัจจัยภาพรวมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการจัดการพอร์ตการลงทุนของเราสะท้อนมุมมองในแง่บวกที่ระมัดระวัง
2.กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอสแอนด์พี 500 เป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่เน้นลงทุนใน SPDR S&P500 ETF เพียงกองทุนเดียว ทั้งนี้กองทุน SPDR S&P500 ETF เป็นกองทุน ETF ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P500 เพื่อนสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกีบผลตอบแทนของดัชนี S&P500
3.กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส อิควิตี้ ฟันด์ เป็นกองทุนที่จะลงทุนใน SPDR Trust, Series 1 กองทุนอีทีเอฟ ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นชั้นนำในสหรัฐฯ เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 มากที่สุด
4.กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ยู เอส 10 เป็นกองทุนทาร์เก็ดฟันด์ ลงทุนในสหรัฐที่มีสภาพคล่องสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยสามารถปรับพอร์ตการลงทุนตามสภาวการณ์ของตลาดได้ ซึ่งเป้าหมายของกองทุนจะเน้นสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีกว่า Benchmark (S&P500 Index) โดยคัดเลือกหลักทรัพย์ตามประเภทอุตสาหกรรม เช่น การเงิน พลังงาน เทคโนโลยี เวชภัณฑ์ สาธารณูปโภค เป็นต้น และขนาดของธุรกิจ และมีการบริหารกองทุนแบบ Active ทั้งนี้ กองทุนเปิด I-US10 มีการเพิ่มประสิทธิภาพทางการลงทุนด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) พร้อมป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ด้วยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
และล่าสุดขณะที่บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ก็มีทีท่าจะส่งกองทุนที่ลงทุนในสหรัฐฯ ภายในไตรมาสที่ 1 นี้อีกด้วย