คำตัดสินของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เกี่ยวกับกรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์ ภายใต้การจัดการของ บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยการลงโทษภาคทัณฑ์ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้จัดการ เป็นระยะเวลา 3 ปี พร้อมทั้งเปรียบเทียบปรับทั้ง บลจ. ทั้งผู้บริหารที่เป็นผู้จัดการกองทุน และทั้งธนาคารที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนด้วยนั้น ถือว่าบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนไปพอสมควร...งานนี้ วรวรรณ ธาราภูมิในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) ต้องออกมาสร้างความเชื่อมั่น และทำความเข้าใจกับนักลงทุนซะใหม่ และที่น่าสนใจ เธอบอกว่า เคสนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในหลายด้าน โดยเฉพาะความบทบาทของบริษัทจัดการที่ตั้งกองทุนขึ้นมา และบทบาทของผู้กำกับด้วย
การปฏิบัติผิดต่อนโยบายลงทุนตามที่ระบุในโครงการอย่างมีนัยสำคัญ
หากอ่านรายละเอียดนโยบายการลงทุนจากโครงการจัดการกองทุนหรือหนังสือชี้ชวนแล้ว พบประเด็นสำคัญซึ่งถือเป็นหัวใจของการจัดตั้งกองทุนแล้วเสนอขายให้ผู้สนใจลงทุน ดังนี้ ...
“ ...เมื่อโครงการหอพักนักศึกษาและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ดังกล่าวแล้วเสร็จ กองทุนจะดำเนินการเช่าทรัพย์สินที่เช่าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีอายุการเช่าประมาณ 30 ปี เพื่อนำมาจัดหาผลประโยชน์ โดยให้เช่าช่วงและบริการกับนักศึกษา คณาจารย์ และนักวิชาการต่าง ๆ เป็นหลัก...”
“ ...ในระหว่างที่รอให้โครงการหอพักนักศึกษาและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์แล้วเสร็จ กองทุนจะนำเงินไปลงทุนในตราสารภาครัฐ ตราสารหนี้ และ/หรือเงินฝาก ตามที่เห็นสมควร ...”
ประเด็นนี้ความหมายที่ผู้ลงทุนจะพึงเข้าใจก็คือ กองทุนนี้เมื่อระดมเงินลงทุนจากผู้ซื้อหน่วยลงทุนได้แล้ว ทาง ไอเอ็นจี จะนำเงินไปฝากธนาคารและ/หรือลงทุนในตราสารหนี้ในช่วงแรกไปก่อน เพื่อรอให้หอพักก่อสร้างแล้วเสร็จ ถึงจะถอนเงินฝากและตราสารหนี้เพื่อนำเงินสดไปจ่ายเป็นค่าเช่าหอพักและทรัพย์สินอื่นๆ จาก ม.ธรรมศาสตร์ และนำหอพักนั้นมาบริหารจัดการเป็นเวลาเช่าประมาณ 30 ปี โดยนำไปปล่อยเช่าต่อ
ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อปรากฏว่า การก่อสร้างหอพักโดยผู้รับเหมามีความล่าช้าไปมาก ทำให้กองทุนยังเช่าหอพักไม่ได้เป็นเวลานานเกินควรผู้จัดการกองทุนคงจะหวังให้การก่อสร้างแล้วเสร็จ กองทุนจะได้เดินหน้าเช่าหอพักตามโครงการจัดการกองทุนได้ จึงได้ตัดสินใจแก้ไขสัญญาเช่าทรัพย์สินโดยนำเงินของกองทุนไปจ่ายเป็นค่าสิทธิการเช่าให้ผู้รับเหมาก่อสร้างล่วงหน้าเป็นงวด ๆ รวม 5 งวด รวมทั้งสิ้นกว่า 800 ล้านบาท โดยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการเช่าสัญญาเช่าระยะยาว และยังก่อสร้างไม่เสร็จ คงจะคล้ายๆ กับที่เราไปวางดาวน์ซื้อบ้านเป็นงวดๆ แล้วผู้รับเหมาก็นำเงินดาวน์นี้ไปเป็นทุนในการก่อสร้างให้แล้วเสร็จนั่นเอง
