คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
กองทุน ETF หรือ “Exchange Traded Fund” คือ กองทุนเปิดที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนในหุ้นทุน และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ความหมายของ ETF มีความหมายตามตัวอักษรภาษาอังกฤษดังนี้
Exchange หรือ E มีความหมายว่า เป็นการนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดรอง (Secondary market) หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ (the stock exchange)
Traded หรือ T มีความหมายว่า กองทุนดังกล่าวจะสามารถทำการซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัวหนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่อง (Liquidity) ของกองทุน ETF จึงไม่แตกต่างจากการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป ที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถทราบถึงราคาซื้อขายได้ในทันทีในแบบ Real Time อีกด้วย
Fund หรือ F มีความหมายว่า กองทุน โดยที่ ETF นั้นเป็นกองทุนรวม (Mutual Fund) ประเภทหนึ่งโดย ETF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีอ้างอิง เช่น ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้ เป็นต้น
ETF ที่ลงทุนในตราสารทุนกองแรกของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงผู้จัดการกองทุนจะทำการรวบรวมเงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลงทุนไปลงทุนซื้อหุ้นสามัญในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์ การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้นกลุ่มหลักทรัพย์ของการลงทุน (Portfolio) ของการลงทุน จึงประกอบด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าหุ้น 50 ตัวที่ถูกนำมาคำนวณ ดัชนีราคาหุ้น SET50 นั่นเอง โดยหุ้นสามัฐดังกล่าว จะมีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) อยู่ในระดับสูง และเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน มีการหมุนเวียนของการ ซื้อขายโดยตลอดหรือมีสภาพคล่องสูง
ดัชนี SET50 (SET50 Index) เป็นหนึ่งในดัชนีราคาหุ้นสามัญที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สร้างขึ้นมา เพื่อเป็นการสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวที่มีสภาพคล่อง และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงจนถือได้ว่าเป็น ตัวแทนมูลค่าของหุ้นสามัญส่วนใหญ่ในตลาด โดยถูกคำนวณขึ้นด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักมูลค่า หลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight)
กองทุน ETF จะมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. ราคาซื้อ ขาย (Trading Price) คือ ราคาซื้อ (Bid) และราคาขาย (Offer) ที่ปรากฎอยู่บนกระดานซื้อขายของ ETF ซึ่งราคาซื้อและราคาขายนี้จะถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อ และความต้องการขายของผู้ลงทุนในกองทุน ETF
2. มูลค่าต่อหน่วย (net asset value: NAV) คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย ซึ่งคำนวณจากราคาซื้อและขายของหุ้นสามัญที่รวมกันเป็นองค์ประกอบใน SET50 Index ณ สิ้นวันทำการ โดยบริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดการกองทุน Equity ETF จะมีการคำนวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณในทุกนาทีตลอดเวลาทำการซื้อขาย ซึ่งมูลค่าทรัพย์ สินสุทธิโดยประมาณนี้เรียกว่า Indicative NAV (INAV)
การลงทุนในกองทุน ETF ในตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ในต่างประเทศได้รับความนิยมจากนักลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากการลงทุนมีสภาพคล่อง จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นเสมือนการลงทุน ในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของการคำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนคือซื้อ TDEX 1 หน่วย เหมือนได้ซื้อหุ้น 50 ตัวพร้อมกัน
นอกจากนี้การลงทุนในกองทุน ETF ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในสองรูปแบบคือ
1. กำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ลงทุนซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำ และเมื่อเวลาที่ผู้ลงทุนต้องการที่จะขาย ผู้ลงทุนสามารถขายหน่วยลงทุนนั้นได้ในราคาที่สูงกว่าตอนที่ผู้ลงทุนได้ซื้อมาจะทำให้ผู้ลงทุนนั้นได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา
2. เงินปันผล (Dividend) ผู้ลงทุนในกองทุน ETF จะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วยลงทุนของ ETF ซึ่งได้มาจากเงินปันผลของการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบ ของ SET50 Index โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน หลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองทุนแล้ว
ความเสี่ยงจากการลงทุนใน ETF ผู้ลงทุนที่ลงทุนใน ETF จะมีความเสี่ยงจาก ปัจจัยลบอันอาจจะมีผลกระทบเชิงลบ เช่น ถ้ามีข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ดัชนี SET50 อาจมีการปรับตัวลดลง ซึ่งจะทำให้เกิดการส่งผลกระทบต่อราคา SET50 ทำให้กองทุน ETF ที่ผู้ลงทุนถือไว้อาจมีราคาลดลงได้ ทำให้ผู้ลงทุนอาจขายหน่วย ETF ได้ในราคาที่ต่ำกว่าตอนที่ซื้อมาตอนแรก นอกจากนี้ผู้ลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เรียกว่า Tracking Error Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของหน่วย ETF ไม่เท่ากับอัตราผลตอบแทนของดัชนีได้ 100% อีกด้วย
