กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลปีวัว ฟื้นตามเศรษฐกิจ เงินลงทุนไหลเข้าต่อเนื่อง ผู้จัดการกองทุนจับตาปีเสือ สงครามค่าฟียังเดือด ระบุทางเลือกลงทุนต่างประเทศ จูงใจลูกค้ามากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในกองทุนสำรองเสี้ยงชีพ (โพรวิเดนท์ฟันด์) และกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์) ในปีที่ผ่านมา เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ โดยจบเดือนพฤษจิกายน 2552 พบว่า โดยภาพรวมแล้ว กองทุนทั้ง 2 ประเภท เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเงินลงทุนรวมที่ยังคงไหลเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนส่วนบุคคล ตามทิศทางดัชนีหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ได้จากจำนวนนายจ้าง จำนวนสมาชิก และจำนวนกองทุนที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนของปี 2552 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 504,224.41 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 38,927.97 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น465,296.44 ล้านบาทในช่วงสิ้นปี 2551
โดยภาพรวมทั้งระบบ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด ยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์รวม 72,271.60 ล้านบาท ตามมาด้วย บลจ.กสิกรไทย 70,134.49 ล้านบาท อันดับ 3.บลจ. ทิสโก้ ด้วยสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม 68,095.64 ล้านบาท อันดับ 4.บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 63,535.48 ล้านบาท และบลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยสินทรัพย์รวม 60,555.09 ล้านบาท
สำหรับภาพรวมของกองทุนส่วนบุคคลในช่วง 11 เดือนของปี 2552 มีเงินลงทุนรวมทั้งระบบอยู่ที่ 208,972.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปลายปีก่อนหน้านี้ที่มีสินทรัพย์รวม 168,276.96 ล้านบาทอยู่ประมาณ 40,695.92 ล้านบาท
ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 48,594.15 ล้านบาท อันดับ 2 บลจ. ทิสโก้ มีเงินลงทุนรวม 36,828.40 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ.วรรณ 27,162.24 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ที่มีเงินลงทุนรวม 23,004.06 ล้านบาทและบลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ด้วยเงินลงทุนรวม 18,757.32 ล้านบาท
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ในส่วนของกองทุนสำรองเสี้ยงชีพจะเห็นการแข่งขันอยู่ 2 ส่วน คือ ลูกค้าที่เป็นรัฐวิสาหกิจและลูกค้าเอกชนทั่วไป ซึ่งในส่วนรัฐวิสาหกิจ จะยังเห็นการแข่งขันสูงในแง่ของราคา (ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการหรือค่าฟี) รวมถึงการให้บริการจากบริษัทจัดการด้วย เพราะปัจจุบันจำนวนผู้ซื้อในระบบยังจำกัด แต่ผู้ขายมีจำนวนมาก ทั้งนี้ มองว่ารูปแบบการออมผ่าน Employee Choice จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น เพราะลูกจ้างสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนของตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เอง การจัดพอร์ตยังคงต้องระวังความเสี่ยงในแง่ความผันผวน โดยเฉพาะปัจจัยการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความแน่นอน
สำหรับธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลในปีนี้ ยังคงต้องรอดูนโยบายการลงทุนของสถาบันรายใหญ่อย่างสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ว่าจะออกมาอย่างถึงจะประเมินภาพรวมได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าโดยรวมแล้วจะสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยการลงทุนต่างประเทศน่าจะเป็นการลงทุนที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น
นางสาวประภา ปูรณโชติ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ.กรุงไทย กล่าวถึงแผนงานในปีนี้เอาไว้ว่า บริษัทตั้งเป้าว่าจะขยายสินทรัพย์ หรือ AUM ของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเติบโต 15% โดยจะมุ่งเจาะลูกค้าภาคเอกชนและลูกค้าของธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากนัก ซึ่งในปีที่ผ่านมาเราเริ่มรุกกลุ่มสถาบันการศึกษา ส่งผลให้ลูกค้าเราได้บริหารพอร์ตเพิ่มขึ้นประมาณ 15 รายและต้นปี 2553 นี้จะมีลูกค้าเข้าเพิ่มอีก 5 ราย โดยแต่ละสถาบันการศึกษามีขนาดกองทุนเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับแนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีหน้ามองว่ายังมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะการตัดราคาหรือค่าธรรมเนียม เพื่อดึงลูกค้ามาอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทตัวเอง ซึ่งประเด็นนี้บริษัทคงจะทำได้เพียงการบริหารจัดการกองทุนให้มีผลการดำเนินงานอยู่อันดับต้นๆ ของระบบ เพื่อให้ลูกค้าพอใจในการบริหารงาน เเละไว้วางใจให้ลจ.