ต้องบอกว่า ปี 2552 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีทองของธุรกิจกองทุนรวมอีกปีหนึ่งก็ว่าได้ โดยการขยายตัวตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นกว่า 18.9% จากสิ้นปี 2551 ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 1,526,811.5 ล้านบาท มาอยู่ที่ 1,815,222.8 ล้านบาท (ณ 11 ธ.ค. 52) ถือว่าสวนทางกับทิศทางเศรษฐกิจพอสมควร...ปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดเป็นเช่นนี้ เป็นผลมาจากมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั่นเอง
ดอกเบี้ยที่ต่ำติดดินดังกล่าว กระตุ้นให้นักลงทุนรวมถึงผู้ฝากเงินทั้งหลาย มองหาการลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า และมีความเสี่ยงไม่มากนัก...สาเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของกระแสกองทุนตราสารหนี้ที่ออกไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ หรือ บอนด์กิมจิ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนส่งผลให้ธุรกิจกองทุนรวมขยายตัวได้กว่า 2 แสนล้านบาท
อีกไม่กี่วันก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2553 แล้ว น่าสนใจว่า ในปีหน้าภาพรวมของธุรกิจกองทุนรวม จะออกมาเป็นอย่างไร เพราะด้วยหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงการเมือง ปัญหามาบตาพุดที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อกองทุนรวมหุ้น หรือต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น จากการแทรกแซงค่าเงินของแบงก์ชาติ ที่กระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนเกาหลี ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศเอง ยังไม่ปรับขึ้นเพื่อประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจ...ล้วนเป็นปัจจัยท้าทายทั้งสิ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ในปี 2553 ธุรกิจกองทุนรวมอาจต้องเผชิญสภาวะแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นระหว่างช่วงรอยต่อของวัฏจักรเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย และทิศทางของค่าเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลต่อภาวะการลงทุนในตลาดกองทุนรวม ดังนี้
ประการแรก : ความชัดเจนของการฟื้นตัวของประเทศฝั่งตะวันตกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ซึ่งคงต้องยอมรับว่าในสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาด ซึ่งช่วยหนุนการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยการคาดการณ์ดังกล่าวนอกจากจะหนุนให้เงินดอลลาร์ฯ ปรับแข็งค่าขึ้นแล้ว ก็ยังผลให้เกิดการเทขายทำกำไรในสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ หุ้น ทองคำ และน้ำมัน
ทั้งนี้ เมื่อมองไปในระยะถัดไป ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ดังกล่าว คงจะแปรผันตามข้อมูลเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่จะออกมาในอนาคต ซึ่งจะช่วยยืนยันว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดังกล่าว เป็นไปอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องหรือไม่ โดยหากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดก็คงจะเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นและในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์ฯ เดินหน้าแข็งค่าขึ้นต่อ สวนทางกับราคาสินทรัพย์อื่นๆ ที่คงจะเผชิญข้อจำกัดของการปรับขึ้นมากขึ้น ตามความต้องการลงทุนของนักลงทุนที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาในเชิงลบ ซึ่งตอกย้ำโดยตัวเลขการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งหากเฟดออกมาส่งสัญญาณว่าคงจะยังไม่ปรับขึ้นอัตรานโยบายในอนาคตอันใกล้ ก็น่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง ขณะที่ จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการไทยนั้น คาดว่าอาจยังไม่ถูกปรับขึ้นภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ตราบใดที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำตามอุปสงค์ในการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังคงมีอยู่อย่างจำกัด
