xs
xsm
sm
md
lg

ขับเคลื่อนด้วยแรงแผ่วปลาย ลมหายใจสุดท้ายของตลาดหุ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คอลัมน์ ตลาดทุนไทยในสายตาต่างชาติ
โดยบริษัท เน็กซ์วิว (ประเทศไทย) จำกัด


“วัฏจักรมักเกิดซ้ำ” เป็นคำพูดของนักลงทุน (เก็งกำไร) ที่ใช้หลักการด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิคทุกคนต่างรับทราบดีถึงเงื่อนไขดังกล่าว อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของกราฟราคาทั่วโลกมักหมุนเวียน เปลี่ยนไปเสมอ แต่ในการหวุนเวียนนั้นๆ ได้ทิ้งร่องรอย หรือรูปแบบ ที่สามารถนำมาแกะรอย เพื่อสืบค้นที่มา ที่ไป ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

หากผู้อ่านมีประสบการณ์ในตลาดทุนอยู่บ้าง ก็อาจสังเกตพฤติกรรมซ้ำๆ ณ ตอน ภาวะตลาดใกล้ปรับตัวเป็นขาลงได้ว่า เกิดอาการอะไรขึ้นมาบ้าง เช่น เริ่มมีการเคลื่อนไหวแบบแผ่วปลาย (โมเมนตัมแปรผกผันกับราคาในภาพรวม = divergence) นักลงทุนนิยมเล่นหุ้นตัวเล็กๆ กันมากขึ้น (เหมือนในปัจจุบัน) เศรษฐกิจส่อเค้าว่ากำลังจะมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งยากที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ

ตัวนักลงทุนเองหากไม่พัฒนาทักษะของตัวเองเพื่อให้ก้าวทันกับลักษณะ หรือรูปแบบที่เปลี่ยนไปของตลาดทุน ก็ย่อมที่จะตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย ดังเช่น นักลงทุนหลายคน ที่สิ้นเนื้อปะดาตัว เนื่องจากหลงเข้ามาลงทุนในตลาดทุน แต่ขาดซึ่งความรู้และทักษะที่จำเป็น ก็จะทำให้ผลตอบแทนในภาพรวมมีโอกาสติดลบ มากกว่าที่จะเป็นบวก

จำนวนนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรที่มากขึ้นตามลำดับ และภาวะการเก็งกำไรที่สูงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อรูปแบบการปรับตัวของกราฟราคาในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับในอดีตได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ใครที่ยังหลงกับทฤษฏีการลงทุนเก่าๆ อยู่ละก็ อาจจะได้รับผลนั้นในเร็ววันนี้
รูปที่ 1 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในบ้านเรา (SET) ย้อนหลังไป 11 ปี
รูปที่ 1 แสดงถึงวัฐจักรการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในบ้านเรา ย้อนหลังไป 11 ปี โดยหากนำช่วง 11 ปี ย้อนหลังดังกล่าวมาจำแนก เพื่อแยกตามวัฐจักรคลื่น ซึ่งอ้างอิงจากทฤษฏีของ Elliott wave จะพบว่า ถ้าเราเริ่มต้นจากจุดเริ่มต้นของคลื่น 1 ในปลายปี 1998 ที่ผ่านมา หากมีความเข้าใจเรื่องคลื่นจะพบว่า คลื่น 5 (เป็นคลื่นสุดท้ายของขาขึ้น) จะอยู่ ณ ประมาณปลายปี 2008 ซึ่งหากนับจากจุดเริ่มต้น ก็ประมาณ 10 ปี พอดี แต่หากนักลงทุนจะใช้จุดเริ่มต้นของคลื่น 1 (ขาขึ้น) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2008 เป็นเกณฑ์แล้วละก็ คลื่น 5 ของคลื่นล่าสุด จะกินเวลาแค่ประมาณ 1 ใน 10 (1 ปี) ของคลื่นก่อนหน้าเท่านั้น

คำถามก็คือ ทำไมรูปแบบของคลื่นถึงเป็นเช่นนั้น คำตอบ ก็ง่ายมากครับ เพราะปัจจุบันอัตราส่วนระหว่างนักเก็งกำไร และนักลงทุนนั้น แตกต่างจากสมัยก่อน เพราะเนื่องจากตลาดทุน มีความเป็นโลกาภิวัฒน์มากขึ้น จึงทำให้เกิดนักลงทุน (นักเก็งกำไร) รุ่นใหม่ ขึ้นมาค่อนข้างเยอะ จนทำให้พฤติกรรมของนักลงทุนรุ่นใหม่ ซึ่งชอบความรวดเร็ว (เด็กยุคอินเทอร์เน็ต) และทำกำไรระยะสั้นมีมากขึ้น จนทำให้ส่งผลต่อรูปแบบการเคลื่อนไหวของกราฟราคา ดังที่เห็นจากรูป หากนักลงทุน ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวได้แล้วละก็ โอกาสเสี่ยงจากผลตอบแทนที่ติดลบ ก็คงมีมากขึ้นตามเช่นกัน

ผมอยากให้นักลงทุนหลายๆ คน ที่สนใจด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิค ลองไปรื้อค้น กราฟย้อนหลังในประเทศต่างๆ มาดู (กราฟราคาทองคำในตลาดโลก จะเห็นชัดที่สุด) ก็จะเข้าใจ สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อผ่านบทความที่กำลังอ่านอยู่นี้ โดยสรุปก็คือ แนวทางบางอย่างในอดีตอาจนำมาใช้ได้ แต่ในบางเรื่องอาจนำมาใช้แล้วไม่ได้ผล ดังนั้นนักลงทุนทุกท่าน จะต้องปรับตัวให้เข้ากับพลวัตร การเคลื่อนที่ของตลาดทุนให้มากที่สุด เพื่อลดส่วนขาดทุนให้ลดลง และเพิ่มส่วนของกำไรให้มากขึ้นต่อไป (สนใจข้อมูลเพิ่มเติม แวะเยี่ยมชมได้ที่ www.technicalday.com)
กำลังโหลดความคิดเห็น