โบรกเกอร์กองทุนรวม ประเมินสินค้าโภคภันฑ์ ปี 53 มาเเรงหลังได้รับเเรงหนุนจากเงินเฟ้อเเละความต้องการสินค้าจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว พร้อมเเนะนักลงทุนทยอยเก็บคอมมอนีตี้เข้าพอร์ต มั่นใจให้ผลตอบเเทนที่ดีในอนาคต
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล Fund SuperMart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้ม Commodities หรือ สินค้าโภคภันฑ์ ในปี 2553 นี้คาดว่าจะ ได้รับแรงหนุนจากเงินเฟ้อ และความต้องการจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการที่ประเทศต่างๆ ใช้มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสหรัฐฯที่พิมพ์เงินออกมาจำนวนมากเพื่ออุ้มสถาบันการเงิน และใช้ประคับประคองเศรษฐกิจเราคาดว่าจะเป็นตัวจุดชนวนเงินเฟ้อให้ได้เห็นกันในไม่ช้านี้
อย่างไรก็ตามเรามองว่าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกในเดือน พ.ย. 52 ซึ่งภาพอัตราเงินเฟ้อดังกล่าว และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวดีขึ้นจะเป็นตัวหนุนการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง น้ำมัน และทองคำ ซึ่งราคาน้ำมันเราคาดว่าจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ75 - 85 US$/บาร์เรล ส่วนราคาทองคำมองว่ามีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบระดับ 1,340 US$/oz โดยคิดว่าไม่น่าจะปรับลงต่ำกว่า 1,000 US$/oz นอกจากนี้ในส่วนของราคาสินค้าเกษตรอาจจะเห็นการขยับขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้คาดว่าปริมาณผลผลิตที่ได้จะมีจำนวนลดลง
ขณะเดียวกันเรายังมองทิศทางที่เป็นบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในประเทศพัฒนา และตัวเลขเศรษฐกิจประเทศพัฒนาที่ยังส่งสัญญาณบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนโดยการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2553 เรายังมองว่าในระยะปานกลางทิศทางเงินเฟ้อของประเทศส่วนใหญ่ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นและค่าเงินดอลลาร์ที่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักจะยังเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในทองคำซึ่งมองกรอบการเคลื่อนไหวเฉลี่ยทั้งปีที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนที่ 1,000 - 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ส่วนราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมามีกรอบการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน และน่าสนใจสำหรับการลงทุนระหว่าง 70 - 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เรายังคงแนะนำลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง 30%ตราสารหนี้ 50% และเงินสด/ตลาดเงิน 20% สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงในระดับปานกลาง และแนะนำลงทุนในทองคำ และน้ำมัน
"เรายังแนะนำ ASP-GOLD และ K-GOLD เนื่องจากมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด และ P-GOLD ซึ่งเหมาะสำหรับการลงทุนในทองคำในระยะยาวเนื่องจากมีการลงทุน และบริหารความผันผวนของราคาทองคำโดยลงทุนใน Gold Future สำหรับกองทุนน้ำมันเราแนะนำ ASP-OIL จากนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดเช่นกัน" นายสานุพงศ์ กล่าว
นายสานุพงศ์ กล่าวอีกว่า ในช่วงปลายปี 2552 ที่ผ่านมาคงได้เห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานที่ลดลง, ยอดค้าปลีก และตัวเลขดัชนีทางอุตสหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ตลาดต่างคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์กันไว้ทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีการดีดตัวกลับแข็งค่าขึ้นหลังจากอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้มีคาดการณ์ GDP ปีหน้าของสหรัฐฯจะกลับมาเป็นบวกได้ราว 0.80% จากปี 52 ที่ -2.60%
อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed เองแม้ว่าจะมีมุมมองที่ดีขึ้นกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯแต่ด้วยอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงถึง 10% และคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะ ทำให้วางใจไม่ได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวได้อย่างมั่นคงแล้ว ส่วนปัญหาหนี้ของ ดูไบ เวิลด์ เรายังคงมองว่าผลกระทบยังอยู่ในวงจำกัดด้วยมูลค่าหนี้ 5.9 หมื่นล้านดอลลาร์ยังน้อยกว่ามูลค่าความเสียหายของวิกฤตครั้งก่อนอยู่มาก โดยเรามองว่าจะมีผลกระทบในตะวันออกกลาง และสถาบันการเงินบางแห่งในยุโรปเท่านั้น (เช่น HSBC, Standard Chartered, Royal Bank of Scotland: RBS) แต่ยังต้องจับตามองต่อไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล Fund SuperMart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้ม Commodities หรือ สินค้าโภคภันฑ์ ในปี 2553 นี้คาดว่าจะ ได้รับแรงหนุนจากเงินเฟ้อ และความต้องการจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการที่ประเทศต่างๆ ใช้มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสหรัฐฯที่พิมพ์เงินออกมาจำนวนมากเพื่ออุ้มสถาบันการเงิน และใช้ประคับประคองเศรษฐกิจเราคาดว่าจะเป็นตัวจุดชนวนเงินเฟ้อให้ได้เห็นกันในไม่ช้านี้