ซึ่งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะทำแบบนี้ไม่ได้ ตามกฏจะต้องให้ทรัพย์สินที่จะซื้อหรือเช่านั้นก่อสร้างแล้วเสร็จไม่ต่ำกว่า 80% โดยมีผู้ตรวจสอบ ผู้ประเมินราคา ทำหน้าที่ของตนให้เรียบร้อยเสียก่อน และการที่ไม่อนุญาตให้ทำก็เนื่องจากจะมีความเสี่ยงที่ผู้รับเหมาก่อสร้างอาจส่งมอบงานไม่ทันเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้กองทุนเสียหายเพราะยังไม่มีหอพักไปปล่อยเช่าต่อเพื่อสร้างรายได้ให้กับกองทุน หรือกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างเสร็จทันเวลาแต่กองทุนจะทราบได้อย่างไรว่าหอพักนั้น สร้างด้วยคุณภาพงานที่ยอมรับได้ และเงินก็จ่ายไปก่อนแล้ว
นอกจากนี้ หากผู้รับเหมาก่อสร้างไม่เสร็จตามกำหนดหรือมีปัญหาอื่นใด กองทุนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะได้รับเงินที่จ่ายล่วงหน้าไปนั้นคืนมา การกระทำเช่นนี้หากมองโดยสรุปจึงคล้ายๆ กับว่ากองทุนไปปล่อยสินเชื่อให้ผู้รับเหมาทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จนั่นเอง ซึ่งทำไม่ได้และมีความเสี่ยงอย่างยิ่ง และจำนวนเงินก็สูงมาก
การที่ผู้จัดการกองทุนตัดสินใจกระทำเช่นนั้น เข้าใจว่าคงทำลงไปด้วยความเชื่อที่ว่าการก่อสร้างให้แล้วเสร็จจะมีผลดีต่อกองทุนมากกว่าจะปล่อยค้างไว้ เพราะอาจจะต้องเลิกกองทุนไปหรือหาทรัพย์สินอื่นมาลงทุนตามที่เขาเขียนเปิดไว้ในโครงการก็ได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ บลจ. ไอเอ็นจี ควรจะทำน่าจะเป็นการรีบแจ้งปัญหาและหารือกับ สำนักงาน ก.ล.ต. กับผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนเสียก่อน และหากพบว่ามีทางแก้ไขผ่อนปรนได้ ก็ควรเรียกประชุมผู้ถือหน่วยในกองทุนนี้ เพื่ออธิบายให้ทราบเรื่องโดยละเอียด โปร่งใส และขอมติจากผู้ถือหน่วยให้อนุญาตให้กระทำได้ การตัดสินใจทำไปโดยพลการแม้จะเพื่อผลประโยชน์ของกองทุนหรือผู้ถือหน่วยในกรณีเช่นนี้นี้ จึงมีความเสี่ยงมากเกินไปและจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องก็สูงมาก ค่าจัดการกองทุนที่ บลจ. ไอเอ็นจี จะได้รับจากกองทุนตลอด 30 ปีอาจจะไม่เท่ากับจำนวนเงิน กว่า 800 ล้านบาทที่จ่ายล่วงหน้าให้ผู้รับเหมาไปทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จก็ได้ เรียกว่าเสี่ยงต่อทั้งผู้ถือหน่วยและเสี่ยงต่อฐานะทางการเงินของ บลจ. ไอเอ็นจี เองด้วย กรณีศึกษานี้จึงสมควรที่ทุก บลจ. จะต้องตระหนักไว้
แต่ข้อดีของ ไอเอ็นจี และผู้จัดการกองทุนก็ยังคงมีอยู่คือการพยายามบรรเทาการขาดผลประโยชน์เท่าที่ควรจะได้รับของกองทุนด้วยการลดค่าจัดการกองทุนลงไป
ประเด็นที่สำนักงาน ก.ล.ต. ควรจะต้องทบทวนในกรณีศึกษานี้ก็คือ การอนุญาตให้จัดตั้งกองทุนนี้ขึ้นมาโดยที่ทรัพย์สินที่จะลงทุนยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างเสร็จแต่ไม่ถึง 80% นั้น จะยังคงอนุญาตให้กองทุนอสังหาริทรัพย์กองอื่นๆ ในอนาคตกระทำได้เช่นทียูโดม หรือไม่
อย่างไรก็ตาม กองทุนอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมนั้น คงไม่มี บลจ. ใดนำเงินกองทุนไปลงทุนก่อนที่อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการลงทุนจะก่อสร้างเสร็จถึงระดับที่กฏหมายกำหนด เข้าใจว่ากองทุนทียูโดม น่าจะเป็นกองทุนเดียวที่เกิดกรณีนี้ขึ้น
ที่ดินที่กองทุนทียูโดมจะลงทุนนั้นมีบุคคลอื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย
ข้อนี้ ความเสี่ยงก็คือ กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมโต้แย้งการกระทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันในที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วม อาจทำให้กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนได้ตามกำหนดก็ได้
