คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การลงทุนในอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยม และอยู่ในความสนใจของนักลงทุนมาขึ้นเรื่อย ๆ คือ กองทุนช่วยประหยัดภาษี เช่น กองทุน LTF ซึ่งย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว และ RMF ซึ่งย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งการลงทุนในกองทุนเหล่านี้เป็นการลงทุนในกองทุนแบบพิเศษที่ให้สิทธิผู้ลงทุนในการนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้เพื่อการลดหย่อนภาษีได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
RMF “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่นำเงินของผู้ลงทุนหลาย ๆ คนมารวมกัน และมีบริษัทจัดการกองทุนดำเนินการบริหารจัดการเงินตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ และ RMF นี้ เป็นเครื่องมือหนึ่งของผู้ลงทุนในการสะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ และได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ
RMF มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย เหมือนกองทุนรวมทั่วไปตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ ที่เน้นการลงทุนเฉพาะในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรคุณภาพดี กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง ที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนไปพร้อม ๆ กัน และกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ และใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น เป็นต้น
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน RMF จึงมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นการลงทุนโดยสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้
2. ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000บาท แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า
3. การลงทุนลงทุนสูงสุดไม่เกิน15%ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
4. ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน (ยกเว้นปีที่ไม่มีเงินได้)
5. การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
การผิดเงื่อนไขของการลงทุนใน RMF คือ
1. ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
2. ลงทุนขั้นต่ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปี
4. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะมีการลงทุนครบ 5 ปี
ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ จะไม่เป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุน
LTF “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมอีกประเภทหนึ่งที่เน้นลงทุนในหุ้นสามัญ และได้รับการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การเพิ่มกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันนี้ จะช่วยให้ตลาดทุนของประเทศไทยมีเสถียรภาพสูงมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน
LTF มีนโยบายการลงทุนแบบเดียว คือ จะทำการลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะมีการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยการลงทุนนั้นอาจเน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET 50 หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุนในหุ้นสามัญตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของแต่ละ LTF
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีการลงทุนใน LTF คือ เมื่อผู้ลงทุน ซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน โดย เริ่มนับตั้งแต่ปีที่มีการลงทุนครั้งแรกเป็นปีที่ 1 และนับก้อนเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี เช่น ลงทุนในระหว่างปี 2547 จะครบ 5 ปีตั้งแต่เดือนมกราคม 2551ลงทุนในระหว่างปี 2548 จะครบ 5 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป)
การผิดเงือนไขในการลงทุนใน LTF คือ การขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน กรณีผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุน
การลงทุนในรูปแบบใดก็ตามมักจะมีความเสี่ยงควบคู่มาด้วยเสมอ ดังนั้นหากผู้ลงทุนจะทำการพิจารณา หรือตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงผลตอบแทนจากการลงทุน และความเสี่ยงในการลงทุนควบคู่กันไปทุกครั้ง
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การลงทุนในอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยม และอยู่ในความสนใจของนักลงทุนมาขึ้นเรื่อย ๆ คือ กองทุนช่วยประหยัดภาษี เช่น กองทุน LTF ซึ่งย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว และ RMF ซึ่งย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งการลงทุนในกองทุนเหล่านี้เป็นการลงทุนในกองทุนแบบพิเศษที่ให้สิทธิผู้ลงทุนในการนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้เพื่อการลดหย่อนภาษีได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
RMF “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่นำเงินของผู้ลงทุนหลาย ๆ คนมารวมกัน และมีบริษัทจัดการกองทุนดำเนินการบริหารจัดการเงินตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ และ RMF นี้ เป็นเครื่องมือหนึ่งของผู้ลงทุนในการสะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ และได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ
RMF มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย เหมือนกองทุนรวมทั่วไปตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ ที่เน้นการลงทุนเฉพาะในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรคุณภาพดี กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง ที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนไปพร้อม ๆ กัน และกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ และใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น เป็นต้น
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน RMF จึงมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นการลงทุนโดยสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้
2. ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000บาท แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า
3. การลงทุนลงทุนสูงสุดไม่เกิน15%ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
4. ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน (ยกเว้นปีที่ไม่มีเงินได้)
5. การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
การผิดเงื่อนไขของการลงทุนใน RMF คือ
1. ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
2. ลงทุนขั้นต่ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปี
4. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะมีการลงทุนครบ 5 ปี
ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ จะไม่เป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุน
LTF “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมอีกประเภทหนึ่งที่เน้นลงทุนในหุ้นสามัญ และได้รับการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การเพิ่มกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันนี้ จะช่วยให้ตลาดทุนของประเทศไทยมีเสถียรภาพสูงมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน
LTF มีนโยบายการลงทุนแบบเดียว คือ จะทำการลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะมีการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยการลงทุนนั้นอาจเน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET 50 หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุนในหุ้นสามัญตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของแต่ละ LTF
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีการลงทุนใน LTF คือ เมื่อผู้ลงทุน ซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน โดย เริ่มนับตั้งแต่ปีที่มีการลงทุนครั้งแรกเป็นปีที่ 1 และนับก้อนเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี เช่น ลงทุนในระหว่างปี 2547 จะครบ 5 ปีตั้งแต่เดือนมกราคม 2551ลงทุนในระหว่างปี 2548 จะครบ 5 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป)
การผิดเงือนไขในการลงทุนใน LTF คือ การขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน กรณีผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุน
การลงทุนในรูปแบบใดก็ตามมักจะมีความเสี่ยงควบคู่มาด้วยเสมอ ดังนั้นหากผู้ลงทุนจะทำการพิจารณา หรือตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงผลตอบแทนจากการลงทุน และความเสี่ยงในการลงทุนควบคู่กันไปทุกครั้ง