กบข. ตั้งเป้าปี 2554 เป็นปีแห่งการออม หวังกระตุ้นสมาชิกเข้าใจการลงทุน ด้วยการบริหารเงินให้ผลตอบแทนงอกเงย ชนะเงินเฟ้อ พร้อมเดินหน้าจับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หามาตรการจูงใจ เอื้อประโยชน์สมาชิกออมมากขึ้น
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่าปัจจุบันสมาชิกกบข.ส่วนมากยังขาดความเข้าใจเรื่องการออมอย่างแท้จริง เชื่อว่าการออมที่ดีคือการฝากธนาคาร ขณะที่การออมและนำเงินออมไปลงทุนบริหารต่อเพื่อให้งอกเงยเกิดดอกผลสำหรับใช้ในระยะยาวนั้นเป็นสิ่งที่สมาชิกไม่พึงปรารถนา
"เหตุที่เป็นเช่นนี้ถือเป็นเรื่องปกติ หลายสิ่งหลายอย่างที่เราเรียนรู้สมัยเป็นนักเรียนมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ไม่ก็วิชาชีพ เราไม่ค่อยได้เรียนรู้วิธีการบริหารเงินที่เราหามาได้ ช่องทางที่เราคุ้นเคยที่สุดก็มีเพียงฝากธนาคาร ซึ่งดอกเบี้ยต่ำมาก การฝากธนาคารควรทำเพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการใช้เงิน แต่การออมต้องนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผลงอกเงย และที่สำคัญคือต้องตระหนักว่าการออมและการบริหารเงินออมนั้นเป็นเรื่องของการสร้างเงินให้ออกดอกออกผลในระยะยาว ภาวะผันผวนของผลตอบแทนระยะสั้นเป็นเรื่องปกติของการลงทุนทั่วไป เพราะหากนำเงินไปลงทุนแบบผลตอบแทนแน่นอน คุ้มครองเงินต้น 100% แบบการฝากธนาคาร ผลตอบแทนที่ได้ก็จะน้อยมาก เมื่อนำเงินเฟ้อมาหักลบเงินที่มีอยู่แล้วค่าเงินจริงก็ด้อยลงไปแน่นอน ออมแบบนี้ดูเหมือนดี แต่จริงๆ แล้วยิ่งออมยิ่งค่าเงินลด”นางสาวโสภาวดีกล่าว
นอกจากปี 2554 จะเป็นปีสื่อสารให้สมาชิกเข้าใจถึงความเข้าใจเรื่องการออมอย่างแท้จริงแล้ว กบข.ยังจะย้ำให้สมาชิกเข้าใจถึงโครงสร้างทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีน้อยลง ขณะที่อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยก็จะสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 80 ปี นั่นก็หมายความว่าต้องมีชีวิตอยู่อีกไม่ต่ำกว่า 20 ปีหลังเกษียณ การเร่งออมเพิ่มและออมต่อเงินได้หลังเกษียณเพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินเพียงพอสำหรับใช้กว่าจะถึงบั้นปลายชีวิตถือเป็นประเด็นสำคัญ
นางสาวโสภาวดีกล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ กบข. ละเลยไม่ได้สำหรับการสื่อสารในปี 2554 คือการอธิบายให้สมาชิกและสังคมเข้าใจถึงวิธีการจัดการบริหารเงินออมของสมาชิก และเข้าใจถึงเงินออมซึ่งบริหารโดยกองทุน กบข. นำไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนระยะยาวที่เหมาะสม ซึ่งกบข.ก็ตั้งเป้าหมายว่าต้องชนะเงินเฟ้อ เพราะนั่นหมายถึงทำให้ค่าเงินของสมาชิกยังคงมีอำนาจซื้อไม่น้อยกว่าเดิม โดยเฉลี่ยนับตั้งแต่ตั้งกบข.มาเกือบ 14 ปี กบข.ก็บริหารเงินออมสมาชิกได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 7% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อประมาณ 3% นั่นคือสมาชิกได้ผลตอบแทนจากเงินออมอีกประมาณ 4%
นอกจากนี้ นางสาวโสภาวดียังกล่าวต่อว่า ปัจจุบันนอกจากกบข.จะเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ออมเพิ่มแล้ว สมาชิกที่เกษียณ หากไม่มีความจำเป็นต้องนำเงินก้อนออกไปทั้งหมดในเวลาเดียวกัน สมาชิกสามารถออมต่อ และ/หรือ ทยอยขอรับเงินออกไปใช้ตามความจำเป็น เงินก้อนที่อยู่กับกบข.ควรจะสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเพราะสมาชิกเองก็มีเงินบำนาญรับต่อเนื่องทุกเดือนอยู่แล้ว
ทั้งนี้ นอกจากปี 2554 กบข.จะกำหนดให้เป็นปีแห่งการรณรงค์การออมเพิ่ม-ออมต่อแล้ว กบข. ยังมีแผนงานจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการจูงใจ (Incentive Package) ที่ให้ประโยชน์กับสมาชิกกบข.อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้สมาชิก กบข. หันมาให้ความสำคัญกับการออมมากขึ้น
