ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ปี 2553 สิ่งที่นักลงทุนต้องเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนในปีหน้า คือ ความเข้าใจทิศทางและแนวโน้มเศรษฐกิจ เพราะจะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ถึงศักยภาพในการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท ซึ่งเป็นปัจจัยที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนที่จะก้าวสู่การเป็นนักลงทุนมืออาชีพในปี 2552 เศรษฐกิจโลกประสบปัญหา Great Recession ซึ่งต้นตอของปัญหามาจากประเทศสหรัฐอเมริกาและได้ส่งผลกระทบไปยังเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในโลกผ่านทางนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินทำให้เศรษฐกิจของโลกค่อย ๆ ฟื้นตัวนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระบบการเงินโลกกลับมามีสภาพคล่องส่วนเกินอีกครั้งซึ่งสะท้อนได้จากเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วไปสู่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนกว่าประเทศพัฒนาแล้ว และส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินทรัพย์และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้นเร็ว ทำให้ผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเกิดความกังวลว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่ และเงินเฟ้อขึ้นจากภาวะสภาพคล่องส่วนเกิน นำมาสู่การคาดการณ์ถึงการถอนนโยบายเศรษฐกิจ และการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศ
แม้ว่าผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและนักลงทุนจะมีความมั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังส่งสัญญาณดีขึ้น ในขณะเดียวกันระบบสถาบันการเงินกลับมาทำหน้าที่หมุนเวียนสภาพคล่องได้อีกครั้ง แต่แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2553 อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ดำเนินนโยบายและนักลงทุนที่จะจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่รออยู่ภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยทำให้เศรษฐกิจแผ่วลง หรือกรณีที่เลวร้ายอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง (Double Dip) ซึ่งอาจสรุปปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้
1.เศรษฐกิจโลกอาจได้รับผลกระทบต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจและการคลังที่ผ่อนคลายอย่างมาก ซึ่งประเมินได้ 2 ทาง กล่าวคือ
1.1มาตรการด้านการคลังที่ผ่อนคลายอย่างมาก ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าในปี 2552 รัฐบาลเกือบทุกประเทศมีการใช้จ่ายด้านการคลังที่สูงขึ้นมากผ่านมาตรการให้เงินอุดหนุนหรือให้เงินช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งมาตรการเหล่านี้สร้างภาระหนี้ภาครัฐให้สูงขึ้นมาก จนอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านการคลังในระยะยาว และทำให้รัฐบาลต้องถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วขึ้น
1.2 มาตรการด้านการเงินที่ผ่อนคลาย จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจนใกล้ศูนย์ เช่น ประเทศสหรัฐฯ ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.25-0.5 ต่อปี ส่วนประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP 1 day) ต่ำเพียงร้อยละ 1.25 ต่อปี เป็นต้น โดยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำส่งผลให้ระบบการเงินโลกมีสภาพคล่องส่วนเกินสูง ทำให้เกิดภาวะราคาสินทรัพย์และราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่และเงินเฟ้อขึ้น ทำให้ธนาคารกลางอาจจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการถอนนโยบายด้านการคลังและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจแผ่วลงได้โดยทันที และอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้
2.เศรษฐกิจโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ค่อย ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่มีความผันผวน นอกจากนี้จากผลกระทบด้านสภาพคล่องส่วนเกินอีกทางหนึ่ง ซึ่งธนาคารกลางอาจเลือกที่จะรักษาเสถียรภาพด้านราคาและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
3.ปัญหาอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นทั่วโลกอาจเป็นข้อจำกัดต่อการบริโภค
4.ค่าเงินดอลลาร์ปัจจุบันที่อ่อนค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกอาจกลับเป็นแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้
จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ในปี 2553 เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว แต่เป็นการเริ่มฟื้นตัวที่ยังคงเปราะบางต่อการถูกกระทบจากปัจจัยภายนอก ดังนั้น ผู้ดำเนินนโยบายจึงต้องระมัดระวังในการดำเนินนโยบายด้านการเงินและการคลัง ซึ่งถ้ารีบร้อนดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเงินที่เข้มงวดขึ้นเร็วเกินไป อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจแผ่วลงและชะลอตัวยาวนาน
สำหรับแนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2553 หน่วยงานรัฐบาล ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวเป็นบวก แต่มีช่วงของการคาดการณ์ที่แตกต่างกันไป โดยมีแรงส่งต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการใช้จ่ายของภาครัฐบาลภายใต้กรอบงบประมาณขาดดุลอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 ของจีดีพี และรายจ่ายลงทุนของภาครัฐบาลภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2 ที่เน้นด้านการลงทุน อย่างไรก็ตาม แรงส่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต่อการขยายตัวของการส่งออกยังมีข้อจำกัดจากความต้องการสินค้าของประเทศอุตสาหกรรมที่ยังอ่อนแอจากปัญหาอัตราการว่างงานในระดับสูง
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากการใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนที่ยังฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะการลงทุนที่อาจได้รับผลกระทบจากการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชะลอการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดจำนวน 65 โครงการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและนักลงทุน และหากรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที อาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน การบริโภคและการลงทุนใหม่ ๆ นอกเหนือจาก 65 โครงการ ในขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากฐานปีก่อนที่ต่ำ และในขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี 2553
โดยสรุปแล้วเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอยู่ระหว่างการฟื้นตัว แต่มีความไม่แน่นอนรออยู่ ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องวางแผนการลงทุนไว้ล่วงหน้า หากนักลงทุนมั่นใจต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าการคาดการณ์ของหน่วยงานรัฐบาล การตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้นก็จะทำให้ได้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า ในทางกลับกันถ้านักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวจริง แต่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าที่หน่วยงานรัฐบาลคาดการณ์ การตัดสินใจลงทุนในตลาดตราสารหนี้ก็อาจเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดีกว่า แต่อย่าลืมว่าในปัจจุบันเริ่มมีสินทรัพย์ลงทุนใหม่ ๆ เกิดขึ้นที่อาจจะให้ประโยชน์หากเข้าลงทุน เช่น การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ความคิดเห็นและข้อความต่างๆในบทความนี้เป็นทัศนะของผู้เขียนเท่านั้น ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
คอลัมน์ Money Guru
โดย หรัณย์ คัคนาพร (haran@mfcfund.com)
เสาวลักษณ์ คำวิลัยศักดิ์ (saowaluck@mfcfund.com)
แม้ว่าผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและนักลงทุนจะมีความมั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังส่งสัญญาณดีขึ้น ในขณะเดียวกันระบบสถาบันการเงินกลับมาทำหน้าที่หมุนเวียนสภาพคล่องได้อีกครั้ง แต่แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2553 อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ดำเนินนโยบายและนักลงทุนที่จะจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่รออยู่ภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยทำให้เศรษฐกิจแผ่วลง หรือกรณีที่เลวร้ายอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง (Double Dip) ซึ่งอาจสรุปปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้
1.เศรษฐกิจโลกอาจได้รับผลกระทบต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจและการคลังที่ผ่อนคลายอย่างมาก ซึ่งประเมินได้ 2 ทาง กล่าวคือ
1.1มาตรการด้านการคลังที่ผ่อนคลายอย่างมาก ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าในปี 2552 รัฐบาลเกือบทุกประเทศมีการใช้จ่ายด้านการคลังที่สูงขึ้นมากผ่านมาตรการให้เงินอุดหนุนหรือให้เงินช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งมาตรการเหล่านี้สร้างภาระหนี้ภาครัฐให้สูงขึ้นมาก จนอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านการคลังในระยะยาว และทำให้รัฐบาลต้องถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วขึ้น