ประการที่สอง : ข่าวปัญหาฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ในหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นักลงทุนในตลาดโลกเพิ่งเผชิญผลกระทบจากปัญหาการเลื่อนชำระหนี้ของบริษัทในดูไบ การประกาศลดค่าเงินด่องของทางการเวียดนาม รวมทั้งการกล่าวเตือนล่าสุดถึงโอกาสการปรับฐานที่รุนแรงของราคาสินทรัพย์ของฮ่องกงโดยทางการฮ่องกง ซึ่งหากความกังวลดังกล่าว ก่อตัวมากขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ในหลายประเทศเอเชียที่อาจยังอยู่ในจังหวะขาขึ้นอยู่ (ตามแรงหนุนจากสภาพคล่องในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูงและอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ) ก็อาจส่งผลกระทบให้นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนในกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) บางประเภทได้
ประการที่สาม : ประเด็นทางการเมืองและสถานการณ์การลงทุนในประเทศ อาทิ ความคืบหน้าของคำสั่งศาลปกครองในการระงับ 65 โครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ความไม่แน่นอนในสถานการณ์ของภาคการลงทุนอื่นๆ อาทิ การออกใบอนุญาต 3G ที่ยังขาดความชัดเจน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศลงทุนและการระดมทุนของภาคเอกชนในปี 2553 อีกทั้งอาจมีผลสืบเนื่องมายังอุปทานของหุ้นกู้ที่จะเข้าสู่ตลาดในปี 2553 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่มีการเสนอขายหุ้นกู้ภาคเอกชนสูงเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่ธุรกิจเอกชนต้องการล็อคอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ
ประการสุดท้าย : การครบกำหนดอายุไถ่ถอนกองทุนรวมพันธบัตรเกาหลีใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทอายุ 6-12 เดือน ซึ่งออกเสนอขายมาตั้งแต่กลางปี 2552 และจะทยอยครบกำหนดอายุกองทุนในช่วงไตรมาสที่ 1/2553 เป็นต้นไป ซึ่งทำให้บลจ.จำเป็นต้องสรรหาผลิตภัณฑ์กองทุนรวมอื่นๆ มาทดแทน
จากตัวแปรต่างๆ ข้างต้น คงจะเป็นโจทย์ที่ท้าทาย บลจ.ในการคัดสรรผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสมมาเสนอให้กับลูกค้า ซึ่งนอกจากบลจ.จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในเรื่องของช่วงเวลาในการออกเสนอขายกองทุนแล้ว ผลิตภัณฑ์การลงทุนของกองทุนรวมก็ต้องมีลักษณะที่สามารถทำการตลาด (Marketing) ได้ง่ายและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งคงจะต้องยอมรับว่าลูกค้าส่วนใหญ่ที่ลงทุนในกองทุนรวมยังคงมีความสามารถในการรับความเสี่ยงที่จำกัด ขณะที่คาดหวังต่ออัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ระดับสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ทั้งนี้ ภายใต้สภาวะที่เศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอน ตลอดจนเงื่อนไขที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศยังไม่ปรับขึ้น และพฤติกรรมของผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมส่วนใหญ่ที่สามารถแบกรับความเสี่ยงได้ในขอบเขตที่จำกัดดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากองทุนรวมที่มีโอกาสได้รับการผลักดันออกสู่ตลาด คือ
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) เนื่องจากกองทุนประเภทนี้ เป็นกองทุนรวมแบบตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นๆ อาทิเช่น ครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี (โดยส่วนใหญ่แล้วจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ) ซึ่งมีระดับความเสี่ยงต่ำ อีกทั้งมีการรักษาสภาพคล่องส่วนหนึ่งอยู่เสมอ สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการใกล้เคียงกับผู้ถือหน่วยออมเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์
กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน ภายใต้มุมมองที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศน่าจะยังไม่ปรับขึ้นไปจนถึงช่วงกลางปีหน้า ทำให้คาดการณ์ว่าน่าจะมีอุปทานของหุ้นกู้ภาคเอกชนออกมาในปี 2553 โดยคงจะเป็นการออกหุ้นกู้เพื่อชดเชยและ/หรือรีไฟแนนซ์หนี้เดิม ทั้งนี้ สาเหตุที่คาดว่าผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ภาคเอกชนน่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่บลจ.เลือกนำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในระดับที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในประเภทอายุเดียวกัน
กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ อาทิ พันธบัตรเกาหลีใต้ ซึ่งอาจยังพอมีอัตราผลตอบแทนที่แข่งขันได้กับ เงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าแนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อาจลดความน่าดึงดูดลงในปี 2552 อันเป็นผลจากต้นทุนการทำสัญญาสวอปอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น (Swaps) ซึ่งอาจบดบังผลประโยชน์จากโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางเกาหลีใต้ ที่ในขณะนี้ตลาดคาดว่าอาจเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 1/2553 นอกเหนือจากพันธบัตรเกาหลีใต้ดังกล่าว คาดว่า บลจ.คงจะทยอยนำเสนอกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศใหม่ๆ ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือ คือ ประเทศดังกล่าวจะต้องมีการจัดอันดับเครดิตที่สูงกว่าไทย ระดับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่น่าดึงดูด รวมทั้งมีการดูแลความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย อันจะช่วยให้กองทุนพันธบัตรดังกล่าว ได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยเหมือนดังเช่นพันธบัตรเกาหลีที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
กองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งน่าจะได้รับการทยอยนำเสนอตั้งแต่ต้นปี แทนที่จะเป็นช่วงฤดูกาลสิ้นปี
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) โดยคาดว่าในปีหน้ากองทุนรวมอสังริมทรัพย์ประเภทที่ลงทุนในโรงงานและศูนย์การค้าจะมีการเพิ่มทุนโดยการลงทุนเพิ่มเติมในสินทรัพย์ รวมเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท อันจะเป็นอุปทานใหม่ที่เข้าสู่ตลาด
ส่วนกองทุนรวมประเภทอื่นๆ อาทิ กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ทองคำ และน้ำมัน ก็อาจได้รับการผลักดันจาก บลจ.เช่นกัน โดยเฉพาะหากสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งสภาพคล่องในตลาดเงินของโลกยังคงมีอยู่มาก อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการสหรัฐฯ ขยับขึ้น ก็คงจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ฯ มีทิศทางที่ปรับแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดหุ้น ราคาทองคำ และราคาน้ำมันได้ ทำให้เมื่อถึงเวลาดังกล่าว บลจ.อาจต้องปรับกลยุทธ์และแผนการนำเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดอีกครั้ง
ดอกเบี้ยที่ต่ำติดดินดังกล่าว กระตุ้นให้นักลงทุนรวมถึงผู้ฝากเงินทั้งหลาย มองหาการลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า และมีความเสี่ยงไม่มากนัก...สาเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของกระแสกองทุนตราสารหนี้ที่ออกไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ หรือ บอนด์กิมจิ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนส่งผลให้ธุรกิจกองทุนรวมขยายตัวได้กว่า 2 แสนล้านบาท
อีกไม่กี่วันก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2553 แล้ว น่าสนใจว่า ในปีหน้าภาพรวมของธุรกิจกองทุนรวม จะออกมาเป็นอย่างไร เพราะด้วยหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงการเมือง ปัญหามาบตาพุดที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อกองทุนรวมหุ้น หรือต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น จากการแทรกแซงค่าเงินของแบงก์ชาติ ที่กระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนเกาหลี ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศเอง ยังไม่ปรับขึ้นเพื่อประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจ...ล้วนเป็นปัจจัยท้าทายทั้งสิ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ในปี 2553 ธุรกิจกองทุนรวมอาจต้องเผชิญสภาวะแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นระหว่างช่วงรอยต่อของวัฏจักรเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย และทิศทางของค่าเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลต่อภาวะการลงทุนในตลาดกองทุนรวม ดังนี้