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่าปัจจุบันสมาชิกกบข.ส่วนมากยังขาดความเข้าใจเรื่องการออมอย่างแท้จริง เชื่อว่าการออมที่ดีคือการฝากธนาคาร ขณะที่การออมและนำเงินออมไปลงทุนบริหารต่อเพื่อให้งอกเงยเกิดดอกผลสำหรับใช้ในระยะยาวนั้นเป็นสิ่งที่สมาชิกไม่พึงปรารถนา
"เหตุที่เป็นเช่นนี้ถือเป็นเรื่องปกติ หลายสิ่งหลายอย่างที่เราเรียนรู้สมัยเป็นนักเรียนมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ไม่ก็วิชาชีพ เราไม่ค่อยได้เรียนรู้วิธีการบริหารเงินที่เราหามาได้ ช่องทางที่เราคุ้นเคยที่สุดก็มีเพียงฝากธนาคาร ซึ่งดอกเบี้ยต่ำมาก การฝากธนาคารควรทำเพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการใช้เงิน แต่การออมต้องนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผลงอกเงย และที่สำคัญคือต้องตระหนักว่าการออมและการบริหารเงินออมนั้นเป็นเรื่องของการสร้างเงินให้ออกดอกออกผลในระยะยาว ภาวะผันผวนของผลตอบแทนระยะสั้นเป็นเรื่องปกติของการลงทุนทั่วไป เพราะหากนำเงินไปลงทุนแบบผลตอบแทนแน่นอน คุ้มครองเงินต้น 100% แบบการฝากธนาคาร ผลตอบแทนที่ได้ก็จะน้อยมาก เมื่อนำเงินเฟ้อมาหักลบเงินที่มีอยู่แล้วค่าเงินจริงก็ด้อยลงไปแน่นอน ออมแบบนี้ดูเหมือนดี แต่จริงๆ แล้วยิ่งออมยิ่งค่าเงินลด”นางสาวโสภาวดีกล่าว
นอกจากปี 2554 จะเป็นปีสื่อสารให้สมาชิกเข้าใจถึงความเข้าใจเรื่องการออมอย่างแท้จริงแล้ว กบข.ยังจะย้ำให้สมาชิกเข้าใจถึงโครงสร้างทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีน้อยลง ขณะที่อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยก็จะสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 80 ปี นั่นก็หมายความว่าต้องมีชีวิตอยู่อีกไม่ต่ำกว่า 20 ปีหลังเกษียณ การเร่งออมเพิ่มและออมต่อเงินได้หลังเกษียณเพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินเพียงพอสำหรับใช้กว่าจะถึงบั้นปลายชีวิตถือเป็นประเด็นสำคัญ
นางสาวโสภาวดีกล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ กบข. ละเลยไม่ได้สำหรับการสื่อสารในปี 2554 คือการอธิบายให้สมาชิกและสังคมเข้าใจถึงวิธีการจัดการบริหารเงินออมของสมาชิก และเข้าใจถึงเงินออมซึ่งบริหารโดยกองทุน กบข. นำไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนระยะยาวที่เหมาะสม ซึ่งกบข.ก็ตั้งเป้าหมายว่าต้องชนะเงินเฟ้อ เพราะนั่นหมายถึงทำให้ค่าเงินของสมาชิกยังคงมีอำนาจซื้อไม่น้อยกว่าเดิม โดยเฉลี่ยนับตั้งแต่ตั้งกบข.มาเกือบ 14 ปี กบข.ก็บริหารเงินออมสมาชิกได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 7% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อประมาณ 3% นั่นคือสมาชิกได้ผลตอบแทนจากเงินออมอีกประมาณ 4%
นอกจากนี้ นางสาวโสภาวดียังกล่าวต่อว่า ปัจจุบันนอกจากกบข.จะเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ออมเพิ่มแล้ว สมาชิกที่เกษียณ หากไม่มีความจำเป็นต้องนำเงินก้อนออกไปทั้งหมดในเวลาเดียวกัน สมาชิกสามารถออมต่อ และ/หรือ ทยอยขอรับเงินออกไปใช้ตามความจำเป็น เงินก้อนที่อยู่กับกบข.ควรจะสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเพราะสมาชิกเองก็มีเงินบำนาญรับต่อเนื่องทุกเดือนอยู่แล้ว
ทั้งนี้ นอกจากปี 2554 กบข.จะกำหนดให้เป็นปีแห่งการรณรงค์การออมเพิ่ม-ออมต่อแล้ว กบข. ยังมีแผนงานจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการจูงใจ (Incentive Package) ที่ให้ประโยชน์กับสมาชิกกบข.อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้สมาชิก กบข. หันมาให้ความสำคัญกับการออมมากขึ้น