กรุงไทยเป็นผู้บริหารพอร์ตการลงทุนต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในกองทุนสำรองเสี้ยงชีพ (โพรวิเดนท์ฟันด์) และกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์) ในปีที่ผ่านมา เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ โดยจบเดือนพฤษจิกายน 2552 พบว่า โดยภาพรวมแล้ว กองทุนทั้ง 2 ประเภท เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเงินลงทุนรวมที่ยังคงไหลเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนส่วนบุคคล ตามทิศทางดัชนีหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ได้จากจำนวนนายจ้าง จำนวนสมาชิก และจำนวนกองทุนที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนของปี 2552 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 504,224.41 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 38,927.97 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น465,296.44 ล้านบาทในช่วงสิ้นปี 2551
โดยภาพรวมทั้งระบบ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด ยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์รวม 72,271.60 ล้านบาท ตามมาด้วย บลจ.กสิกรไทย 70,134.49 ล้านบาท อันดับ 3.บลจ. ทิสโก้ ด้วยสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม 68,095.64 ล้านบาท อันดับ 4.บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 63,535.48 ล้านบาท และบลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยสินทรัพย์รวม 60,555.09 ล้านบาท
สำหรับภาพรวมของกองทุนส่วนบุคคลในช่วง 11 เดือนของปี 2552 มีเงินลงทุนรวมทั้งระบบอยู่ที่ 208,972.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปลายปีก่อนหน้านี้ที่มีสินทรัพย์รวม 168,276.96 ล้านบาทอยู่ประมาณ 40,695.92 ล้านบาท
ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 48,594.15 ล้านบาท อันดับ 2 บลจ. ทิสโก้ มีเงินลงทุนรวม 36,828.40 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ.วรรณ 27,162.24 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ที่มีเงินลงทุนรวม 23,004.06 ล้านบาทและบลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ด้วยเงินลงทุนรวม 18,757.32 ล้านบาท
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ในส่วนของกองทุนสำรองเสี้ยงชีพจะเห็นการแข่งขันอยู่ 2 ส่วน คือ ลูกค้าที่เป็นรัฐวิสาหกิจและลูกค้าเอกชนทั่วไป ซึ่งในส่วนรัฐวิสาหกิจ จะยังเห็นการแข่งขันสูงในแง่ของราคา (ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการหรือค่าฟี) รวมถึงการให้บริการจากบริษัทจัดการด้วย เพราะปัจจุบันจำนวนผู้ซื้อในระบบยังจำกัด แต่ผู้ขายมีจำนวนมาก ทั้งนี้ มองว่ารูปแบบการออมผ่าน Employee Choice จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น เพราะลูกจ้างสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนของตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เอง การจัดพอร์ตยังคงต้องระวังความเสี่ยงในแง่ความผันผวน โดยเฉพาะปัจจัยการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความแน่นอน
สำหรับธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลในปีนี้ ยังคงต้องรอดูนโยบายการลงทุนของสถาบันรายใหญ่อย่างสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ว่าจะออกมาอย่างถึงจะประเมินภาพรวมได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าโดยรวมแล้วจะสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยการลงทุนต่างประเทศน่าจะเป็นการลงทุนที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น
นางสาวประภา ปูรณโชติ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ.กรุงไทย กล่าวถึงแผนงานในปีนี้เอาไว้ว่า บริษัทตั้งเป้าว่าจะขยายสินทรัพย์ หรือ AUM ของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเติบโต 15% โดยจะมุ่งเจาะลูกค้าภาคเอกชนและลูกค้าของธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากนัก ซึ่งในปีที่ผ่านมาเราเริ่มรุกกลุ่มสถาบันการศึกษา ส่งผลให้ลูกค้าเราได้บริหารพอร์ตเพิ่มขึ้นประมาณ 15 รายและต้นปี 2553 นี้จะมีลูกค้าเข้าเพิ่มอีก 5 ราย โดยแต่ละสถาบันการศึกษามีขนาดกองทุนเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับแนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีหน้ามองว่ายังมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะการตัดราคาหรือค่าธรรมเนียม เพื่อดึงลูกค้ามาอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทตัวเอง ซึ่งประเด็นนี้บริษัทคงจะทำได้เพียงการบริหารจัดการกองทุนให้มีผลการดำเนินงานอยู่อันดับต้นๆ ของระบบ เพื่อให้ลูกค้าพอใจในการบริหารงาน เเละไว้วางใจให้ลจ.กรุงไทยเป็นผู้บริหารพอร์ตการลงทุนต่อไป