สมาคมบลจ. ล้มข้อตกลง ค่าคอมมิชชัน 0.20% เหตุสมาชิกเสียงแตก หวั่นความไม่เป็นธรรม หลังบลจ.ไม่เล่นตามกติตา นายกสมาคมฯ ย้ำ ไม่ขอเป็นตัวกลางอีก โยนบลจ. ตกลงราคากับโบรกเกอร์เอง มีผล วันนี้ (20 ม.ค.)
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมสมาคมบริษัทจัดการลงทุน วานนี้ (19 ม.ค.) มีข้อตกลงร่วมกันให้ยกเลิกมติ เมื่อ 7 กันยายน 2552 ที่กำหนดให้บริษัทสมาชิกใช้ค่าคอมมิชชั่นราคาเดียวกันทั้งหมดที่ 0.20% โดยในที่ประชุม มีบลจ. จำนวนหนึ่ง มีความเห็นว่ายังต้องการให้ใช้ราคาเดียวทุก บลจ. ทุกกองทุน เพื่อให้เกิด Unity ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของสมาคม แต่ต้องอยู่ในระดับในราคาที่เป็นธรรมต่อทั้งกองทุนและโบรกเกอร์ อย่างไรก็ตาม บลจ. อีกจำนวนหนึ่ง เห็นว่าหากไม่เป็นไปในทางเดียวกันครบทุก บลจ. ก็อาจเกิดการไม่ปฏิบัติตามกติตาได้ในภายหลัง ดังนั้น สมาคมฯ จึงกำหนดยกเลิกมติเดิมดังกล่าวไป
นอกจากนี้ สมาคมบลจ. จะไม่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางอีกต่อไปสำหรับกรณีนี้ เนื่องจากทางกลุ่มโบรกเกอร์ ไม่สามารถทำตามที่ตกลงกันในระดับสมาคมต่อสมาคมได้ จึงถือว่าพ้นระดับสมาคมต่อสมาคมไปแล้ว โดยแต่ละ บลจ. จะทำการต่อรองกับโบรกเกอรกันเอง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2553 เป็นต้นไป
นางวรวรรณกล่าวต่อว่า สมาคมบลจ. ยืนยันว่า การคิดราคาเดียวตามที่ตกลงกันในสมาคมนั้น ไม่ได้เกิดจากการคิดถึงผลประโยชน์ของโบรกเกอร์รายใดรายหนึ่งหรือรวมกัน แต่เป็นปัญหา Operation ของ บลจ. ซึ่งได้ร้องมายังสมาคมเอง เนื่องจากก่อนหน้านี้ โบรกเกอร์ได้เสนอ Sliding Scale เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายบัญชีกองทุนแต่ละกอง (ไม่นับรวมการ Trade ทุกกองทุนเป็นการ Trade รวมของ บลจ. ใน 1 วัน) ด้วยเหตุผลว่าติดขัดที่กองทุนแต่ละกองเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน ไม่สามารถนำมารวมปริมาณซื้อขายใน 1 วันต่อ 1 บลจ. ได้
ทั้งนี้ จากข้อเสนอดังกล่าว ส่งผลทำให้การแยกกองทุนที่ Trade ในแต่ละวันโดยจะคิดค่าธรรมเนียมตาม Sliding Scale ที่ขึ้นกับปริมาณการ Trade ในวันนั้นๆ ของแต่ละกอง นอกจากจะทำให้แต่ละกองทุนใน บลจ. เดียวกันถูกคิดค่าธรรมเนียมที่ต่างกันตามปริมาณการซื้อขายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับขนาดของกองทุนแต่ละกองแล้ว (กองทุนใน บลจ. เดียวกัน มีโอกาสสูงที่จะถูกคิดค่าธรรมเนียมโบรกเก้อร์ต่างกันเพราะขนาดกองทุนไม่เท่ากัน) ยังก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากในด้าน Operation ของ บลจ.
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ บลจ. แยก Trading Fee กับ Clearing Fee เป็นรายกองทุนในทุกๆ วันนั้นก็ก่อให้เกิดปัญหาด้าน Operation อีกมาก ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุนั้นทำให้เกิดโอกาสสูงที่ บลจ. จะส่งราคา NAV ของแต่ละกองทุนไม่ทันการปิดเล่มของ นสพ. ในตอนค่ำตามที่ต้องประกาศลง นสพ. ให้ลูกค้าทราบ NAV กองทุนเป็นรายกองทุนในทุกวันทำการ ซึ่งจะทำให้ บลจ. ทำผิดกฏหมาย
"จากปัญหาดังกล่าว สมาคมบลจ. จึงได้ข้อตกลงระหว่างสมาคม บล. (สมาคมโบรกเกอร์)ว่า ขอราคาเดียว ทุกกองทุน ทุก บลจ. รวมทั้งห้ามโบรกเกอร์แตกแถวออกไปเสนอราคาต่างหากจากที่สมาคมโบรกเกอร์กำหนดให้กับแต่ละ บลจ. เพราะหากเกิดขึ้น เราจะยกเลิกข้อตกลงนี้ โดยสมาคมโบรกเกอร์ ได้เสนอค่าคอมมิชชั่นราคาเดียวมาที่ 0.20%"นายกสมาคมกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา มีบริษัทสมาชิกจำนวน 2 แห่ง ได้ใช้ราคาที่ตกลงกันต่างไปจากมติของสมาคม โดยรายหนึ่งแจ้งว่าไม่ทราบเรื่องจากการประชุม อีกรายหนึ่งแจ้งว่าทำตามมติทุกอย่าง แต่เมื่อ Trade ไปแล้ว ฝั่งโบรกเก้อร์กลับระบุว่าคิด 0.18% ก็ต้องรับไว้ เพราะการไปปฏิเสธจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ผู้ถือหน่วย ทั้งนี้ ในส่วนของโบรกเกอร์นั้น มีโบรกเกอร์ต่างชาติ 3 แห่ง และโบรกเกอร์ไทย 2 แห่ง เสนอราคาตั้งแต่ 0% ถึง 0.10% ไปยัง บลจ. ต่างๆ
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมสมาคมบริษัทจัดการลงทุน วานนี้ (19 ม.ค.) มีข้อตกลงร่วมกันให้ยกเลิกมติ เมื่อ 7 กันยายน 2552 ที่กำหนดให้บริษัทสมาชิกใช้ค่าคอมมิชชั่นราคาเดียวกันทั้งหมดที่ 0.20% โดยในที่ประชุม มีบลจ. จำนวนหนึ่ง มีความเห็นว่ายังต้องการให้ใช้ราคาเดียวทุก บลจ. ทุกกองทุน เพื่อให้เกิด Unity ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของสมาคม แต่ต้องอยู่ในระดับในราคาที่เป็นธรรมต่อทั้งกองทุนและโบรกเกอร์ อย่างไรก็ตาม บลจ. อีกจำนวนหนึ่ง เห็นว่าหากไม่เป็นไปในทางเดียวกันครบทุก บลจ. ก็อาจเกิดการไม่ปฏิบัติตามกติตาได้ในภายหลัง ดังนั้น สมาคมฯ จึงกำหนดยกเลิกมติเดิมดังกล่าวไป
นอกจากนี้ สมาคมบลจ. จะไม่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางอีกต่อไปสำหรับกรณีนี้ เนื่องจากทางกลุ่มโบรกเกอร์ ไม่สามารถทำตามที่ตกลงกันในระดับสมาคมต่อสมาคมได้ จึงถือว่าพ้นระดับสมาคมต่อสมาคมไปแล้ว โดยแต่ละ บลจ. จะทำการต่อรองกับโบรกเกอรกันเอง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2553 เป็นต้นไป
