คอลัมน์ : จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
ในภาวะปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปหรือเส้นอัตราผลตอบแทนการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ (Yield Curve) อยู่ในระดับที่ต่ำมาก การลงทุนในตราสารหนี้ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้เอกชนระยะยาวไม่น่าจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าจะไม่ขาดทุนหากนักลงทุนเลือกที่จะถือตราสารหนี้ระยะยาวดังกล่าวจนครบกำหนดไถ่ถอน แต่ข้อเสียคือนักลงทุนจะถูกล็อคอัตราผลตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำและเสียโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการคาดการณ์วัฏจักรขาขึ้นของดอกเบี้ยในปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นไป
กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้ที่น่าจะสอดคล้องกับการคาดการณ์การเข้าสู่ภาวะตลาดหมี (Bear Market) ของสินทรัพย์ตราสารหนี้ได้แก่ กลยุทธ์การลงทุนแบบขั้นบันได (Laddering Strategy)
Laddering Strategy ได้แก่การลงทุนในตราสารหนี้โดยการแบ่งหรือกระจายเงินลงทุนทั้งหมดในตราสารหนี้หลายๆตัวที่มีอายุครบกำหนดไถ่ถอนต่างๆกัน ณ ตอนเริ่มต้น ต่อมาเมื่อเงินลงทุนในส่วนที่เป็นตราสารหนี้อายุสั้นครบกำหนดไถ่ถอน เงินสดที่ได้จากการไถ่ถอนดังกล่าวจะถูกนำไปลงทุนใหม่ในตราสารหนี้ตัวใหม่ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นจากดอกเบี้ยในตลาดที่เป็นขาขึ้น นอกจากจะช่วยลดความผันผวนของการลงทุนได้ดีกว่าการลงทุนกระจุกตัวในตราสารหนี้เพียงตัวเดียวแล้ว ประโยชน์อีกอย่างคือยังช่วยปรับปรุงอัตราผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมให้ดียิ่งขึ้นกว่าลงทุนในตราสารหนี้เพียงตัวเดียวในสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้นอีกด้วย
การออกแบบ Laddering Strategy มีเทคนิคดังนี้
1.กำหนดระยะเวลาการลงทุน (Time Horizon) ของนักลงทุนก่อน จุดประสงค์เพื่อจำกัดทางเลือกการลงทุนในเชิงของอายุตราสารหนี้ให้น้อยลง รวมถึงเป็นการกำหนดความเสี่ยงในเชิงของอายุตราสารหนี้ที่ยาวที่สุดที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้ด้วย จากตัวอย่างข้างล่างกำหนดให้ Time Horizon เท่ากับ 5 ปี และแบ่งเงินจำนวนเท่าๆกันเป็น 5 ส่วนลงทุนในตราสารหนี้อายุ 1, 2, 3, 4 และ 5 ปีตามลำดับ
ซึ่งจากการคำนวณผลตอบแทนโดยรวมพบว่า
-หากมีสมมติฐานว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้น 0.75 เปอร์เซ็นต์ต่อปี การลงทุนแบบ Laddering Strategy จะให้ผลตอบแทนดีกว่าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 5 ปีในครั้งเดียว 0.30 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
-หากมีสมมติฐานว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้น 1.00 เปอร์เซ็นต์ต่อปี การลงทุนแบบ Laddering Strategy จะให้ผลตอบแทนดีกว่าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 5 ปีในครั้งเดียวถึง 0.54 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
2.เลือกซื้อตราสารหนี้ที่เหมาะสมกับความสามารถและความเต็มใจในการรับความเสี่ยงของตนเอง ถ้ารับความเสี่ยงทางด้านเครดิตได้ นักลงทุนควรจะรวมหุ้นกู้เอกชนเข้าไปในพอร์ตการลงทุนด้วยซึ่งจะทำให้เราสามารถปรับปรุงผลตอบแทนให้ดียิ่งขึ้นอีกจาก Credit Spread ที่ได้จากการยอมรับความเสี่ยงในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทเอกชนที่ออกหุ้นกู้นั้นๆ โดยที่ยังมีอายุตราสารหนี้ที่กระจายตัวตามกลยุทธ์ Laddering เช่นเดิม นอกจากนี้ เรายังสามารถกระจายความเสี่ยง (Diversification) ได้โดยการเลือกหุ้นกู้เอกชนหลายๆตัวในส่วนการลงทุนที่มีอายุใกล้เคียงกันได้ด้วย