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
กองทุน ETF หรือ “Exchange Traded Fund” คือ กองทุนเปิดที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนในหุ้นทุน และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ความหมายของ ETF มีความหมายตามตัวอักษรภาษาอังกฤษดังนี้
Exchange หรือ E มีความหมายว่า เป็นการนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดรอง (Secondary market) หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ (the stock exchange)
Traded หรือ T มีความหมายว่า กองทุนดังกล่าวจะสามารถทำการซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัวหนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่อง (Liquidity) ของกองทุน ETF จึงไม่แตกต่างจากการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป ที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถทราบถึงราคาซื้อขายได้ในทันทีในแบบ Real Time อีกด้วย
Fund หรือ F มีความหมายว่า กองทุน โดยที่ ETF นั้นเป็นกองทุนรวม (Mutual Fund) ประเภทหนึ่งโดย ETF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีอ้างอิง เช่น ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้ เป็นต้น
ETF ที่ลงทุนในตราสารทุนกองแรกของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงผู้จัดการกองทุนจะทำการรวบรวมเงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลงทุนไปลงทุนซื้อหุ้นสามัญในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์ การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้นกลุ่มหลักทรัพย์ของการลงทุน (Portfolio) ของการลงทุน จึงประกอบด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าหุ้น 50 ตัวที่ถูกนำมาคำนวณ ดัชนีราคาหุ้น SET50 นั่นเอง โดยหุ้นสามัฐดังกล่าว จะมีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) อยู่ในระดับสูง และเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน มีการหมุนเวียนของการ ซื้อขายโดยตลอดหรือมีสภาพคล่องสูง
ดัชนี SET50 (SET50 Index) เป็นหนึ่งในดัชนีราคาหุ้นสามัญที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สร้างขึ้นมา เพื่อเป็นการสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวที่มีสภาพคล่อง และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงจนถือได้ว่าเป็น ตัวแทนมูลค่าของหุ้นสามัญส่วนใหญ่ในตลาด โดยถูกคำนวณขึ้นด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักมูลค่า หลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight)
กองทุน ETF จะมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. ราคาซื้อ ขาย (Trading Price) คือ ราคาซื้อ (Bid) และราคาขาย (Offer) ที่ปรากฎอยู่บนกระดานซื้อขายของ ETF ซึ่งราคาซื้อและราคาขายนี้จะถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อ และความต้องการขายของผู้ลงทุนในกองทุน ETF
2. มูลค่าต่อหน่วย (net asset value: NAV) คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย ซึ่งคำนวณจากราคาซื้อและขายของหุ้นสามัญที่รวมกันเป็นองค์ประกอบใน SET50 Index ณ สิ้นวันทำการ โดยบริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดการกองทุน Equity ETF จะมีการคำนวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณในทุกนาทีตลอดเวลาทำการซื้อขาย ซึ่งมูลค่าทรัพย์ สินสุทธิโดยประมาณนี้เรียกว่า Indicative NAV (INAV)
การลงทุนในกองทุน ETF ในตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ในต่างประเทศได้รับความนิยมจากนักลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากการลงทุนมีสภาพคล่อง จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นเสมือนการลงทุน ในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของการคำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนคือซื้อ TDEX 1 หน่วย เหมือนได้ซื้อหุ้น 50 ตัวพร้อมกัน
นอกจากนี้การลงทุนในกองทุน ETF ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในสองรูปแบบคือ
1. กำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ลงทุนซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำ และเมื่อเวลาที่ผู้ลงทุนต้องการที่จะขาย ผู้ลงทุนสามารถขายหน่วยลงทุนนั้นได้ในราคาที่สูงกว่าตอนที่ผู้ลงทุนได้ซื้อมาจะทำให้ผู้ลงทุนนั้นได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา
2. เงินปันผล (Dividend) ผู้ลงทุนในกองทุน ETF จะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วยลงทุนของ ETF ซึ่งได้มาจากเงินปันผลของการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบ ของ SET50 Index โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน หลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองทุนแล้ว
ความเสี่ยงจากการลงทุนใน ETF ผู้ลงทุนที่ลงทุนใน ETF จะมีความเสี่ยงจาก ปัจจัยลบอันอาจจะมีผลกระทบเชิงลบ เช่น ถ้ามีข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ดัชนี SET50 อาจมีการปรับตัวลดลง ซึ่งจะทำให้เกิดการส่งผลกระทบต่อราคา SET50 ทำให้กองทุน ETF ที่ผู้ลงทุนถือไว้อาจมีราคาลดลงได้ ทำให้ผู้ลงทุนอาจขายหน่วย ETF ได้ในราคาที่ต่ำกว่าตอนที่ซื้อมาตอนแรก นอกจากนี้ผู้ลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เรียกว่า Tracking Error Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของหน่วย ETF ไม่เท่ากับอัตราผลตอบแทนของดัชนีได้ 100% อีกด้วย