ประการแรก : ความชัดเจนของการฟื้นตัวของประเทศฝั่งตะวันตกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ซึ่งคงต้องยอมรับว่าในสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาด ซึ่งช่วยหนุนการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยการคาดการณ์ดังกล่าวนอกจากจะหนุนให้เงินดอลลาร์ฯ ปรับแข็งค่าขึ้นแล้ว ก็ยังผลให้เกิดการเทขายทำกำไรในสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ หุ้น ทองคำ และน้ำมัน
ทั้งนี้ เมื่อมองไปในระยะถัดไป ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ดังกล่าว คงจะแปรผันตามข้อมูลเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่จะออกมาในอนาคต ซึ่งจะช่วยยืนยันว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดังกล่าว เป็นไปอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องหรือไม่ โดยหากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดก็คงจะเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นและในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์ฯ เดินหน้าแข็งค่าขึ้นต่อ สวนทางกับราคาสินทรัพย์อื่นๆ ที่คงจะเผชิญข้อจำกัดของการปรับขึ้นมากขึ้น ตามความต้องการลงทุนของนักลงทุนที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาในเชิงลบ ซึ่งตอกย้ำโดยตัวเลขการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งหากเฟดออกมาส่งสัญญาณว่าคงจะยังไม่ปรับขึ้นอัตรานโยบายในอนาคตอันใกล้ ก็น่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง ขณะที่ จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการไทยนั้น คาดว่าอาจยังไม่ถูกปรับขึ้นภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ตราบใดที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำตามอุปสงค์ในการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังคงมีอยู่อย่างจำกัด
ประการที่สอง : ข่าวปัญหาฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ในหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นักลงทุนในตลาดโลกเพิ่งเผชิญผลกระทบจากปัญหาการเลื่อนชำระหนี้ของบริษัทในดูไบ การประกาศลดค่าเงินด่องของทางการเวียดนาม รวมทั้งการกล่าวเตือนล่าสุดถึงโอกาสการปรับฐานที่รุนแรงของราคาสินทรัพย์ของฮ่องกงโดยทางการฮ่องกง ซึ่งหากความกังวลดังกล่าว ก่อตัวมากขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ในหลายประเทศเอเชียที่อาจยังอยู่ในจังหวะขาขึ้นอยู่ (ตามแรงหนุนจากสภาพคล่องในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูงและอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ) ก็อาจส่งผลกระทบให้นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนในกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) บางประเภทได้
ประการที่สาม : ประเด็นทางการเมืองและสถานการณ์การลงทุนในประเทศ อาทิ ความคืบหน้าของคำสั่งศาลปกครองในการระงับ 65 โครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ความไม่แน่นอนในสถานการณ์ของภาคการลงทุนอื่นๆ อาทิ การออกใบอนุญาต 3G ที่ยังขาดความชัดเจน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศลงทุนและการระดมทุนของภาคเอกชนในปี 2553 อีกทั้งอาจมีผลสืบเนื่องมายังอุปทานของหุ้นกู้ที่จะเข้าสู่ตลาดในปี 2553 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่มีการเสนอขายหุ้นกู้ภาคเอกชนสูงเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่ธุรกิจเอกชนต้องการล็อคอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ
ประการสุดท้าย : การครบกำหนดอายุไถ่ถอนกองทุนรวมพันธบัตรเกาหลีใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทอายุ 6-12 เดือน ซึ่งออกเสนอขายมาตั้งแต่กลางปี 2552 และจะทยอยครบกำหนดอายุกองทุนในช่วงไตรมาสที่ 1/2553 เป็นต้นไป ซึ่งทำให้บลจ.จำเป็นต้องสรรหาผลิตภัณฑ์กองทุนรวมอื่นๆ มาทดแทน
จากตัวแปรต่างๆ ข้างต้น คงจะเป็นโจทย์ที่ท้าทาย บลจ.ในการคัดสรรผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสมมาเสนอให้กับลูกค้า ซึ่งนอกจากบลจ.จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในเรื่องของช่วงเวลาในการออกเสนอขายกองทุนแล้ว ผลิตภัณฑ์การลงทุนของกองทุนรวมก็ต้องมีลักษณะที่สามารถทำการตลาด (Marketing) ได้ง่ายและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งคงจะต้องยอมรับว่าลูกค้าส่วนใหญ่ที่ลงทุนในกองทุนรวมยังคงมีความสามารถในการรับความเสี่ยงที่จำกัด ขณะที่คาดหวังต่ออัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ระดับสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ทั้งนี้ ภายใต้สภาวะที่เศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอน ตลอดจนเงื่อนไขที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศยังไม่ปรับขึ้น และพฤติกรรมของผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมส่วนใหญ่ที่สามารถแบกรับความเสี่ยงได้ในขอบเขตที่จำกัดดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากองทุนรวมที่มีโอกาสได้รับการผลักดันออกสู่ตลาด คือ