3.หลังจากลงทุนไปตามกลยุทธที่ออกแบบไปแล้ว นักลงทุนควรจะทำการประเมินและวิเคราะห์ติดตามในเชิงผลประกอบการและความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา
-การเปลี่ยนตัวตราสารหนี้ที่ลงทุน หรือ Bond Swap: อาทิเช่นหากมีพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้เอกชนที่มีความเสี่ยงเรื่องเครดิตใกล้เคียงกับที่มีอยู่ในพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนแต่มีอัตราผลตอบแทนดีกว่า นักลงทุนอาจจะทำการขายตัวที่มีในพอร์ตและแทนที่ด้วยตัวที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้
-ในกรณีที่หุ้นกู้เอกชนที่นักลงทุนมีอยู่เกิดความเสี่ยงในเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ นักลงทุนควรคำนึงถึงเงินต้นที่อาจอาจจะไม่ได้คืนมากกว่ากลยุทธ์ดังกล่าว โดยการขายหุ้นกู้เอกชนดังกล่าวออกไปก่อน
-การแบ่งเงินกระจายไปในส่วนที่อายุต่างๆกันไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องแบ่งเท่าๆกัน หากตราสารหนี้ระยะสั้นมีอัตราผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับตัวที่อายุมากกว่า นักลงทุนอาจเลือกที่จะเพิ่มน้ำหนักไปยังตัวที่มีอายุสั้นๆเพิ่มขึ้นได้ ในทางกลับกัน หากตราสารที่อายุยาวมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าตัวสั้นอย่างมีนัยยะสำคัญ นักลงทุนก็อาจจะเทน้ำหนักการลงทุนไปที่ตัวยาวมากขึ้นได้
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
ในภาวะปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปหรือเส้นอัตราผลตอบแทนการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ (Yield Curve) อยู่ในระดับที่ต่ำมาก การลงทุนในตราสารหนี้ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้เอกชนระยะยาวไม่น่าจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าจะไม่ขาดทุนหากนักลงทุนเลือกที่จะถือตราสารหนี้ระยะยาวดังกล่าวจนครบกำหนดไถ่ถอน แต่ข้อเสียคือนักลงทุนจะถูกล็อคอัตราผลตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำและเสียโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการคาดการณ์วัฏจักรขาขึ้นของดอกเบี้ยในปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นไป
กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้ที่น่าจะสอดคล้องกับการคาดการณ์การเข้าสู่ภาวะตลาดหมี (Bear Market) ของสินทรัพย์ตราสารหนี้ได้แก่ กลยุทธ์การลงทุนแบบขั้นบันได (Laddering Strategy)
Laddering Strategy ได้แก่การลงทุนในตราสารหนี้โดยการแบ่งหรือกระจายเงินลงทุนทั้งหมดในตราสารหนี้หลายๆตัวที่มีอายุครบกำหนดไถ่ถอนต่างๆกัน ณ ตอนเริ่มต้น ต่อมาเมื่อเงินลงทุนในส่วนที่เป็นตราสารหนี้อายุสั้นครบกำหนดไถ่ถอน เงินสดที่ได้จากการไถ่ถอนดังกล่าวจะถูกนำไปลงทุนใหม่ในตราสารหนี้ตัวใหม่ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นจากดอกเบี้ยในตลาดที่เป็นขาขึ้น นอกจากจะช่วยลดความผันผวนของการลงทุนได้ดีกว่าการลงทุนกระจุกตัวในตราสารหนี้เพียงตัวเดียวแล้ว ประโยชน์อีกอย่างคือยังช่วยปรับปรุงอัตราผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมให้ดียิ่งขึ้นกว่าลงทุนในตราสารหนี้เพียงตัวเดียวในสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้นอีกด้วย