กรณีนี้นับว่าเป็นความบกพร่องในการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ความจริงแล้วผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่กองทุนจะลงทุนน่าจะมีการตรวจเอกสารสิทธิ์จากสำนักงานที่ดินโดยละเอียด ซึ่งเป็นงานค่อนข้างยากหากไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความละเอียดละอออย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่าปัจจุบันนี้ทาง ไอเอ็นจี ได้จัดการแก้ไขปัญหาได้จนเรียบร้อยแล้ว เรียกว่ากรณีหลังนี้เป็นความโชคร้ายและขาดประสบการณ์หรือเลินเล่อมากกว่าจะไปตั้งใจทำให้ผิดโครงการกองทุน
กรณีศึกษาในข้อนี้ก็คือ บลจ. ต่างๆ ควรจะต้องมีผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องอสังหาริมทรัพย์เป็นการเฉพาะ และมีนักกฏหมายคอยเช็คอีกทีลำพังผู้จัดการกองทุนทั่วไปที่บริหารการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ แม้จะได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ให้เป็นผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้แต่เขาเหล่านี้ไม่มีความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์เพียงพอที่จะทำหน้าที่ได้อย่างมั่นใจ ซึ่งประเด็นนี้ได้เคยกล่าวในที่ประชุมสมาคมไว้นานแล้วว่า บลจ. ที่ทำธุรกิจนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารกองทุนอสังหาริมทรัพย์ด้วยอย่ามองแค่คนที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ว่าเพียงพอแล้ว และงานอสังหาริมทรัพย์มีความละเอียดทุกจุด คนไม่รู้จริงจะพลาดได้ง่ายๆ
สำหรับคำถามที่ว่ากรณีที่เกิดกับ ทียูโดม จะส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ หรือไม่นั้น เชื่อว่าหากผู้ลงทุนเข้าใจที่มาที่ไปแล้ว ก็ไม่น่าจะมีผล ซึ่งก็เป็นหน้าที่ที่แต่ละ บลจ. จะต้องทำให้ผู้ลงทุนมีความเชื่อมั่นใน บลจ. ของตนเองว่ามีความสามารถในการบริหารกองทุนดังกล่าวได้
“ สังเกตุว่าเดี๋ยวนี้ ผู้ลงทุนเขาแยกแยะเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ใช่ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่หนึ่งแล้วเขาจะเชื่อว่าต้องเกิดกับทุกที่ ดังจะเห็นได้จากตราสารหนี้บางตัวที่ผิดนัดชำระหนี้คืนกองทุนในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับ บลจ. บางแห่งไม่นานที่ผ่านมานี้ ไม่ได้ทำให้ผู้ลงทุนในกองทุนอื่นๆ ของ บลจ. อื่นๆ จะตื่นตระหนกไปด้วย
อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมบลจ. กล่าวย้ำว่า ผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมจัดการกองทุนควรต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการกระทำใดใดที่เกิดขึ้นในที่หนึ่ง อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งอุตสาหกรรมได้เสมอ หากประยุกต์เอาภาษาของผู้จัดการกองทุนมาใช้ ก็พูดได้ว่ากรณีนี้เป็น Specific Risk ของ บลจ. นั้นๆ ไม่ใช่ Systematic Risk ของทุก บลจ. ทั้งอุตสาหกรรม
การปฏิบัติผิดต่อนโยบายลงทุนตามที่ระบุในโครงการอย่างมีนัยสำคัญ
หากอ่านรายละเอียดนโยบายการลงทุนจากโครงการจัดการกองทุนหรือหนังสือชี้ชวนแล้ว พบประเด็นสำคัญซึ่งถือเป็นหัวใจของการจัดตั้งกองทุนแล้วเสนอขายให้ผู้สนใจลงทุน ดังนี้ ...