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) เนื่องจากกองทุนประเภทนี้ เป็นกองทุนรวมแบบตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นๆ อาทิเช่น ครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี (โดยส่วนใหญ่แล้วจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ) ซึ่งมีระดับความเสี่ยงต่ำ อีกทั้งมีการรักษาสภาพคล่องส่วนหนึ่งอยู่เสมอ สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการใกล้เคียงกับผู้ถือหน่วยออมเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์
กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน ภายใต้มุมมองที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศน่าจะยังไม่ปรับขึ้นไปจนถึงช่วงกลางปีหน้า ทำให้คาดการณ์ว่าน่าจะมีอุปทานของหุ้นกู้ภาคเอกชนออกมาในปี 2553 โดยคงจะเป็นการออกหุ้นกู้เพื่อชดเชยและ/หรือรีไฟแนนซ์หนี้เดิม ทั้งนี้ สาเหตุที่คาดว่าผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ภาคเอกชนน่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่บลจ.เลือกนำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในระดับที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในประเภทอายุเดียวกัน
กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ อาทิ พันธบัตรเกาหลีใต้ ซึ่งอาจยังพอมีอัตราผลตอบแทนที่แข่งขันได้กับ เงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าแนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อาจลดความน่าดึงดูดลงในปี 2552 อันเป็นผลจากต้นทุนการทำสัญญาสวอปอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น (Swaps) ซึ่งอาจบดบังผลประโยชน์จากโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางเกาหลีใต้ ที่ในขณะนี้ตลาดคาดว่าอาจเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 1/2553 นอกเหนือจากพันธบัตรเกาหลีใต้ดังกล่าว คาดว่า บลจ.คงจะทยอยนำเสนอกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศใหม่ๆ ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือ คือ ประเทศดังกล่าวจะต้องมีการจัดอันดับเครดิตที่สูงกว่าไทย ระดับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่น่าดึงดูด รวมทั้งมีการดูแลความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย อันจะช่วยให้กองทุนพันธบัตรดังกล่าว ได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยเหมือนดังเช่นพันธบัตรเกาหลีที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
กองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งน่าจะได้รับการทยอยนำเสนอตั้งแต่ต้นปี แทนที่จะเป็นช่วงฤดูกาลสิ้นปี
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) โดยคาดว่าในปีหน้ากองทุนรวมอสังริมทรัพย์ประเภทที่ลงทุนในโรงงานและศูนย์การค้าจะมีการเพิ่มทุนโดยการลงทุนเพิ่มเติมในสินทรัพย์ รวมเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท อันจะเป็นอุปทานใหม่ที่เข้าสู่ตลาด
ส่วนกองทุนรวมประเภทอื่นๆ อาทิ กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ทองคำ และน้ำมัน ก็อาจได้รับการผลักดันจาก บลจ.เช่นกัน โดยเฉพาะหากสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งสภาพคล่องในตลาดเงินของโลกยังคงมีอยู่มาก อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการสหรัฐฯ ขยับขึ้น ก็คงจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ฯ มีทิศทางที่ปรับแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดหุ้น ราคาทองคำ และราคาน้ำมันได้ ทำให้เมื่อถึงเวลาดังกล่าว บลจ.อาจต้องปรับกลยุทธ์และแผนการนำเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดอีกครั้ง