การออกแบบ Laddering Strategy มีเทคนิคดังนี้
1.กำหนดระยะเวลาการลงทุน (Time Horizon) ของนักลงทุนก่อน จุดประสงค์เพื่อจำกัดทางเลือกการลงทุนในเชิงของอายุตราสารหนี้ให้น้อยลง รวมถึงเป็นการกำหนดความเสี่ยงในเชิงของอายุตราสารหนี้ที่ยาวที่สุดที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้ด้วย จากตัวอย่างข้างล่างกำหนดให้ Time Horizon เท่ากับ 5 ปี และแบ่งเงินจำนวนเท่าๆกันเป็น 5 ส่วนลงทุนในตราสารหนี้อายุ 1, 2, 3, 4 และ 5 ปีตามลำดับ
ซึ่งจากการคำนวณผลตอบแทนโดยรวมพบว่า
-หากมีสมมติฐานว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้น 0.75 เปอร์เซ็นต์ต่อปี การลงทุนแบบ Laddering Strategy จะให้ผลตอบแทนดีกว่าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 5 ปีในครั้งเดียว 0.30 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
-หากมีสมมติฐานว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้น 1.00 เปอร์เซ็นต์ต่อปี การลงทุนแบบ Laddering Strategy จะให้ผลตอบแทนดีกว่าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 5 ปีในครั้งเดียวถึง 0.54 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
2.เลือกซื้อตราสารหนี้ที่เหมาะสมกับความสามารถและความเต็มใจในการรับความเสี่ยงของตนเอง ถ้ารับความเสี่ยงทางด้านเครดิตได้ นักลงทุนควรจะรวมหุ้นกู้เอกชนเข้าไปในพอร์ตการลงทุนด้วยซึ่งจะทำให้เราสามารถปรับปรุงผลตอบแทนให้ดียิ่งขึ้นอีกจาก Credit Spread ที่ได้จากการยอมรับความเสี่ยงในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทเอกชนที่ออกหุ้นกู้นั้นๆ โดยที่ยังมีอายุตราสารหนี้ที่กระจายตัวตามกลยุทธ์ Laddering เช่นเดิม นอกจากนี้ เรายังสามารถกระจายความเสี่ยง (Diversification) ได้โดยการเลือกหุ้นกู้เอกชนหลายๆตัวในส่วนการลงทุนที่มีอายุใกล้เคียงกันได้ด้วย
3.หลังจากลงทุนไปตามกลยุทธที่ออกแบบไปแล้ว นักลงทุนควรจะทำการประเมินและวิเคราะห์ติดตามในเชิงผลประกอบการและความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา
-การเปลี่ยนตัวตราสารหนี้ที่ลงทุน หรือ Bond Swap: อาทิเช่นหากมีพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้เอกชนที่มีความเสี่ยงเรื่องเครดิตใกล้เคียงกับที่มีอยู่ในพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนแต่มีอัตราผลตอบแทนดีกว่า นักลงทุนอาจจะทำการขายตัวที่มีในพอร์ตและแทนที่ด้วยตัวที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้
-ในกรณีที่หุ้นกู้เอกชนที่นักลงทุนมีอยู่เกิดความเสี่ยงในเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ นักลงทุนควรคำนึงถึงเงินต้นที่อาจอาจจะไม่ได้คืนมากกว่ากลยุทธ์ดังกล่าว โดยการขายหุ้นกู้เอกชนดังกล่าวออกไปก่อน
-การแบ่งเงินกระจายไปในส่วนที่อายุต่างๆกันไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องแบ่งเท่าๆกัน หากตราสารหนี้ระยะสั้นมีอัตราผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับตัวที่อายุมากกว่า นักลงทุนอาจเลือกที่จะเพิ่มน้ำหนักไปยังตัวที่มีอายุสั้นๆเพิ่มขึ้นได้ ในทางกลับกัน หากตราสารที่อายุยาวมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าตัวสั้นอย่างมีนัยยะสำคัญ นักลงทุนก็อาจจะเทน้ำหนักการลงทุนไปที่ตัวยาวมากขึ้นได้