“ ...เมื่อโครงการหอพักนักศึกษาและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ดังกล่าวแล้วเสร็จ กองทุนจะดำเนินการเช่าทรัพย์สินที่เช่าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีอายุการเช่าประมาณ 30 ปี เพื่อนำมาจัดหาผลประโยชน์ โดยให้เช่าช่วงและบริการกับนักศึกษา คณาจารย์ และนักวิชาการต่าง ๆ เป็นหลัก...”
“ ...ในระหว่างที่รอให้โครงการหอพักนักศึกษาและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์แล้วเสร็จ กองทุนจะนำเงินไปลงทุนในตราสารภาครัฐ ตราสารหนี้ และ/หรือเงินฝาก ตามที่เห็นสมควร ...”
ประเด็นนี้ความหมายที่ผู้ลงทุนจะพึงเข้าใจก็คือ กองทุนนี้เมื่อระดมเงินลงทุนจากผู้ซื้อหน่วยลงทุนได้แล้ว ทาง ไอเอ็นจี จะนำเงินไปฝากธนาคารและ/หรือลงทุนในตราสารหนี้ในช่วงแรกไปก่อน เพื่อรอให้หอพักก่อสร้างแล้วเสร็จ ถึงจะถอนเงินฝากและตราสารหนี้เพื่อนำเงินสดไปจ่ายเป็นค่าเช่าหอพักและทรัพย์สินอื่นๆ จาก ม.ธรรมศาสตร์ และนำหอพักนั้นมาบริหารจัดการเป็นเวลาเช่าประมาณ 30 ปี โดยนำไปปล่อยเช่าต่อ
ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อปรากฏว่า การก่อสร้างหอพักโดยผู้รับเหมามีความล่าช้าไปมาก ทำให้กองทุนยังเช่าหอพักไม่ได้เป็นเวลานานเกินควรผู้จัดการกองทุนคงจะหวังให้การก่อสร้างแล้วเสร็จ กองทุนจะได้เดินหน้าเช่าหอพักตามโครงการจัดการกองทุนได้ จึงได้ตัดสินใจแก้ไขสัญญาเช่าทรัพย์สินโดยนำเงินของกองทุนไปจ่ายเป็นค่าสิทธิการเช่าให้ผู้รับเหมาก่อสร้างล่วงหน้าเป็นงวด ๆ รวม 5 งวด รวมทั้งสิ้นกว่า 800 ล้านบาท โดยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการเช่าสัญญาเช่าระยะยาว และยังก่อสร้างไม่เสร็จ คงจะคล้ายๆ กับที่เราไปวางดาวน์ซื้อบ้านเป็นงวดๆ แล้วผู้รับเหมาก็นำเงินดาวน์นี้ไปเป็นทุนในการก่อสร้างให้แล้วเสร็จนั่นเอง
ซึ่งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะทำแบบนี้ไม่ได้ ตามกฏจะต้องให้ทรัพย์สินที่จะซื้อหรือเช่านั้นก่อสร้างแล้วเสร็จไม่ต่ำกว่า 80% โดยมีผู้ตรวจสอบ ผู้ประเมินราคา ทำหน้าที่ของตนให้เรียบร้อยเสียก่อน และการที่ไม่อนุญาตให้ทำก็เนื่องจากจะมีความเสี่ยงที่ผู้รับเหมาก่อสร้างอาจส่งมอบงานไม่ทันเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้กองทุนเสียหายเพราะยังไม่มีหอพักไปปล่อยเช่าต่อเพื่อสร้างรายได้ให้กับกองทุน หรือกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างเสร็จทันเวลาแต่กองทุนจะทราบได้อย่างไรว่าหอพักนั้น สร้างด้วยคุณภาพงานที่ยอมรับได้ และเงินก็จ่ายไปก่อนแล้ว
นอกจากนี้ หากผู้รับเหมาก่อสร้างไม่เสร็จตามกำหนดหรือมีปัญหาอื่นใด กองทุนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะได้รับเงินที่จ่ายล่วงหน้าไปนั้นคืนมา การกระทำเช่นนี้หากมองโดยสรุปจึงคล้ายๆ กับว่ากองทุนไปปล่อยสินเชื่อให้ผู้รับเหมาทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จนั่นเอง ซึ่งทำไม่ได้และมีความเสี่ยงอย่างยิ่ง และจำนวนเงินก็สูงมาก
