โบรกกองทุน มองผลตอบเเทนกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้เริ่มลดลง ประเมินวิกฤติดดูไบ ส่งผลกระทบกับตลาดการเงินของเกาหลีใต้เเค่ระยะสั้นๆ ขณะที่บลจ.นครหลวงไทย เบรกขายบอด์เกาหลีใต้ชั่วคราว หลังต้นทุนสวอป์พุ่งไม่หยุด
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล Fund SuperMart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รัฐบาลเกาหลีใต้มองว่าวิกฤติหนี้ดูไบจะส่งผลกระทบที่จำกัดต่อตลาดการเงินของเกาหลีใต้ ซึ่งเกาหลีใต้เองมีการลงทุนเพียงเล็กน้อยสำหรับสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในด้านการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุนดังกล่าวเนื่องจากอาจมีสถาบันการเงินที่เป็น counter party ที่มี exposure ในการปล่อยกู้ให้กับดูไบ
ทั้งนี้ผลตอบเเทนของกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยระยะเวลา 3 เดือน อยู่ที่ 1.00% ระยะเวลา 5 เดือน อยู่ที่ 1.50% ระยะเวลา 6 เดือนอยู่ที่ 1.30% - 1.50% ระยะเวลา 7 เดือนอยู่ที่ 1.60% และระยะเวลา 1 ปี อยู่ที่ 2.10%
ขณะที่รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ยุติการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ของกองทุนเปิดนครหลวงไทย ตราสารหนี้ต่างประเทศ 9 เดือน3/09 (NKT FFI9M3/09) มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ โดยขอแจ้งยุติการจำหน่ายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก อันได้แก่ ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพคล่องของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาด และสภาพคล่องของธุรกรรมตลาดเงินในประเทศปรับตัวลดลง
เนื่องจากใกล้ช่วงสิ้นปี ทำให้ธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนทั้งตลาดโดยรวมมีปริมาณลดลง ต้นทุนการทำธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงสูงกว่าภาวะตลาดปกติ ผลกระทบโดยรวมจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมในรูปเงินบาทสำหรับการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว
ทางด้ายรายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบลจ.กรุงไทย จำกัด เปิดเผยว่า ผู้บริโภคเเละผู้ผลิตของเกาหลีใต้มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ลดลงเป็นครั้งเเรกในรอบ 8 เดือน ในเดือนพย.อยู่ที่ 113 จาก 117 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งเเต่ปี 2002 เเละราคาอสังหาริมทรัพย์ได้ถูกปรับลดการคาดการณ์ลง
ดัชนีความเชื่อมั่นในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเเละอาคารพาณิชย์ ในเดือนพ.ย. ลดลงอยู่ที่ 108 จาก 110 ในเดือน ต.ค. ถือเป็นการปรับตัวลดลงรายเดือนเป็นเดือนที่ 2 นอกจากนี้ กลุ่มผู้ผลิตได้ปรับลดการประเมินเเนวโน้มธุรกิจในเดือนธ.ค. เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน เพิ่มความวิตกกว่าเเรงผลักดันต่อการฟื้นตึวของเศรษฐกิจอาจจะชะลอลงในเดือนต่อๆไป
อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนตุลาคม ยอดเกินดุลการค้าอยู่ที่ 5,722 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ซึ่งอยู่ที่ 5,278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เเละยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4,945 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เเลอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนสอดคล้องกับเครื่องชี้เสถียรภาพภายนอกประเทศที่ยังคงปรับตัวดีขึ้น
โดยหนี้ต่างประเทศระยะสั้นในไตรมาส 3 อยู่ที่ 146.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ซึ่งอยู่ที่ 147,41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯขณะที่เงินลงทุนสำรองระหว่างประเทศสิ้นเดือน กันยายน อยู่ที่ 254.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 2 ซึ่งอยู่ที่ 231.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้สัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ในไตรมาส3 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.74 จากไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.57
นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังของเกาหลีใต้ได้กล่าวในระหว่างเข้าประชุมฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงขึ้นของธนาคารกลางเเละรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ หลังจากที่บริษัทดูไบ เวิลด์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกาศเลื่อนชำระหนี้มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออกไปอีก 6 เดือนว่า เกาหลีใต้วางเเผนใช้ระบบติดตามเคลื่อนไหวด้านตลาดเงินในดูไบเเบบรายวัน
โดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันมิให้เศรษฐกิจในประเทศเผชิญกับความผันผวนจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เเต่เชื่อว่าวิกฤติหนี้สินดูไบอาจไม่ขยายวงกว้างหรือจุดชนวนให้เกิดวิกฤตการเงินโลกระลอกใหม่ เนื่องจาก ตลาดทั้งในปะเทศเเละต่างประเทศเริ่มคลี่คลายลองเเล้ว แต่ตราบใดที่เศรษฐกิจยังมีสัญญาณความไม่แน่นอนอยู่ รัฐบาลเกาหลีใต้ก็ควรเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น