นางวรวรรณกล่าวต่อว่า สมาคมบลจ. ยืนยันว่า การคิดราคาเดียวตามที่ตกลงกันในสมาคมนั้น ไม่ได้เกิดจากการคิดถึงผลประโยชน์ของโบรกเกอร์รายใดรายหนึ่งหรือรวมกัน แต่เป็นปัญหา Operation ของ บลจ. ซึ่งได้ร้องมายังสมาคมเอง เนื่องจากก่อนหน้านี้ โบรกเกอร์ได้เสนอ Sliding Scale เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายบัญชีกองทุนแต่ละกอง (ไม่นับรวมการ Trade ทุกกองทุนเป็นการ Trade รวมของ บลจ. ใน 1 วัน) ด้วยเหตุผลว่าติดขัดที่กองทุนแต่ละกองเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน ไม่สามารถนำมารวมปริมาณซื้อขายใน 1 วันต่อ 1 บลจ. ได้
ทั้งนี้ จากข้อเสนอดังกล่าว ส่งผลทำให้การแยกกองทุนที่ Trade ในแต่ละวันโดยจะคิดค่าธรรมเนียมตาม Sliding Scale ที่ขึ้นกับปริมาณการ Trade ในวันนั้นๆ ของแต่ละกอง นอกจากจะทำให้แต่ละกองทุนใน บลจ. เดียวกันถูกคิดค่าธรรมเนียมที่ต่างกันตามปริมาณการซื้อขายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับขนาดของกองทุนแต่ละกองแล้ว (กองทุนใน บลจ. เดียวกัน มีโอกาสสูงที่จะถูกคิดค่าธรรมเนียมโบรกเก้อร์ต่างกันเพราะขนาดกองทุนไม่เท่ากัน) ยังก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากในด้าน Operation ของ บลจ.
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ บลจ. แยก Trading Fee กับ Clearing Fee เป็นรายกองทุนในทุกๆ วันนั้นก็ก่อให้เกิดปัญหาด้าน Operation อีกมาก ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุนั้นทำให้เกิดโอกาสสูงที่ บลจ. จะส่งราคา NAV ของแต่ละกองทุนไม่ทันการปิดเล่มของ นสพ. ในตอนค่ำตามที่ต้องประกาศลง นสพ. ให้ลูกค้าทราบ NAV กองทุนเป็นรายกองทุนในทุกวันทำการ ซึ่งจะทำให้ บลจ. ทำผิดกฏหมาย
"จากปัญหาดังกล่าว สมาคมบลจ. จึงได้ข้อตกลงระหว่างสมาคม บล. (สมาคมโบรกเกอร์)ว่า ขอราคาเดียว ทุกกองทุน ทุก บลจ. รวมทั้งห้ามโบรกเกอร์แตกแถวออกไปเสนอราคาต่างหากจากที่สมาคมโบรกเกอร์กำหนดให้กับแต่ละ บลจ. เพราะหากเกิดขึ้น เราจะยกเลิกข้อตกลงนี้ โดยสมาคมโบรกเกอร์ ได้เสนอค่าคอมมิชชั่นราคาเดียวมาที่ 0.20%"นายกสมาคมกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา มีบริษัทสมาชิกจำนวน 2 แห่ง ได้ใช้ราคาที่ตกลงกันต่างไปจากมติของสมาคม โดยรายหนึ่งแจ้งว่าไม่ทราบเรื่องจากการประชุม อีกรายหนึ่งแจ้งว่าทำตามมติทุกอย่าง แต่เมื่อ Trade ไปแล้ว ฝั่งโบรกเก้อร์กลับระบุว่าคิด 0.18% ก็ต้องรับไว้ เพราะการไปปฏิเสธจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ผู้ถือหน่วย ทั้งนี้ ในส่วนของโบรกเกอร์นั้น มีโบรกเกอร์ต่างชาติ 3 แห่ง และโบรกเกอร์ไทย 2 แห่ง เสนอราคาตั้งแต่ 0% ถึง 0.10% ไปยัง บลจ. ต่างๆ