อย่างไรก็ตามเรามองว่าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกในเดือน พ.ย. 52 ซึ่งภาพอัตราเงินเฟ้อดังกล่าว และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวดีขึ้นจะเป็นตัวหนุนการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง น้ำมัน และทองคำ ซึ่งราคาน้ำมันเราคาดว่าจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ75 - 85 US$/บาร์เรล ส่วนราคาทองคำมองว่ามีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบระดับ 1,340 US$/oz โดยคิดว่าไม่น่าจะปรับลงต่ำกว่า 1,000 US$/oz นอกจากนี้ในส่วนของราคาสินค้าเกษตรอาจจะเห็นการขยับขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้คาดว่าปริมาณผลผลิตที่ได้จะมีจำนวนลดลง
ขณะเดียวกันเรายังมองทิศทางที่เป็นบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในประเทศพัฒนา และตัวเลขเศรษฐกิจประเทศพัฒนาที่ยังส่งสัญญาณบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนโดยการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2553 เรายังมองว่าในระยะปานกลางทิศทางเงินเฟ้อของประเทศส่วนใหญ่ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นและค่าเงินดอลลาร์ที่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักจะยังเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในทองคำซึ่งมองกรอบการเคลื่อนไหวเฉลี่ยทั้งปีที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนที่ 1,000 - 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ส่วนราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมามีกรอบการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน และน่าสนใจสำหรับการลงทุนระหว่าง 70 - 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เรายังคงแนะนำลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง 30%ตราสารหนี้ 50% และเงินสด/ตลาดเงิน 20% สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงในระดับปานกลาง และแนะนำลงทุนในทองคำ และน้ำมัน
"เรายังแนะนำ ASP-GOLD และ K-GOLD เนื่องจากมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด และ P-GOLD ซึ่งเหมาะสำหรับการลงทุนในทองคำในระยะยาวเนื่องจากมีการลงทุน และบริหารความผันผวนของราคาทองคำโดยลงทุนใน Gold Future สำหรับกองทุนน้ำมันเราแนะนำ ASP-OIL จากนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดเช่นกัน" นายสานุพงศ์ กล่าว
นายสานุพงศ์ กล่าวอีกว่า ในช่วงปลายปี 2552 ที่ผ่านมาคงได้เห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานที่ลดลง, ยอดค้าปลีก และตัวเลขดัชนีทางอุตสหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ตลาดต่างคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์กันไว้ทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีการดีดตัวกลับแข็งค่าขึ้นหลังจากอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้มีคาดการณ์ GDP ปีหน้าของสหรัฐฯจะกลับมาเป็นบวกได้ราว 0.80% จากปี 52 ที่ -2.60%
อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed เองแม้ว่าจะมีมุมมองที่ดีขึ้นกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯแต่ด้วยอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงถึง 10% และคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะ ทำให้วางใจไม่ได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวได้อย่างมั่นคงแล้ว ส่วนปัญหาหนี้ของ ดูไบ เวิลด์ เรายังคงมองว่าผลกระทบยังอยู่ในวงจำกัดด้วยมูลค่าหนี้ 5.9 หมื่นล้านดอลลาร์ยังน้อยกว่ามูลค่าความเสียหายของวิกฤตครั้งก่อนอยู่มาก โดยเรามองว่าจะมีผลกระทบในตะวันออกกลาง และสถาบันการเงินบางแห่งในยุโรปเท่านั้น (เช่น HSBC, Standard Chartered, Royal Bank of Scotland: RBS) แต่ยังต้องจับตามองต่อไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น