การที่ผู้จัดการกองทุนตัดสินใจกระทำเช่นนั้น เข้าใจว่าคงทำลงไปด้วยความเชื่อที่ว่าการก่อสร้างให้แล้วเสร็จจะมีผลดีต่อกองทุนมากกว่าจะปล่อยค้างไว้ เพราะอาจจะต้องเลิกกองทุนไปหรือหาทรัพย์สินอื่นมาลงทุนตามที่เขาเขียนเปิดไว้ในโครงการก็ได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ บลจ. ไอเอ็นจี ควรจะทำน่าจะเป็นการรีบแจ้งปัญหาและหารือกับ สำนักงาน ก.ล.ต. กับผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนเสียก่อน และหากพบว่ามีทางแก้ไขผ่อนปรนได้ ก็ควรเรียกประชุมผู้ถือหน่วยในกองทุนนี้ เพื่ออธิบายให้ทราบเรื่องโดยละเอียด โปร่งใส และขอมติจากผู้ถือหน่วยให้อนุญาตให้กระทำได้ การตัดสินใจทำไปโดยพลการแม้จะเพื่อผลประโยชน์ของกองทุนหรือผู้ถือหน่วยในกรณีเช่นนี้นี้ จึงมีความเสี่ยงมากเกินไปและจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องก็สูงมาก ค่าจัดการกองทุนที่ บลจ. ไอเอ็นจี จะได้รับจากกองทุนตลอด 30 ปีอาจจะไม่เท่ากับจำนวนเงิน กว่า 800 ล้านบาทที่จ่ายล่วงหน้าให้ผู้รับเหมาไปทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จก็ได้ เรียกว่าเสี่ยงต่อทั้งผู้ถือหน่วยและเสี่ยงต่อฐานะทางการเงินของ บลจ. ไอเอ็นจี เองด้วย กรณีศึกษานี้จึงสมควรที่ทุก บลจ. จะต้องตระหนักไว้
แต่ข้อดีของ ไอเอ็นจี และผู้จัดการกองทุนก็ยังคงมีอยู่คือการพยายามบรรเทาการขาดผลประโยชน์เท่าที่ควรจะได้รับของกองทุนด้วยการลดค่าจัดการกองทุนลงไป
ประเด็นที่สำนักงาน ก.ล.ต. ควรจะต้องทบทวนในกรณีศึกษานี้ก็คือ การอนุญาตให้จัดตั้งกองทุนนี้ขึ้นมาโดยที่ทรัพย์สินที่จะลงทุนยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างเสร็จแต่ไม่ถึง 80% นั้น จะยังคงอนุญาตให้กองทุนอสังหาริทรัพย์กองอื่นๆ ในอนาคตกระทำได้เช่นทียูโดม หรือไม่
อย่างไรก็ตาม กองทุนอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมนั้น คงไม่มี บลจ. ใดนำเงินกองทุนไปลงทุนก่อนที่อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการลงทุนจะก่อสร้างเสร็จถึงระดับที่กฏหมายกำหนด เข้าใจว่ากองทุนทียูโดม น่าจะเป็นกองทุนเดียวที่เกิดกรณีนี้ขึ้น
ที่ดินที่กองทุนทียูโดมจะลงทุนนั้นมีบุคคลอื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย
ข้อนี้ ความเสี่ยงก็คือ กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมโต้แย้งการกระทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันในที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วม อาจทำให้กองทุนรวมไม่สามารถลงทุนได้ตามกำหนดก็ได้
กรณีนี้นับว่าเป็นความบกพร่องในการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ความจริงแล้วผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่กองทุนจะลงทุนน่าจะมีการตรวจเอกสารสิทธิ์จากสำนักงานที่ดินโดยละเอียด ซึ่งเป็นงานค่อนข้างยากหากไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความละเอียดละอออย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่าปัจจุบันนี้ทาง ไอเอ็นจี ได้จัดการแก้ไขปัญหาได้จนเรียบร้อยแล้ว เรียกว่ากรณีหลังนี้เป็นความโชคร้ายและขาดประสบการณ์หรือเลินเล่อมากกว่าจะไปตั้งใจทำให้ผิดโครงการกองทุน
กรณีศึกษาในข้อนี้ก็คือ บลจ. ต่างๆ ควรจะต้องมีผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องอสังหาริมทรัพย์เป็นการเฉพาะ และมีนักกฏหมายคอยเช็คอีกทีลำพังผู้จัดการกองทุนทั่วไปที่บริหารการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ แม้จะได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ให้เป็นผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้แต่เขาเหล่านี้ไม่มีความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์เพียงพอที่จะทำหน้าที่ได้อย่างมั่นใจ ซึ่งประเด็นนี้ได้เคยกล่าวในที่ประชุมสมาคมไว้นานแล้วว่า บลจ. ที่ทำธุรกิจนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารกองทุนอสังหาริมทรัพย์ด้วยอย่ามองแค่คนที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ว่าเพียงพอแล้ว และงานอสังหาริมทรัพย์มีความละเอียดทุกจุด คนไม่รู้จริงจะพลาดได้ง่ายๆ
สำหรับคำถามที่ว่ากรณีที่เกิดกับ ทียูโดม จะส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ หรือไม่นั้น เชื่อว่าหากผู้ลงทุนเข้าใจที่มาที่ไปแล้ว ก็ไม่น่าจะมีผล ซึ่งก็เป็นหน้าที่ที่แต่ละ บลจ. จะต้องทำให้ผู้ลงทุนมีความเชื่อมั่นใน บลจ. ของตนเองว่ามีความสามารถในการบริหารกองทุนดังกล่าวได้
“ สังเกตุว่าเดี๋ยวนี้ ผู้ลงทุนเขาแยกแยะเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ใช่ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่หนึ่งแล้วเขาจะเชื่อว่าต้องเกิดกับทุกที่ ดังจะเห็นได้จากตราสารหนี้บางตัวที่ผิดนัดชำระหนี้คืนกองทุนในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับ บลจ. บางแห่งไม่นานที่ผ่านมานี้ ไม่ได้ทำให้ผู้ลงทุนในกองทุนอื่นๆ ของ บลจ. อื่นๆ จะตื่นตระหนกไปด้วย
อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมบลจ. กล่าวย้ำว่า ผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมจัดการกองทุนควรต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการกระทำใดใดที่เกิดขึ้นในที่หนึ่ง อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งอุตสาหกรรมได้เสมอ หากประยุกต์เอาภาษาของผู้จัดการกองทุนมาใช้ ก็พูดได้ว่ากรณีนี้เป็น Specific Risk ของ บลจ. นั้นๆ ไม่ใช่ Systematic Risk ของทุก บลจ. ทั้งอุตสาหกรรม