2 บลจ. เครือแบงก์ ตบเท้าออกกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ รวดเดียว 4 กองทุน บลจ. กรุงไทย ส่ง "กรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 6เดือน 2" อายุ 6 เดือน คาดผลตอบแทน 2% ต่อปี ด้าน บลจ.บัวหลวง ส่ง 3 กองทุน เสนอทางเลือก อายุ 6 เดือน 12 เดือน และ 24 เดือน "บัวหลวงธนสารพลัส 33/09,34/09,35/09" ตามลำดับ
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ค่อนข้างแกว่งตัวตามอัตราดอกเบี้ยสวอปสกุลเงินวอนและดอลล่าร์สหรัฐฯ (CCS) โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาพคล่องในสกุลเงินดอลล่าร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และ CCS สกุลบาทและดอลล่าร์สหรัฐฯ ปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยสวอปในประเทศ จากปัจจัยทั้งสามจึงทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้เมื่อแปลงกลับเป็นสกุลเงินบาทปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้บริษัทเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 6เดือน 2 (KTFF6M2) อายุโครงการ 6 เดือน มูลค่า 5,000 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 2-8 กันยายน 2552 เป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ (Monetary Stabilization Bond หรือ Korea Treasury Bond) ซึ่งปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นระดับ F1 โดย Fitch Rating นอกจากนี้ บริษัทอาจพิจารณาลงทุนใน Euro Commercial Paper ที่ออกโดย The Export-Import Bank of Korea (K-EXIM) และ Korea Development Bank (KDB) ซึ่งเป็น Policy Bank ที่ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางออม100% โดยรัฐบาลและธนาคารกลางเกาหลีใต้ตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงินทั้งสองได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับเดียวกับประเทศ คือ F1 โดย Fitch Rating นอกจากนี้เงินลงทุนจะมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน โดยกองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 2% ต่อปี
ขณะเดียวกันบริษัทยังอยู่ในระหว่างการจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยประจำ 3เดือนคุ้มครองเงินต้น3 (KTFIX3M3) ถึงวันที่ 4 กันยายน 2552 อายุโครงการ 3 เดือน เป็นกองทุนประเภท Roll over ที่ลงทุนในพันธบัตรภาครัฐในประเทศ และเงินฝากธนาคารพาณิชย์ โดยมีอัตราผลตอบแทนประมาณการที่ 0.70%ต่อปี
ด้าน นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า การออกไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ยังมีอย่างต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนยังมีความต้องการอยู่ ล่าสุดได้เปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส เพิ่มขึ้นอีก 3 กองทุน ประกอบด้วย 1. กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 33/09 (BP33/09) 2. กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 34/09 (BP34/09) และกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 35/09 (BP35/09) ซึ่งเริ่มเปิดขายแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 7 กันยายน 2552 นี้ โดย 3 กองทุนดังกล่าว จะลงทุนในตราสารหนี้ ที่เน้นพันธบัตรของประเทศเกาหลีใต้
ทั้งนี้ กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 33/09 มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท อายุประมาณ 3 เดือน ส่วนกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 34/09 มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุประมาณ 9 เดือน และกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 35/09 มีอายุประมาณ 24 เดือน ขนาดโครงการ 1,500 ล้านบาท โดยทั้ง 3 กองทุนดังกล่าวเหมาะสมกับเงินลงทุนส่วนที่ต้องการความมั่นคง และความเสี่ยงต่ำ เพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงิน โดยไม่ต้องไปลงทุนในหุ้น ลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท ที่ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วยลงทุน
โดยทั้ง 3 กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้เกาหลีใต้มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (Foreign Investment Fund) โดยเน้นลงทุนในตราสารภาครัฐต่างประเทศ หรือตราสารที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งผู้ออกหรือตราสารได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ตั้งแต่ A- ขึ้นไป ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives contract) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging)
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ค่อนข้างแกว่งตัวตามอัตราดอกเบี้ยสวอปสกุลเงินวอนและดอลล่าร์สหรัฐฯ (CCS) โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาพคล่องในสกุลเงินดอลล่าร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และ CCS สกุลบาทและดอลล่าร์สหรัฐฯ ปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยสวอปในประเทศ จากปัจจัยทั้งสามจึงทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้เมื่อแปลงกลับเป็นสกุลเงินบาทปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้บริษัทเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 6เดือน 2 (KTFF6M2) อายุโครงการ 6 เดือน มูลค่า 5,000 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 2-8 กันยายน 2552 เป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ (Monetary Stabilization Bond หรือ Korea Treasury Bond) ซึ่งปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นระดับ F1 โดย Fitch Rating นอกจากนี้ บริษัทอาจพิจารณาลงทุนใน Euro Commercial Paper ที่ออกโดย The Export-Import Bank of Korea (K-EXIM) และ Korea Development Bank (KDB) ซึ่งเป็น Policy Bank ที่ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางออม100% โดยรัฐบาลและธนาคารกลางเกาหลีใต้ตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงินทั้งสองได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับเดียวกับประเทศ คือ F1 โดย Fitch Rating นอกจากนี้เงินลงทุนจะมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน โดยกองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 2% ต่อปี
ขณะเดียวกันบริษัทยังอยู่ในระหว่างการจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยประจำ 3เดือนคุ้มครองเงินต้น3 (KTFIX3M3) ถึงวันที่ 4 กันยายน 2552 อายุโครงการ 3 เดือน เป็นกองทุนประเภท Roll over ที่ลงทุนในพันธบัตรภาครัฐในประเทศ และเงินฝากธนาคารพาณิชย์ โดยมีอัตราผลตอบแทนประมาณการที่ 0.70%ต่อปี
ด้าน นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า การออกไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ยังมีอย่างต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนยังมีความต้องการอยู่ ล่าสุดได้เปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส เพิ่มขึ้นอีก 3 กองทุน ประกอบด้วย 1. กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 33/09 (BP33/09) 2. กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 34/09 (BP34/09) และกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 35/09 (BP35/09) ซึ่งเริ่มเปิดขายแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 7 กันยายน 2552 นี้ โดย 3 กองทุนดังกล่าว จะลงทุนในตราสารหนี้ ที่เน้นพันธบัตรของประเทศเกาหลีใต้
ทั้งนี้ กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 33/09 มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท อายุประมาณ 3 เดือน ส่วนกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 34/09 มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุประมาณ 9 เดือน และกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 35/09 มีอายุประมาณ 24 เดือน ขนาดโครงการ 1,500 ล้านบาท โดยทั้ง 3 กองทุนดังกล่าวเหมาะสมกับเงินลงทุนส่วนที่ต้องการความมั่นคง และความเสี่ยงต่ำ เพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงิน โดยไม่ต้องไปลงทุนในหุ้น ลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท ที่ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วยลงทุน
โดยทั้ง 3 กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้เกาหลีใต้มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (Foreign Investment Fund) โดยเน้นลงทุนในตราสารภาครัฐต่างประเทศ หรือตราสารที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งผู้ออกหรือตราสารได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ตั้งแต่ A- ขึ้นไป ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives contract) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging)