2 คู่หูภาษี "แอลทีเอฟ-อาร์เอ็มเอฟ" เอ็นเอวีพุ่งแตะ 6.3 หมื่นล้านบาท ได้อานิสงส์ดัชนีหุ้นไทยเด้งกลับ ผู้จัดการกองทุนลุ้นปลายปี ขยายตัวต่อ เหตุมนุษย์เงินเดือน ยังรอซื้อปลายปีอีกเพีบย คาดทั้งปีโกยเงินใหม่ 1.5 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้น การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงก็เริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเอง ก็ได้รับความสนใจไปด้วย ซึ่งจากการสำรวจตัวเลขเงินลงทุนในช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมา นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าตามราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีเงินลงทุนใหม่เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนที่เข้ามาส่วนใหญ่มองเห็นโอกาสซื้อในช่วงที่ราคาถูก เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกองทุนที่ต้องการส่งเสริมการออมระยะยาวโดยการให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี
โดยรายงานจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยตัวเลขเงินลงทุนล่าสุดในกองทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ (สิ้นสุด 28 ส.ค.) พบว่า มีเงินลงทุนในกองทุนแอลทีเอฟรวมทั้งสิ้น 63,722.67 ล้านบาท และกองทุนอาร์เอ็มเอฟทั้งสิ้น 46,543.29 ล้านบาท
ทั้งนี้ เงินลงทุนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นมาจากช่วงปลายปีที่แล้วพอสมควร โดยกองทุนแอลทีเอฟ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 18,260.11 จากเงินลงทุนรวม 45,462.56 ล้านบาท คิดเป็นการขายตัวแล้ว 40% ในขณะที่กองทุนอาร์เอ็มเอฟ เพิ่มขึ้นประมาณ 7,013.68 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งระบบ 39,529.61 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว 17%
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของกองทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ น่าจะมาจากการปรับตัวของราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมา เพราะจะเห็นว่าตลาดหุ้นเองก็ปรับไปกว่า 40% จากต้นปีเช่นเดียวกัน ส่วนเงินใหม่นั้น มองว่ายังมีน้อย ซึ่งจากตัวเลขในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี นักลงทุนส่วนใหญ่จะซื้อประมาณ 25% ของพอร์ตการลงทุนทั้งปีเท่านั้น ส่วนอีก 75% จะรอลงทุนช่วงปลายปีมากกว่า
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่ากองทุนแอลทีเอฟจะมีกองทุนบางส่วนสามารถไถ่ถอนออกไปได้แล้ว แต่ก็มีบางส่วนเอาเงินเก่ามาลงทุนในกองทุนแอลทีเอฟอีกครั้งเพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษี นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนแบบสะสมทุกเดือนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยจากการกระตุ้นของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคม บลจ. อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ยังเป็นการลงทุนที่น้อยอยู่ ซึ่งในส่วนของบลจ.อยุธยาเอง มีเพียง 10% เท่านั้น ที่มีการลงทุนแบบสะสมทุกๆ เดือน
นายประภาสกล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มหลังจากนี้ เชื่อว่ากองทุนแอลทีเอฟ จะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนใหม่เข้ามาประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ในขณะที่กองทุนอาร์เอ็มเอฟเอง มองว่าอาจจะขยายตัวได้น้อย เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากสัดส่วนการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสูงแล้ว การลงทุนในอาร์เอ็มเอฟก็จะน้อยลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้น การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงก็เริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเอง ก็ได้รับความสนใจไปด้วย ซึ่งจากการสำรวจตัวเลขเงินลงทุนในช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมา นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าตามราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีเงินลงทุนใหม่เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนที่เข้ามาส่วนใหญ่มองเห็นโอกาสซื้อในช่วงที่ราคาถูก เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกองทุนที่ต้องการส่งเสริมการออมระยะยาวโดยการให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี
โดยรายงานจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยตัวเลขเงินลงทุนล่าสุดในกองทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ (สิ้นสุด 28 ส.ค.) พบว่า มีเงินลงทุนในกองทุนแอลทีเอฟรวมทั้งสิ้น 63,722.67 ล้านบาท และกองทุนอาร์เอ็มเอฟทั้งสิ้น 46,543.29 ล้านบาท
ทั้งนี้ เงินลงทุนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นมาจากช่วงปลายปีที่แล้วพอสมควร โดยกองทุนแอลทีเอฟ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 18,260.11 จากเงินลงทุนรวม 45,462.56 ล้านบาท คิดเป็นการขายตัวแล้ว 40% ในขณะที่กองทุนอาร์เอ็มเอฟ เพิ่มขึ้นประมาณ 7,013.68 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งระบบ 39,529.61 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว 17%
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของกองทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ น่าจะมาจากการปรับตัวของราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมา เพราะจะเห็นว่าตลาดหุ้นเองก็ปรับไปกว่า 40% จากต้นปีเช่นเดียวกัน ส่วนเงินใหม่นั้น มองว่ายังมีน้อย ซึ่งจากตัวเลขในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี นักลงทุนส่วนใหญ่จะซื้อประมาณ 25% ของพอร์ตการลงทุนทั้งปีเท่านั้น ส่วนอีก 75% จะรอลงทุนช่วงปลายปีมากกว่า
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่ากองทุนแอลทีเอฟจะมีกองทุนบางส่วนสามารถไถ่ถอนออกไปได้แล้ว แต่ก็มีบางส่วนเอาเงินเก่ามาลงทุนในกองทุนแอลทีเอฟอีกครั้งเพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษี นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนแบบสะสมทุกเดือนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยจากการกระตุ้นของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคม บลจ. อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ยังเป็นการลงทุนที่น้อยอยู่ ซึ่งในส่วนของบลจ.อยุธยาเอง มีเพียง 10% เท่านั้น ที่มีการลงทุนแบบสะสมทุกๆ เดือน
นายประภาสกล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มหลังจากนี้ เชื่อว่ากองทุนแอลทีเอฟ จะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนใหม่เข้ามาประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ในขณะที่กองทุนอาร์เอ็มเอฟเอง มองว่าอาจจะขยายตัวได้น้อย เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากสัดส่วนการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสูงแล้ว การลงทุนในอาร์เอ็มเอฟก็จะน้อยลง