1.2 มาตรการด้านการเงินที่ผ่อนคลาย จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจนใกล้ศูนย์ เช่น ประเทศสหรัฐฯ ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.25-0.5 ต่อปี ส่วนประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP 1 day) ต่ำเพียงร้อยละ 1.25 ต่อปี เป็นต้น โดยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำส่งผลให้ระบบการเงินโลกมีสภาพคล่องส่วนเกินสูง ทำให้เกิดภาวะราคาสินทรัพย์และราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่และเงินเฟ้อขึ้น ทำให้ธนาคารกลางอาจจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการถอนนโยบายด้านการคลังและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจแผ่วลงได้โดยทันที และอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้
2.เศรษฐกิจโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ค่อย ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่มีความผันผวน นอกจากนี้จากผลกระทบด้านสภาพคล่องส่วนเกินอีกทางหนึ่ง ซึ่งธนาคารกลางอาจเลือกที่จะรักษาเสถียรภาพด้านราคาและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
3.ปัญหาอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นทั่วโลกอาจเป็นข้อจำกัดต่อการบริโภค
4.ค่าเงินดอลลาร์ปัจจุบันที่อ่อนค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกอาจกลับเป็นแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้
จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ในปี 2553 เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว แต่เป็นการเริ่มฟื้นตัวที่ยังคงเปราะบางต่อการถูกกระทบจากปัจจัยภายนอก ดังนั้น ผู้ดำเนินนโยบายจึงต้องระมัดระวังในการดำเนินนโยบายด้านการเงินและการคลัง ซึ่งถ้ารีบร้อนดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเงินที่เข้มงวดขึ้นเร็วเกินไป อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจแผ่วลงและชะลอตัวยาวนาน
สำหรับแนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2553 หน่วยงานรัฐบาล ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวเป็นบวก แต่มีช่วงของการคาดการณ์ที่แตกต่างกันไป โดยมีแรงส่งต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการใช้จ่ายของภาครัฐบาลภายใต้กรอบงบประมาณขาดดุลอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 ของจีดีพี และรายจ่ายลงทุนของภาครัฐบาลภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2 ที่เน้นด้านการลงทุน อย่างไรก็ตาม แรงส่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต่อการขยายตัวของการส่งออกยังมีข้อจำกัดจากความต้องการสินค้าของประเทศอุตสาหกรรมที่ยังอ่อนแอจากปัญหาอัตราการว่างงานในระดับสูง
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากการใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนที่ยังฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะการลงทุนที่อาจได้รับผลกระทบจากการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชะลอการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดจำนวน 65 โครงการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและนักลงทุน และหากรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที อาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน การบริโภคและการลงทุนใหม่ ๆ นอกเหนือจาก 65 โครงการ ในขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากฐานปีก่อนที่ต่ำ และในขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี 2553
โดยสรุปแล้วเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอยู่ระหว่างการฟื้นตัว แต่มีความไม่แน่นอนรออยู่ ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องวางแผนการลงทุนไว้ล่วงหน้า หากนักลงทุนมั่นใจต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าการคาดการณ์ของหน่วยงานรัฐบาล การตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้นก็จะทำให้ได้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า ในทางกลับกันถ้านักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวจริง แต่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าที่หน่วยงานรัฐบาลคาดการณ์ การตัดสินใจลงทุนในตลาดตราสารหนี้ก็อาจเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดีกว่า แต่อย่าลืมว่าในปัจจุบันเริ่มมีสินทรัพย์ลงทุนใหม่ ๆ เกิดขึ้นที่อาจจะให้ประโยชน์หากเข้าลงทุน เช่น การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ความคิดเห็นและข้อความต่างๆในบทความนี้เป็นทัศนะของผู้เขียนเท่านั้น ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
คอลัมน์ Money Guru
โดย หรัณย์ คัคนาพร (haran@mfcfund.com)
เสาวลักษณ์ คำวิลัยศักดิ์ (saowaluck@mfcfund.com)